สรุปภาวะตลาด

วันจันทร์ท่ีผ่านมา ดัชนีสามารถปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่อง ปัจจัยบวกมาจากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันที่คาดว่าผ่านจุดสูงสุดแล้ว และจะมีการผ่อนคลายล็อคดาวน์ในวันท่ี 1 ก.ย. นี้ ประกอบกับ FED ยังไม่เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ตลาดหุ้นคลายความกังวล ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดท่ี 1,633.77 จุด +22.57 จุด +1.40% มูลค่าการซื้อขาย 117,383 ลบ.ต่างชาติ +2,067.70 ลบ. TFEX +8,472 สัญญา ตราสารหนี้ +833.34 ลบ.

ปัจจัยบวก

+ ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 47 เซนต์ +0.68% ปิดท่ี 69.21 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีรายงานว่าพายุเฮอริเคน ไอดาได้อ่อนก้าลังลงแล้ว นอกจากน้ี สัญญาน้ำมันยังได้รับปัจจัยลบจากการคาดการณ์ที่ว่ากลุ่มโอเปกพลัสจะตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในการประชุมวันพุธน้ี

+ CDC แถลงว่า ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่า มีวัยรุ่นเสียชีวิตจากโรคกล้ามเน้ือหัวใจอักเสบ หลังรับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์และโมเดอร์นา

+ ส.ว. ลงมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 วงเงิน 3.1ล้านล้านบาท

+ สธ.ชี้ผู้เสียชีวิตจากโควิดจะลดลงหลังยอดฉีดวัคซีนมากข้ึน คาดพื้นท่ีเสี่ยงได้เข็มสามในเดือน พ.ย.

+ ครม.อนุมัติ 4.7 พันล้าน จัดซื้อวัคซีนไฟเซอร์ เพิ่ม 9,998,820 โดส

+ ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 14,666 ราย มีผู้เสียชีวิต 190 ราย ชะลอตัวลง รักษา หาย 19,245 ราย

ปัจจัยลบ

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 55.96 จุด -0.16% ได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มพลังงาน  นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐที่จะเปิดเผยในวันศุกร์นี้

– IMF เตือนว่า กลุ่มประเทศในตลาดเกิดใหม่จะไม่สามารถรับมือกับภาวะ “Taper Tantrum” ซ้ำสองได้อีก โดยภาวะ Taper Tantrum อ้างอิงถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในปี 2556 เมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง จนส่งผลให้เม็ดเงินไหลออกจากตลาดเกิดใหม่จำนวนมาก หลังจากเฟดประกาศปรับลดวงเงิน QE

– WHO เรียกร้องให้ยุโรปเร่งการฉีดวัคซีนต้านโควิด- 19 ให้แก่ประชาชนเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีการระบาดใน 50 ประเทศในยุโรป

– นักวิทยาศาสตร์ของแอฟริกาใต้ตรวจพบไวรัสโควิด- 19 สายพันธุ์ C.1.2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ท่ีมีการกลายพันธ์ุในหลายตำแหน่ง

– ดัชนีความเช่ือมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนปรับตัวลงแตะ 117.5 ในเดือนส.ค. จากระดับ 119.0 ในเดือน ก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

– ก.คลังยอมรับศก.ไทยยังซมพิษโควิด-19 ประชาชนกังวลระบาดหนักกระทบการลงทุนและชะลอการใช้จ่าย ห่วงคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรมฉุดภาคการผลิต

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสพักตัวออกข้าง หลังจากปรับตัวข้ึนแรงต่อเนื่อง โดยปัจจัยหนุนยังอยู่ท่ีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ และจำนวนผู้เสียชีวิตเริ่มลดลง คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,625-1,650 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

หุ้น Reopening Play : กลุ่มโรงแรม – MINT ERW CENTEL AWC SHR กลุ่มขนส่ง – BEM BTS กลุ่มห้างสรรพสินค้า – CPN CRC MBK กลุ่มร้านอาหาร – AU M ZEN กลุ่มบริการ – SPA MAJOR กลุ่มค้าปลีก – CPALL BJC MAKRO

• FTSE Rebalance Large Cap Index หุ้นเข้า BBL, KBANK หุ้นออก BBL-F,BBL-R ,KBANK-F , KBANK-R, AWC, BJC, DIF : Mid Cap Index หุ้นเข้า AWC, BJC, DIF หุ้นออก ไม่มี : Small Cap Index หุ้นเข้า : JMART, STARK หุ้นออก – FTREIT มีผล 17 ก.ย.

