บล.ฟิลลิป:

เอสไอเอส ดิส ทริบิวชั่น (ประเทศไทย) – SIS ตอบรับการเติบโตไปกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

กำไรสุทธิ 2Q64 เห็นการเติบโตทั้ง q-q และ y-y

SIS รายงานกําไรสุทธิ 2Q64 ที่ 197 ล้านบาท เติบโต 34.3% y-y และ 3.5% q-q ด้วยแรงหนุนจากการเติบโตของรายได้จากการขาย และให้บริการท่ีเพิ่มขึ้น 28.8% y-y และ 6.7% q-q ซึ่งหลักๆ มาจากสินค้าโทรศัพ ท์ที่บริษัทเป็นตัวแทนจําหน่ายแบรนด์ Xiaomi เติบโตเด่น 82.9% y-y และ 26.2% q-q อีกทั้งยังเป็นสัดส่วนท่ีสร้างรายได้ให้บริษัทเป็นอันดับ 1 ที่ 37% ของรายได้จากการขายและบริการ หากแต่ GPM ลดลงจาก 2Q63 ที่ 7.1% เป็น 5.7% หลังถูกกดดันจากสินค้าโทรศัพท์ซึ่งมีมาร์จิ้นต่ำ ขณะที่สินค้ามูลค่าเพิ่ม และส่วนงานอื่นๆ แม้จะมีมาร์จิ้นสูงเกินกว่า 10% แต่ไม่สามารถชดเชยได้หมด หลังยังมีสัดส่วนรายได้ท่ีน้อยเมื่อเทียบกับสัดส่วนรายได้สินค้าโทรศัพท์

ทั้งนี้หากไม่รวมรายการพิเศษที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน และการด้อยค่าสินทรัพย์ทางการเงิน บริษัทมีกําไรปกติอยู่ที่ 176 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.7% q-q แต่ลดลง 12.0%y-y

2H64 คาดผลดำเนินงานยังสดใส และมีแนวโน้มโตดีกว่า 1H64

แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงตั้งแต่ช่วงต้น 3Q64 นั้นจะสร้างความกังวลต่อผลดําเนินงาน SIS ที่อาจได้รับผลกระทบจากการปิดศูนย์การค้าในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หลังผู้จำหน่ายสินค้าปลีก ทั้งในส่วนของที่เป็นพื้นที่ของเจ้าของศูนย์การค้า และพื้นที่ให้เช่าซึ่งเป็นลูกค้าของบริษัทนั้นไม่สามารถเปิดขายได้ แต่ด้วยการเป็นสินค้าท่ีมีความจําเป็นและสอดคล้องกับมาตรการภาครัฐฯ ท่ีสนับสนุนการเรียนและทํางานออนไลน์ ทําให้ยอดขายบางส่วนถูกชดเชยได้จาก กลุ่มลูกค้าที่มีการปรับตัวเข้าสู่ช่องทางการขายออนไลน์ เช่นเดียวกับงานโครงการที่อาจมีความล่าช้า จากความเข้มงวดในการเข้าปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยังการขายสินค้าให้กลุ่มผู้ประกอบการ SI แต่ด้วยการระดมเร่งฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง ทําให้บางพื้นที่ผ่อนคลายความเข้มงวดลง โดยอนุญาตให้พนักงานท่ีได้รับวัคซีนครบตามที่กําหนด หรือมีผลรับรองการปลอดเชื้อ COVID-19 สามารถทํางานได้ ขณะท่ีล่าสุดเดือน ก.ย. 64 สถานการณ์โดยรวมที่คลี่คลายลงต่อเนื่อง จนนําไปสู่การผ่อนคลายมาตรการจากทางศบค.โดยเฉพาะการกลับมาเปิดให้บริการปกติของศูนย์การค้า ทําให้ทางฝ่ายคาด SIS จะมียอดคําสั่งซื้อจากกลุ่มลูกค้ากลับมาเป็นปกติอีกครั้ง

ห่วงโซ่ท่ียังต้องมีในอุตสาหกรรมไอที

จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีท่ีอาจส่งผลทําให้ช่องว่างระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคแคบลง อาจสร้างแรงกดดันต่อผลดําเนินงานของบริษัทท่ีประกอบธุรกิจเป็นตัวกลาง หากแต่ทางฝ่ายมองผลกระทบดังกล่าว คาดยังจํากัดต่อ SIS เนื่องจาก

1) การให้คําปรึกษาและดูแลหลังการขาย เนื่องด้วยสินค้าไอทีบางอย่างมีความซับซ้อนในการใช้งาน โดยเฉพาะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ท่ีใช้กับงานระบบ IT ของบริษัท จําเป็นต้องใช้ความชํานาญและประสบการณ์ในสายงานนั้นๆ ทําให้ SIS ยังมีความสําคัญในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้งานด้วย ทีมงานท่ีมีความเช่ียวชาญด้วยการให้บริการแบบ One-Stop Service เช่นเดียวกับผู้บริโภคขั้นสุดท้าย (End-User) ท่ีหากมีปัญหาภายหลังการซื้อหรือการใช้งาน และเป็นสินค้าท่ีบริษัทเป็นผู้จัดจําหน่าย ผู้บริโภคสามารถส่งซ่อมและรับคืนสินค้าได้จากสถานที่ซื้อนั้นๆ

