บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส :
ธุรกิจฟื้นตัวและโตแกร่งในปี 65F
ธุรกิจของ GLOCON ประกอบด้วย 1) ธุรกิจอาหารแช่แข็งและอาหารพร้อมรับประทาน ผลไม้อบแห้ง, 2) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทต่างๆ เช่น พลาสติกชนิดอ่อนตัว (Flexible Packaging), ขวดพีอีที(PET :Polyethylene Terephthalate Bottle) และบรรจุภัณฑ์พลาสติกขึ้นรูปด้วยระบบ Vacuum เช่น ถาดบรรจุอาหาร, 3)ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม (ถือหุ้น 100% ใน A&W, 100% ใน Kitchen Plus)แล 4) ธุรกิจเทรดดิ้ง
โครงสร้างรายได้ – ใน 1Q64 มีรายได้รวม 410 ล้านบาท เติบโต +4%YoY โดยมาจาก รายได้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์36%, ธุรกิจอาหารแช่แข็ง 29%, ธุรกิจผลไม้อบแห้ง 28%, ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม 5% ที่เหลือเป็นอื่นๆ
โครงสร้างลูกค้าใน 1Q64 เป็นดังนี้
# ธุรกิจบรรจุภัณฑ์- บรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัว ลูกค้าประกอบด้วย CP RAM 28%, ทองการ์เด้น 13%, Globo Foods11%, TKN 7%, Global Medical 5% อื่นๆ 36%, ธุรกิจขวด PET ลูกค้าใหญ่ คือ บมจ.น้ำดื่มฟ้าใส 2492 คิดเป็น 43%,ธรุกิจถาดบรรจุอาหาร ลูกค้าหลัก ได้แก่ Tops 26%, Minor 12%, CP RAM 12%, สยามมิชลิน 10%, นิตยา 9%
# ธุรกิจอาหารแช่แข็งและอาหารพร้อมรับประทาน – ขายในประเทศ 90% และส่งออก 10% โดยเป็นการผลิต OEM ให้กับ EZYGO 48%
# ธุรกิจผลไม้อบแห้ง (มะม่วง, สับปะรด, มะละกอ) – ส่งออก 90% ขายในประเทศ 10% ตลาดส่งออกหลักใน 1Q64 คือ ยุโรป 43%, อเมริกาเหนือ38% ที่เหลือเป็น เอเชียแปซิฟิค 9%, แอฟริกา 5%, อเมริกาใต้ 4%
# ธุรกิจร้านอาหาร & เครื่องดื่ม – มาจาก A&W 87% และ Kitchen Plus 13% ซึ่งในปี 63 ขาดทุนราว 50-60 ล้านบาท ใน 1Q64 ยังคงขาดทุน และคาดว่าทั้งปี 64F จะขาดทุนใกล้เคียงกับปีก่อน เพราะถูกกระทบจากวิกฤตโควิด-19
Key Growth สำหรับปี 64F คือ
1) การเติบโตของธุรกิจอาหารแช่แข็งและพร้อมรับประทาน ซึ่งขยายตัวจากการเพิ่มผลิตภัณฑ์และการขยายสาขาของลูกค้า โดยเฉพาะ 7-11 ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีรายได้จาก 7-11 ประมาณ 40% ของรายได้ทั้งหมด บริษัทตั้งเป้ารายได้ส่วนนี้โต +46%,
2) การฟื้นตัวของธุรกิจผลไม้อบแห้ง ซึ่งในปี 64 ได้เก็บลูกค้าเดิมกลับมาได้เกือบหมดแล้ว หลังปี 63 สะดุดตัวในช่วงซื้อกิจการ (เกิดการส่งสินค้าล่าช้าและลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อ) บริษัทตั้งเป้ารายได้ส่วนนี้โต +73% (จากฐานต่ำในปี 63) และ
3) ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่คาดว่าจะเติบโตจากอุปสงค์เพิ่มขึ้น ตั้งเป้ารายได้ส่วนนี้โต +17% โดยรวมบริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ปี 64F ขยายตัว +37% เป็น 2.1 พันล้านบาท
• ปัจจัยหนุนการเติบโตกำไรในปี 65F ประกอบด้วย
