บล.ทรีนีตี้:

THIENSURAT – เธียรสุรัตน์ (TSR) คาดโควิดกระทบถึงสิ้นปี ปรับลดกำไร แต่ราคาหุ้นลงมามากแล้ว

  • กําไรไตรมาส 2/2564 เท่ากับ 13 ล้านบาท ลดลงอย่างมีนัยฯทั้ง QoQ และ YoY จากรายได้ธุรกิจหลักและอัตรากําไรขั้นต้นลดลง ขณะที่ SG&A ต่อยอดขาย และสัดส่วนหนี้เสียต่อยอดขายเพิ่มขึ้นรับผลกระทบโควดิ -19 ระรอกใหม่
  • คาดโควิด-19 กระทบต่อเนื่องใน 2H2564 เป็นอุปสรรคต่อการขายตรงบริษัท เน้นคุมค่าใช้จ่ายลดทีมขาย ขณะที่ยังมีค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัคซีนและอุปกรณ์ สําหรับป้องกันโควิด-19 ให้กับพนักงานต่อเนื่อง นําไปสู่การปรับประมาณการปี 2564 และปี 2565 ลดลง เพื่อสะท้อนสถานการณท์แย่กว่าคาด
  • ปรับคำแนะนำเป็น “ซื้อ” จาก “ถือ” เนื่องจากราคาหุ้นปรับลงมามากถึงราว 66% จากราคาปิดสูงสุดเมื่อปลาย เม.ย. 2564 มองสะท้อนปัจจัยลบจากโควิด-19 ในปีนี้ไปมากแล้ว คาดผลการดําเนินงานจะกลับมาฟื้นตัวในปี หน้า โดยขยับไปใช้ Fair value ปี 2565 ที่ 4.12 บาทต่อหุ้น ด้วยวิธี P/E Ratio 17 เท่า จากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี +0.5SD (ปรับลดจาก Fair value เดิมที่ 4.55 บาท ปี 2564)

ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2564

  • กำไรสุทธิไตรมาส 2/2564 จำนวน 13 ล้านบาท (-61.2%QoQ, -73.4%YoY) สาเหตุหลักจากรายได้จากการขายสินค้าลดลง YoY และอัตรากำไรขั้นต้นลดลงทั้ง QoQ และ YoY รายได้รวมเท่ากับ 498 ล้านบาท (+5.3%QoQ, -6.3%YoY) ประกอบด้วยรายได้จากการขายสินค้า(สัดส่วน 87%) จำนวน 435 ล้านบาท (-9.1%YoY) ลดลงจากผลกระทบโควิด- 19 ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขายสินค้า โดยเฉพาะการขายตรงที่ไม่สามารถเข้สไปพบลูกค้าได้ ขณะที่รายได้จากดอกผลตามสัญญาเช่าซื้อ และลูกหนี้สินเชื่อ (สัดส่วน 12%) จำนวน 60 ล้านบาท (+14.4%YoY) การขยายธุรกิจ Leasing ที่พัฒนาการใช้สินเชื่อที่มีหลักประกันเพิ่มขึ้น เช่น สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ รถบรรทุก ธุรกิจ Floor Plan เป็นต้น อัตรากำไรขั้นต้นที่ 71.0% (73.4% ใน 2Q63) ลดลงจากสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อรถยนต์และรถบรรทุกที่ไม่มีอัตรากำไรชั้นต้น แต่ได้รายรับจากดอกเบี้ยเช่าซื้อ ในขณะที่สัดส่วนการขายเครื่องกรองน้ำที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงลดลง
  • สัดส่วน SG&A ต่อยอดขาย 57.4% (54.1% ใน 2Q63) สาเหตุหลักจากค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัคซีนและอุปกรณ์สำหรับป้องกันโควิด-19 ให้กับพนักงานเพิ่มขึ้น ประกอบกับยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า ขณะที่เพิ่มทีมขายเป็นจำนวนมากระหว่างปีที่ผ่านมา สัดส่วนหนี้เสียต่อยอดขาย 11.0% (8.8% ใน 2Q63) โดยมีค่าใช้จ่ายด้อยค่าจำนวน 55 ล้านบาท (+16.2%YoY) จากการบันทึกผลขาดทุนจากสินค้าที่ยึดคืนทันที เนื่องจากบริษัทมีการปรับปรุงกระบวนการตจรวจสอบคุณภาพของลูกหนี้ในเชิงรุกภายใต้สถานการณ์โควิด-19 และมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 9

โดยสรุปกำไร 1H2564 จำนวน 45 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียงราว 27% ของประมาณการกำไรทั้งปี 2564 ที่ 167 ล้านบาท ดดังนั้นจึงมีการพิจารณาปรับประมาณการกำไรปี 2564 ลงราว 60% เป็น 66 ล้านบาท และปี 2565 ลงราว 31% เป็น 133 ล้านบาท

แนวโน้มไตรมาส 3/2564

คาดผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/2564 ชะลอตัวทั้ง QoQ และ YoY รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ เนื่องจากธุรกิจหลักเป็นลักษณะทีมขายตรงเข้าไปพบลูกค้าตามที่พักอาศัย การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรงในระรอกใหม่ จนมีคำสั่งล็อกดาวน์ยาวนานต่อเนื่อง จึงก่อให้เกิดอุปสรรคในการเข้าหาลูกค้าได้ยากขึ้น กดดันทั้งรายได้ อัต รากำไรขั้นต้น อีกทั้งคาด ว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการดูแลสุขภาพพนักงาน เช่น วัคซีนต้านโควิด-19 การดูแล พนักงานที่ติดเชื้อ เป็นต้น อย่างไรก็ดี บริษัทมีกลยุทธ์ควบคุมค่าใช้จ่าย เช่น ชะลอการเพิ่มทีมขาย การลดทีมขายบางส่วนที่ไม่เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงชะลอการขยายสาขา โดยคาดว่าจะค่อยๆฟื้นตัวในไตรมาส 4/2564 หากมีการคลายล็อกดาวน์