2) การบริหารสินค้าคงคลังท่ีมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางความนิยมในสินค้าไอทีท่ีเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อาจส่งผลต่อความคล่องตัวในการบริหารสินค้าของคู่ค้า ที่ทําให้เกิดผลขาดทุนจากสินค้าล้าสมัย ดังนั้น SIS จึงพยายามช่วยลดผลกระทบให้คู่ค้าด้วยระบบจัดการสินค้าคงคลังของบริษัทให้มีลักษณะเป็นแบบ Real-Time ทําให้คู่ค้าไม่จําเป็นต้องสั่งตุนสินค้าเป็นจํานวนมาก ในขณะที่บริษัทก็สามารถเห็นความเคลื่อนไหวในแต่ละสินค้า และใช้เป็นแนวทางในการหาสินค้าใหม่มาตอบสนองได้ทันเวลา

พร้อมเติบโตไปกับเทรนด์ของเทคโนโลยียุคใหม่

ด้วยความสําคัญของการเป็นตัวแทนจําหน่ายท่ีอยู่ตรงกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ทําให้ทางฝ่ายไม่ได้มองเพียงจุดเด่นที่มีในปัจจุบันของ SIS จากการมีฐานลูกค้าที่กว้างขวาง และประเภทสินค้าท่ีครอบคลุม ทั้งสินค้าสําหรับผู้บริโภค, สินค้าเชิงพาณิชย์ และสินค้ามูลค่าเพิ่ม หากแต่ทางฝ่ายมีมุมมองบวกต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ติดตามข่าวสารเทคโนโลยีใหม่ต่อเนื่อง พร้อมมองหาโอกาสเพื่อต่อยอดการเติบโตธุรกิจ ทั้งนี้จากการสอบถามและพูดคุย กับผู้บริหารพบว่า แนวโน้มเทคโนโลยีท่ีคาดมีโอกาสขยายตัวสูงในช่วง 1-3 ปีข้างหน้านี้ ได้แก่

1) Internet of Things (IoT) เน้นการเช่ือมต่ออุปกรณ์เพื่อให้สามารถทํางานร่วมกันได้

2) Private Cloud / Cloud Service รองรับปริมาณการใช้ดาต้าท่ีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

3) Cyber Security

4) Blockchain

5) Data Analytic / Machine Learning / AI

โดยการเติบโตดังกล่าวข้างต้น ผู้บริหารมองเป็นโอกาสที่จะช่วยผลักดันผลดำเนินงานเติบโต จากกลุ่มลูกค้าเอกชนที่ต้องลงทุน ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ตลอดจนการอัพเดทและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกลุ่มลูกค้า SI ท่ีนําเสนอบริการเฉพาะด้าน ซึ่งจะช่วยหนุนรายได้ในส่วนสินค้าเชิงพาณิชย์, สินค้ามูลค่าเพิ่ม และส่วนงานอื่นๆ ในขณะที่กลุ่มผู้บริโภค บริษัทมีแผนขยายไลน์สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เน้นการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีสมัย ใหม่ โดยมีจุดแข็งอยู่ที่การเป็นตัวแทนจําหน่ายสินค้าแบรนด์ Xiaomi ในประเทศไทย ซึ่งบริษัท คาดหวังจะเห็นยอดขายเติบโตดีเช่นเดียวกับสินค้าโทรศัพท์ที่บริษัทนำเข้ามาขายอยู่ในปัจจุบัน ส่วนอนาคตค่าจะมีการติดต่อแบรนด์อื่นๆเพื่อนำสินค้าเข้ามาวางขายมากขึ้น

คงราคาพื้นฐานปี 65 ท่ี 41.25 บาท และคำแนะนํา “ซื้อ”

จากผลดําเนินงาน SIS ช่วง 1H64 ที่มีกําไรสุทธิคิดเป็นสัดส่วน 45.6% ของประมาณการปี 64 ซึ่งยังอยู่ในกรอบประเมินไว้ และมุมมองบวกต่อผลดําเนินงาน 2H64 ที่คาดมีโอกาสเติบโตดีกว่า 1H64 จากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ท่ีหนุนวิถีการใช้ชีวิตปกติกลับมาอีกครั้ง ทําให้ทางฝ่ายยังคงประมาณการกําไรสุทธิปี 64 ท่ี 729 ล้านบาทเติบโต 21.9% y-y และคาดเติบโตต่ออีก 16.7% y-y ในปี 65 แตะ 851 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตที่ต่อเนื่องสอดรับกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะเกิดขึ้น และเป็นตัวกระตุ้นต่อความต้องการสินค้าไอทีเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งยังคงคําแนะนํา “ซื้อ” หลังราคาหุ้นปัจจุบันยังมีส่วนต่างจากราคาพื้นฐานปี 65 ที่ 41.25 บาท โดยอิง P/E 17.0x (ค่าเฉลี่ย PE ย้อนหลัง 3 ปี + 2SD.)

- Advertisement -