1) การเปิด Plant ใหม่ทดแทนการเช่าในปลายปี 64 ซึ่งจะมีกำลังการผลิตอาหารเพิ่ม 3 เท่า โดยคาดว่าในปี 65F จะใช้กำลังการผลิต 60-70%,
2) เพิ่มรายได้ธุรกิจอาหารแบรนด์ของตนเองมากขึ้น (ซึ่งมีมาร์จิ้นสูงกว่าแบบ OEM อย่างมีนัยสำคัญ),
3) ขยายตลาดส่งออกธุรกิจอาหารแช่แข็งและพร้อมรับประทาน ซึ่งผู้บริหารระบุว่ามีโอกาสได้คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นพอควร,
4) เพิ่มรายได้จากธุรกิจเทรดดิ้ง ซึ่งบริษัทเริ่มทำตลาดตั้งแต่ 3Q64 โดยมีทั้งสินค้า Plant based และที่มีเนื้อสัตว์ ภายใต้แบรนด์ของตนเองคือ “Kitchen Plus” ตั้งเป้ายอดขายส่วนนี้ปี 65F จะโตกว่า 308% เป็น 61ล้านบาท,
5) มูลค่าเพิ่มจากโรงสกัดน้ำมันกัญชง ซึ่งบริษัทมีคู่ค้าจัดหาเมล็ดกัญชงให้ 5 ราย ขณะนี้รอประกาศอนุญาตจากทางการที่จะให้นำน้ำมันกัญชงมาผสมในอาหาร ซึ่งคาดว่าจะเป็นราวก.ย.64 ซึ่งบริษัทเตรียมพร้อมและสามารถออกผลิตภัณฑ์อาหารผสมน้ำมันกัญชงได้ตั้งแต่ 4Q64 เป็นต้นไป (เมนูแรกคือต้มยำกุ้ง)
ประมาณการรายได้และกำไรสุทธิปี 64F-65F ในเบื้องต้นคาดการณ์ว่ารายได้ปี 64F จะเติบโต +28% เป็น 1.97พันล้านบาท และปี 65F ขยายตัวต่อ +20% เป็น 2.36 พันล้านบาท (ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของบริษัทที่ 2.1 และ 2.75พันล้านบาท) ประมาณการว่าบริษัทจะเริ่มทำกำไรได้ราว 30-50 ล้านบาทในปี 64F (จากขาดทุนสุทธิ 59 ล้านบาทในปี 63) และเติบโตก้าวกระโดดเป็น 131 ล้านบาทในปี 65F ซึ่งมาจากรายได้ขยายตัว, มาร์จิ้นดีขึ้น, SGA ต่อรายได้ลดลงเพราะมี Economy of scaleแต่ยังไม่รวมการซื้อกิจการ
บริษัทมีโอกาสที่จะเพิ่มทุนเพื่อใช้ในการซื้อกิจการ แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดเรื่องจำนวนหุ้นเพิ่มทุนและราคาแต่มีแนวโน้มจะเป็นการเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหหุ้นเดิม (R/O)
Upside Risk คือ
1) การซื้อกิจการซึ่งบริษัทคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ โดยเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับอาหารและมีกำไรแล้ว ,
2) การฟื้นตัวของธุรกิจ A&W ที่ดีกว่าคาด โดยขณะนี้เราคาดว่าในปี 65 จะขาดทุนน้อยลงถึงคุ้มทุน ทั้งนี้ขึ้นกับสถานการณ์เศรษฐกิจ,
3) การลดทุนเพื่อตัดขาดทุนสะสมในปี 65เพื่อให้สามารถจ่ายปันผลได้
ความเสี่ยงหลัก คือ การพึ่งพิงลูกค้าหลักน้อยราย, ความผันผวนของราคาวัตถุดิบ, การแข่งขันในธุรกิจสูง, ลูกค้ามีอำนาจต่อรองราคามาก (แต่บริษัทก็มีแผนลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายดำเนินงานรองรับ รวมถึงมีตัวช่วยจาก Economyof scale หลังผลิตเพิ่มขึ้น), วิกฤตโควิดรุนแรงและยาวนานกว่าคาด
แนะนำซื้อเก็งกำไร ให้ราคาเป้าหมาย 1.50 บาท โดยอิงกับ P/E ปี 65F ที่ 22 เท่า ซึ่งมีส่วนลดจากค่าเฉลี่ยของกลุ่มอาหารประมาณ 30% ความน่าสนใจคือ การฟื้นตัวของผลประกอบการในปี 64F และเติบโตได้ก้าวกระโดดในปี 65F