ปรับประมาณการลดลง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์

ฝ่ายวิเคราะห์มีการพิจารณาปรับประมาณการปี 2564 และ 2565 ลดลง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานในช่วงไตร มาส 2/2564 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะยังส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2564 ดังนั้นจึงมองว่ามีโอกาสสูงที่รายได้ทั้งปี 2564 จะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้เมื่อต้นปีที่ราว 10-15% ต่อปี

ปรับประมาณการรายได้รวมปี 2564 ลงมาอยู่ที่ 1,918 ล้านบาท (+0.4%YoY) จากเดิมที่ 2,194 ล้านบาท (+14.4%YoY) คิดเป็นการปรับประมาณการรายได้ลดลงราว 12.6% และปรับประมาณการรายได้รวมปี 2565 ลงมาอยู่ที่ 2,193 ล้านบาท จากเดิมที่ 2,452 ล้านบาท คิดเป็นการปรับประมาณการรายได้ลดลงราว 10.6%

ปรับสมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้นในปี 2564 ลดลงเป็น 73.5% จากเดิม 75.0% เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้จากสินเชื่อเช้าซื้อรถยนต์ และรถบรรทุกที่ไม่มีอัตรากำไรขั้นต้น แต่มีรายรับจากดอกเบี้ยเช่าซื้อ ขณะที่สัดส่วนการขายเครื่องกรองน้ำที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงลดลงจากผลกระทบของโควิด-19 อย่างไรก็ตามคาดว่าสถานการณ์การขายเครื่องกรองน้ำจะดีขึ้นในปี 2565 หลังโควิด-19 คลี่คลาย จึงยังคงสมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้นปี 2565 ไว้ที่ 75.0% ไม่ เปลี่ยนแปลง

สำหรับสมมติฐานสัดส่วน SG&A ต่อยอดขายปี 2564 และ 2565 มีการปรับเพิ่มขึ้นเป็น 59.5% และ 58.0% จากเดิม 57.8% และ 57.5% ตามลำดับ เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่อาจไม่สามารถปรับลดลงได้ทันในช่วงที่มีรายได้ลดลง ประกอบกับบริษัทมีค่าใช้จ่ายในการดูแลพนักงานในช่วงโควิด -19 เพิ่มขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัคซีนต้านโควิด-19 การให้ความช่วยเหลือพนักงานที่ติดโควิด เป็นต้น

พร้อมกันนี้ได้พิจารณาปรับสมมติฐานสัดส่วนขาดทุนจากการด้อยค่าลูกหนี้ต่อยอดขายปี 2564 และปี 2565 เพิ่มขึ้นเป็น 11.3% และ 11.0% จากเดิมที่ 9.0% และ 8.8% ตามลำดับ เพื่อให้สะท้อนแนวโน้มที่มีโอกาสบันทึกรายการขาดทุนจากการด้อยค่าลูกหนี้เพิ่มขึ้น หลังผู้บริโภคระดับล่าง-ระดับกลางได้รับผลกระทบด้านรายได้จากสถานการณ์โควิด-19 มาก

จากการปรับประมาณการดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2564 และปี 2565 ลดลงอยู่มาอยู่ที่ 66 ล้านบาท (-53.8%YoY) และ 133 ล้านบาท (+101.1%YoY) คิดเป็น EPS 0.12 บาทต่อหุ้น และ 0.24 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ จากประมาณการเดิมที่ 167 ล้านบาท และ 193 ล้านบาท ตามลำดับ

แนะนำ “ซื้อ” จาก “ถือ” มองราคาลดลง สะท้อนปัจจัยลบไปมากแล้ว

ปรับแนะนำเป็น “ซื้อ” จาก “ถือ” เนื่องจากราคาหุ้นปรับลงมามากถึงราว 66% จากราคาสูงสุด ที่ 6.15 บาท เมื่อ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา มองสะท้อนปัจจัยลบจากโควิด-19 ในปีนี้ไปมากแล้ว ประกอบกับคาดว่าผลการดำเนินงานจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในปี 2565 โดยปรับใช้ราคาเป้าหมายใหม่เป็น Fair Value ปี 2565 ที่ 4.12 บาทต่อหุ้น (ปรับลดจาก Fair value เดิมที่ 4.55 บาท ปี 2564) อ้างอิงคาดการณ์ EPS ปี 2565 ที่ 0.24 บาทต่อหุ้น และ P/E Ratio ที่ 17 เท่า (จากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี +0.5SD ปรับเพิ่มจาก P/E อ้างอิงเดิมที่ 15 เท่า เนื่องจาก ประมาณการกำไรปี 2564 และ 2565 ที่ระมัดระวังขึ้น) ปัจจุบันมี upside มากกว่า 10% โดยเราได้ทําตาราง P/E Ratios Sensitivity Analysis ที่ P/E Ratios ในกรอบ 8-20 เท่า (-1SD ถึง +1SD) บน EPS +/- 10% จากประมาณการ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน

ความเสี่ยง: โควิด- 19 , การพึ่งพาทีมขายตรง , หนี้เสีย

- Advertisement -