บล.เคทีบีเอสที :
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า
News
ปัจจุบัน (24/06/21) ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาอ่อนค่าราว -6% จากที่มีการแข็งค่ามากสุดในช่วงกลางเดือน พ.ค. ที่ราว 30.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ นับเป็นค่าเงินบาทที่อ่อนค่าที่สุดในรอบ 13 เดือนตั้งแต่ช่วงปลาย พ.ค. 2020 สาเหตุจากเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐออกมาคาดการณ์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดจากเดิมปี 2025 เป็นปี 2023 ทำให้เกิดการไหลกลับของเงินทุน กอปรกับปัจจัยภายในประเทศเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย

โดยมุมมองของ KTBST คาดว่าค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปีจะอยุ่ที่ 31.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่าเงินบาทจะเริ่มกลับมาแข็งค่าอีกครั้งในช่วงปลายปี 2021 จากการเปิดประเทศทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวได้ (ที่มา: KTBST)

Implication
จากแนวโน้มค่าเงินบาทที่กลับมาอ่อนค่า เราคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อหุ้น/อุตสาหกรรมที่เราจัดทำบทวิเคราะห์ ดังนี้

หุ้นที่น่าสนใจจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า : เราชอบกลุ่ม Electronic มากสุด เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของกลุ่มมาจากการส่งออก และผลการดำเนินงานค่อนข้างอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน รวมถึงกลุ่มมีปัจจัยเฉพาะตัวจากความต้องการชิ้นส่วน electronic ที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีต่อเนื่อง

โดยหุ้นที่เราแนะนำคือ KCE (ซื้อ/เป้า 70.00 บาท) และ HANA (ซื้อ/เป้า 68.00 บาท) ทั้งนี้เราอยู่ระหว่างทบทวนราคาเป้าหมาย ขณะที่หุ้นในกลุ่มอื่นเราชอบ TU (ซื้อ/เป้า 21.00 บาท) จากการขยายการลงทุนไปในธุรกิจที่มีมาร์จิ้นสูง และ SMPC (ซื้อ/เป้า 12.00 บาท) มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกมาก

( + ) สำหรับหุ้น/อุตสาหกรรม ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จาก “ค่าเงินบาทอ่อนค่า”
1) กลุ่มอิเลกทรอนิกส์ เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากการส่งออก ต่างประเทศ โดยเรียงลำดับทุกการอ่อนค่า 1 บาทจะส่งผลต่อกำไรเพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้กำไรเพิ่มขึ้น KCE +6% และ HANA +5%

2) กลุ่มอาหาร เนื่องจากมีรายได้ส่วนใหญ่จากต่างประเทศ โดยเรียงลำดับทุกการอ่อนค่า 1 บาทจะส่งผลต่อกำไรเพิ่มขึ้น TU +3%, CPF +5%, ASIAN +5%, GFPT +2%

3) กลุ่มเกษตร เนื่องจากมีรายได้ส่วนใหญ่จากต่างประเทศ โดยเรียงลำดับทุกการอ่อนค่า 1 บาทจะส่งผลต่อกำไรเพิ่มขึ้น STA +6%, NER +3%, GFPT +2%
3) อุตสาหกรรมอื่น ที่ได้ผลกระทบเชิงบวกจากค่าเงินบาทอ่อน เนื่องจากมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการส่งออก ได้แก่
SMPC ประเมินทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่าทำให้กำไรเพิ่มขึ้น +8-10%
MEGA ประเมินทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่าทำให้กำไรเพิ่มขึ้น +8%
EPG ประเมินทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่าทำให้กำไรเพิ่มขึ้น +4%

( – ) ส่วนหุ้น/อุตสาหกรรม ที่ที่คาดว่าจะได้รับผลลบจาก “ค่าเงินบาทอ่อนค่า”
1) กลุ่มสายการบิน THAI, AAV, BA มีโครงสร้างต้นทุนเป็นเงินสกุลดอลลาร์ราว 60% ค่าเงินบาทอ่อนค่าจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น

2) กลุ่มพลังงาน เนื่องจากมี negative net exposure ต่อการเคลื่อนไหวของสกุลเงินดอลลาร์ต่อสกุลเงินบาท ส่งผลให้อาจจะมีการบันทึก unrealized fx loss สำหรับ PTTGC TOP IVL ขณะที่ผลกระทบต่อ PTTEP และ SPRC น่าจะมีจำกัดเพราะมีการใช้ USD เป็น functional currency

3) กลุ่มโรงไฟฟ้า เนื่องจากมีเงินกู้สกุลเงินดอลลาร์ส่งผลให้มีการบันทึก unrealized fx loss เข้ามา อย่างไรก็ตาม รายการดังกล่าวเป็นเพียงรายการทางบัญชีและไม่ได้มีผลกระทบต่อกระแสเงินสด ทั้งนี้หุ้นที่มี impact จากประเด็นดังกล่าวประกอบด้วย GULF, BGRIM, GPSC, RATCH,GUNKUL

4) อื่นๆ
TVO จะทำให้ต้นทุนนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น (บริษัทนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศราว 75-80%) ทุกๆ 1 บาทที่อ่อนค่า จะทำให้กำไรลดลงประมาณ -3%

Fundamental research team

- Advertisement -