บล.หยวนต้า (ประเทศไทย):

VRANDA RESORT PLC โรงแรมหลักยังได้รับผลกระทบ…รอลุ้นการท่องเที่ยวฟื้นตัวไตรมาส 4

Action

BUY (Maintain)

TP upside (downside) +24.2%

Close Sep 14, 2021 Price (THB) 6.60

12M Target (THB) 8.20

Previous Target (THB) 8.20

What’s new?

  • ผลประกอบการ 2Q64 ขาดทุนปกติ 35 ล้านบาท ใกล้เคียงกับขาดทุนปกติท่ี 35 ล้านบาทใน 1Q64 เนื่องจากผลกระทบของมาตรการควบคุมโรคท่ีเข้มงวดต่อเนื่อง เพื่อลดการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่
  • ในระยะสั้นแนวโน้มอุตสาหกรรมการท่องเท่ียวในประเทศยังถูกกดดัน แต่คาดจะเห็นการทยอยกลับมาฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวในประเทศใน 4Q64 และนักท่องเที่ยวต่างชาติใน 2Q65 เป็นต้นไป

Our View

  • ปรับลดประมาณการปี 2564/65 เป็นขาดทุน 84 ล้านบาท และกำไรท่ี 61 ล้านบาท ตามลำดับ จากผลกระทบของการระบาดรอบใหม่และมาตราการควบคุมของภาครัฐ
  • เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” อิงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2564 เท่าเดิมท่ี 8.20 บาทต่อหุ้น แม้ปรับลดประมานการลงแต่ปรับไปใช้ EV/EBITDA เฉลี่ยกลุ่มโรงแรมขนาดใหญ่ท่ี 12x จากเดิมท่ี 11x แต่ยัง Discount จากโรงแรมขนาดใหญ่ ท่ีมีสัดส่วนโรงแรมในยุโรปสูงท่ีกลับขึ้นไปซื้อขายที่ราวระดับ +/-1.0SD แล้ว

ผลประกอบการ 2Q64 ถูกกระทบจากการระบาดระลอกใหม่

ผลประกอบการใน 2Q64 รายงานขาดทุนปกติท่ี 35 ล้านบาท ใกล้เคียงกับขาดทุน 35 ล้านบาทใน 1Q64 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับกำไร 1 ล้านบาทใน 2Q63 ผลประกอบการแย่กว่าคาดเทียบกับประมานการเดิมทั้งปีท่ีขาดทุน 39 ล้านบาท กดดันจากผลกระทบของมาตรการควบคุมโรคท่ีเข้มงวดขึ้น เพื่อควบคุมการระบาด COVID-19 อย่างไรก็ดี รายได้การโอนธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัทฯ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1) รายได้ธุรกิจโรงแรมใน 2Q64 (20% ของรายได้รวม) อยู่ที่ 61ล้านบาท (-22%QoQ, +82%YoY) โตแรง YoY จาก ฐานที่ต่ำแต่ลดลง QoQ จากผลกระทบการแพร่ระบาด COVID-19 รอบใหม่ที่รุนแรง ทำให้รัฐออกนโยบายจำกัดการเดินทาง และปิดสถานที่ต่างๆ ซึ่งกระทบต่ออัตราการเข้าพัก Occ.Rate ใน 2Q64 ลดลงอยู่ที่ 16% เทียบกับ 20% ใน 1Q64 โรงแรมท่ียังถูกกระทบหนัก คือ โรงแรม So Sofitel (คิดเป็นราว 37% ของรายได้โรงแรมทั้งหมดในช่วง Pre COVID-19) ที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก ทำให้ธุรกิจโรงแรมยังขาดทุนขั้นต้นที่ 28 ล้านบาท

2) รายได้ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใน 2Q64 (72% ของรายได้รวม) อยู่ท่ี 220 ล้านบาท (-6%QoQ, -51%YoY) รายได้ลดลงจากสัดส่วนห้องท่ีรอโอนกรรมสิทธ์ิในโครงการ Veranda Residence หัวหินเหลือจำนวนน้อยลง คาดจะโอนหมดภายในปี 2565 ภาพรวมธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังเป็นไปตามแผนในปี 2564 กำไรขั้นต้นใน 2Q64 อยู่ท่ี 67 ล้านบาท (+1%QoQ, -54%YoY)