• ค่าการกลั่นปรับตัวขึ้น TOP SPRC PTTGC

หุ้นรายงานพิเศษ

KTB – Analyst Meeting (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 12.60 บาท)

  • 2Q64 มีกำไรสุทธิ 6,011 ล้านบาท +60%YoY +8%QoQ 1H64 มีกำไร 1.16 หมื่นล้านบาท +13%YoY แม้รายได้รวมลดลง 9%YoY และ NIM ลดลง 62 bps เหลือ 2.53% ใน 1H64 เหลือ 3.15% ใน 1H63 %NPL ลดลงเหลือ 3.54% จากระดับ 3.81% ณ ปลายปี 63 ทำให้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดข้ึน (ECL) ลดลง 30%YoY และมีอัตราส่วน Coverage Ratio สูงข้ึนสู่ 160.7% จาก 125.4% ใน 1H63 ปลายมิ.ย. 64 สินเชื่อเติบโต 6.5%YTD ขณะท่ีสินเชื่อภาครัฐ เติบโตสูงถึง 33%YTD ผู้บริหารคงเป้าการเติบโตของสินเช่ือที่ระดับที่ระดับ 3-5%
  • แนวโน้มผลการดำเนินงาน 2H64 มีโอกาสแผ่วจาก 1H64 จากสินเช่ือภาครัฐมี yield ต่ำ ขณะที่ คชจ.ในการดำเนินงานมีแนวโน้มเร่งข้ึนใน 2H64 ตามฤดูกาลที่มักมีคชจ.ดำเนินงานสูงขึ้นในไตรมาสสุดท้าย ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 64 เฉลี่ย 18,458 ล้านบาท +10%YoY กำไร 1H64 คิดเป็น 63% ของประมาณการ
  • ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อการเป็นธนาคารที่สนองนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้สินเชื่อมีโอกาสเติบโตสูงจากสินเช่ือภาครัฐที่มีความเสี่ยงต่ำ ราคาหุ้นท่ีปรับขึ้น 12% ในช่วง 1 เดือนท่ีผ่านมาซื้อขายท่ี PBV ระดับ 0.46 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มท่ีระดับ 0.65 เท่า IAA Consensus คาด Dividend Yield สูงสุดในกลุ่มแบงก์ขนาดใหญ่ที่ 3.9% ต่อปี แนะนำ ทยอยซื้อสะสม

หุ้นมีข่าว

(+) RBF (Bloomberg Consensus 20.80 บาท) ปิดบิ๊กดีลใหม่ เซ็นสัญญากับ “ICHI” รับค้าสั่งซื้อสารสกัด CBD ในกัญชงระยะยาวข้ามปี ฟาก “ตัน” ประกาศนำทัพเปิดตลาดเครื่องดื่ม CBD พร้อมเดินหน้าเปิดไลน์ผลิตแบบ OEM ให้รายย่อย รุกนำสินค้าส่งออก สร้างรายได้เข้าประเทศ หวังสนับสนุนเกษตรไทยเต็มกำลัง (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) WGE (Bloomberg Consensus – บาท)” คว้างานใหม่ 5 โปรเจกต์ มูลค่ารวมกว่า 646 ล้าน บาท ดันแบ็กล็อกเพิ่มเป็น 3,441 ล้านบาท “เกรียงศักดิ์” มั่นใจรายได้รวมปีนี้ทะลุเป้า 1,500 ล้าน บาท ก่อนพุ่งทะยาน 5,000 ล้านบาท ในปี 66 หลังลุยประมูลงานภาครัฐ-บุกงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) LEO (Bloomberg Consensus 13.50 บาท) LEO ร่วมทุนกับ Cardinal UK จัดตั้ง “บริษัท คาร์ดินัล มาริไทม์ (ประเทศไทย) จำกัด” เน้นการพัฒนาและขยายธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศอังกฤษ ยุโรปเหนือ เอเชีย ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆทั่วโลก โดย LEO ถือหุ้น 51% เตรียมเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมน้ี พร้อมบุ๊กรายได้เข้าในไตรมาส 4/64 ทันที (ที่มา ทันหุ้น)

(+) BCP (Bloomberg Consensus 30.75 บาท) แนวโน้มผลงานไตรมาส 3/64 เด่น หลังคาดราคาน้ำมันโลกแกว่งตัวสูงเหนือ 70-75 ดอลลาร์ พร้อมปรับโรงกลั่น UCO ดัน EBITDA พุ่ง แย้มมีความสนใจลงทุนแหล่งน้ำมันใหม่แถบนอร์เวย์เพิ่มเติม เล็งดันบริษัทย่อย BBGI เข้าตลาดปลายปีนี้ (ท่ีมา ทัน หุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

30 ส.ค.สศอ. แถลงดัชนีอุตสาหกรรมสศค. รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนคีวามเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค

31 ส.ค. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย ฝากแปะปัจจัยที่ต้องจับตาในประเทศ

31 ส.ค.-3 ก.ย. อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลลงมติ 4 ก.ย.64

ปัจจัยจับต่างในประเทศ

30 ส.ค.อียูรายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ส.ค.

สหรัฐรายงานยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนก.ค. ดัชนีการผลิตดือนส.ค. จาก เฟดดัลลัส

31 ส.ค.จีนรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิต และภาคบริการเดือนส.ค.

สหรัฐเปิดเผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.

1 ก.ย.จีนรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนส.ค.จากไฉซิน

สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนส.ค. จาก ADP ดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือน ส.ค.ดัชนีภาคการผลิตเดือนส.ค.สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์

2 ก.ย.สหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนก.ค. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือน ก.ค.

- Advertisement -