บล.เคทีบีเอสที :
คาดกำไรสุทธิ 2Q21E จะทรงตัว QoQ ขณะที่ Spending เริ่มดีขึ้น
เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” และราคาเป้าหมายที่ 90.00 บาท อิง 2022E PBV ที่ 7.4x (+3SD above 3-yr average PBV) เราคาดกำไรสุทธิ 2Q21E ที่ 1.63 พันล้านบาท (+42% YoY, ทรงตัว QoQ) โดยเป็นผลของค่าใช้จ่ายสำรองที่ปรับตัวลงคิดเป็น credit cost 588 bps จาก 1Q20 ที่ 992 bps ตามฐานสำรองที่สูง และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเป็น management overlay ด้านสินเชื่อ (ไม่รวมสินเชื่อ KTBL) คาดจะขยายตัว +5% YoY จากสินเชื่อบัตรเครดิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น +8% YoY ในขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลจะหดตัว -2% YoY ตามความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่มากขึ้น
ทั้งนี้เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2021E และปี 2022E ที่ 6.38 พันล้านบาท (+20% YoY) และ 7.44 พันล้านบาท (+17% YoY) จาก 1) สินเชื่อที่จะขยายตัวปีละ +8% YoY ตามการใช้จ่ายที่คาดว่าจะดีขึ้น และการปล่อยสินเชื่อที่ครบวงจรภายหลังที่บริษัทเริ่มปล่อยสินเชื่อ KTBL ใน 3Q21E และ 2) credit cost ที่ทยอยลดลงเป็น 606 bps และ 455 bps จาก NPL ที่จะทรงตัวที่ 1.4%/2.7% จากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น เพื่อชดเชย loan yield ที่ลดลง และอัตราการตั้งสำรองที่ลดลงจากการปล่อยสินเชื่อ secured เพิ่มขึ้น
ราคาหุ้นปรับตัวลง และ underperform SET -8% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จากความเสี่ยงที่ ธปท. จะลดอัตราดอกเบี้ยลง 1-2% อย่างไรก็ตามเราแนะนำ “ซื้อ” จากผลกระทบการลดอัตราดอกเบี้ยที่จำกัด และเราประเมินว่าบริษัทโอกาสที่กำไรจะกลับมาเติบโตสูงอีกครั้ง ตั้งแต่ปี 2022E จากธุรกิจใหม่ Digital platform และสินเชื่อ secured loan ที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือคิดเป็นผลการดำเนินงานในระยะยาวที่จะดีขึ้นที่ 2020-2022E EPS CAGR +18%
Event: 2Q21E earnings preview
คาดกำไรสุทธิ 2Q21E จะดีขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลง และไม่มี Management overlay เราคาดกำไรสุทธิ 2Q21E ที่ 1.63 พันล้านบาท (+42% YoY, -0.2% QoQ) โดยขยายตัว YoY จาก
1) ค่าใช้จ่ายทางเงินที่ปรับตัวลง -11% YoY ตามเงินกู้ยืมที่ปรับตัวลง และ 2) ค่าใช้จ่ายสำรองที่ปรับตัวลง -34% YoY จากฐานสำรองที่สูง และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเหมือน 2Q20 ที่บริษัทมีการตั้งสำรองเป็น management overlay เพิ่มขึ้น 550 ล้านบาท ด้านสินเชื่อ 2Q21E (ไม่รวมสินเชื่อสุทธิของ KTBL ที่เริ่ม conso ในงวดคาดที่ 1.0 พันล้านบาท ) จะขยายตัว +5% YoY จากสินเชื่อบัตรเครดิตที่ขยายตัว +8% YoY ตามการใช้จ่ายผ่านบัตรที่มากขึ้น และไม่มีการ lock down เหมือนปีก่อน ในขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลคาดจะหดตัว -2% YoY ตามความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่มากขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ส.ค. 2020 ที่มีการปรับอัตราดอกเบี้ย โดยมี approval rate ลดลงเป็น 19% จากปีก่อนที่ 30%
ในขณะที่กำไรสุทธิ 2Q21E ทรงตัว QoQ จากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ปรับตัวลง -7% QoQ และ -4% QoQ ตามลำดับ เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายสำรองที่เพิ่มขึ้น +14% QoQ ตามการตัดจำหน่ายหนี้สูญที่สูงขึ้น
คงกำไรสุทธิปี 2021E/2022E ที่ขยายตัว +20% YoY/ +17% YoY เราคงกำไรสุทธิปี 2021E ที่ 6.38 พันล้านบาท (+20% YoY) และต่อเนื่องปี 2022E ที่ 7.44 พันล้านบาท (+17% YoY) หนุนโดย 1) สินเชื่อที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละ +8% YoY จากการใช้จ่ายที่คาดว่าจะดีขึ้นตั้งแต่ 2H21E หลังที่มีการฉีดวัคซีนแพร่หลายในประเทศ, การปล่อยสินเชื่อรายย่อยที่ครบวงจร โดยเราคาดว่าบริษัทจะเริ่มปล่อยสินเชื่อ KTBL ในช่วง 3Q21E รวมทั้งโอกาสในการปล่อยสินเชื่อ Digital ภายหลังที่ได้รับใบอนุญาต e-Money, 2) ต้นทุนทางการเงินที่ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2.6% จากปีก่อนที่ 2.7%,
3) cost to income ลดลงเป็น 34.2% และ 34.5% จากการทำตลาดออนไลน์ที่มีต้นทุนต่ำกว่าออฟไลน์โดยเปรียบเทียบ และ 4) credit cost จะทยอยลดลงเป็น 606 bps และ 455 bps จาก i. NPL ของสินเชื่อหลัก (บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล) ที่จะทรงตัวที่ 1.4%/2.7% จากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น เพื่อชดเชย loan yield ที่ลดลง, ii. อัตราการตั้งสำรองที่ลดลงจากการปล่อยสินเชื่อ secured (KTBL และพี่เบิ้ม) เพิ่มขึ้น และ iii. มีสำรองอยู่ในระดับสูง
Valuation/Catalyst/Risk
ราคาเป้าหมาย 90.00 บาท อิง 2022E PBV ที่ 7.4x (+3SD above 3-yr average PBV) จากแนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะขยายตัวขึ้นสูงในปี 2022E จากการใช้จ่ายผ่านบัตรที่จะดีขึ้น, โอกาสในการปล่อยสินเชื่อผ่านระบบ Digital, การกระจายความเสี่ยงจากสินเชื่อไม่มีหลักประกันเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน และจะมีบทบาทหลักที่จะเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อยของ KTB ทั้งนี้เราประเมินว่าผลการดำเนินงานในระยะยาวจะดีขึ้นที่ 2020-2022E EPS CAGR +18%