3) รายได้ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม (7% ของรายได้รวม) อยู่ท่ี 22 ล้านบาท (-12%QoQ, -21%YoY) ยังถูกกระทบเนื่องจากภาครัฐประกาศมาตรการปิดห้างสรรพสินค้า และงดให้บริการแบบ Dine-in แม้ยอดขาย Delivery จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีสัดส่วนที่น้อยยังไม่สามารถทดแทนรายได้นั่งกินในร้านอาหารได้

4) ค่าใช้จ่าย SG&A อยู่ที่ 75 ล้านบาท (-2%QoQ, -16%YoY) บริษัทฯดำเนินการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายลดลงทั้ง QoQ และ YoY แต่ยังไม่เพียงพอชดเชยรายได้หลักที่ลดลง

ผลการดำเนินงาน 1H64 รายงานขาดทุนสุทธิท่ี 70 ล้านบาท ลดลงเทียบกับกำไรสุทธิ 20 ล้านบาท ใน 1H63 และ เทียบกับประมาณการเดิมปี 2564 ของเราที่คาดขาดทุน 39 ล้านบาท ส่งผลให้ประมานการมี Downside

ภาพรวมระยะสั้นถูกกดดัน…แต่คงมุมมองอุตสาหกรรมกลับมาฟื้นตัวในระยะยาว

คาดผลประกอบการยังถูกกดดันจากสถานการณ์ในประเทศท่ีลากยาวมาตั้งแต่ต้นปี 2564 รวมถึงมาตรการ Lockdown ในช่วงเดือน มิ.ย.- ส.ค. 64 คาดผลประกอบการใน 3Q64 อ่อนตัวลง QoQ แต่เราคาดว่าแนวโน้มนักท่องเที่ยวในประเทศจะฟื้นตัวใน 4Q64 เป็นต้นไป เนื่องจาก

1) โรงแรมส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ driving distance เช่น หัวหิน พัทยา เป็นต้น คาดจะกลับมาฟื้นตัวได้ใน 4Q64 อย่างไรก็ดี เราเริ่มเห็นการปรับตัวของโรงแรมในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยบริษัทฯได้จับมือกับ BDMS เปิดโรงแรม So Sofitel บางส่วนเป็น Hospitel ในเดือน ส.ค.64 ช่วยหนุน Occ Rate ใน 2H64

2) รัฐประกาศคลาย Lockdown ตั้งแต่เดือน ก.ย.64 และการกระจายวัคซีนทั่วโลก รวมถึงในไทยท่ีเริ่มเห็นภาพเร่งตัวมากขึ้น จะเพิ่มโอกาสใหันักท่องเที่ยวในประเทศเริ่มผ่อนคลายความกังวล และกลับมาทยอยเดินทางอีกครั้งในช่วงสิ้นปี

3) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังเป็นตัวหนุนรายได้รวมของบริษัทฯ VRANDA มี Backlogs ณ สิ้นปี 2Q64 ราว 615 ล้านบาท และโครงการเหลือขายอีกราว 360 ล้านบาท คาดจะรับรู้รายได้ทั้งหมดภายในปี 2565 นอกจากนี้ บริษัทฯจะชำระหนี้คืนของโครงการ Veranda Residence หัวหินครบ 100% ภายใน 3Q64 ทำให้การรับรู้รายได้จาก ธุรกิจอสังหาฯเป็นกระแสเงินสดเยอะขึ้น เป็นอีกแรงหนุนสำคัญในช่วงที่รอการฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรม

คงคำแนะนำ “ซื้อ” อิงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2564 เท่ากับ 8.20 บาท

เราปรับลดประมาณการปี 2564/65 ลงเป็นขาดทุน 84 ล้านบาท และกำไรปกติ 61 ล้านบาท จากประมานการเดิมท่ีขาดทุน 39 ล้านบาท และกำไร 67 ล้านบาทตามลำดับ เนื่องจากผลกระทบของการระบาดในประเทศท่ียาวนาน แต่ยังคงคำแนะนำ ซื้อ และราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 64 เท่าเดิม ที่ราคา 8.20 บาทต่อหุ้น เราปรับเพิ่มค่าเฉลี่ย EV/EBITDA ย้อนหลัง 5 ปี ของกลุ่มโรงแรมขนาดใหญ่เป็น 12x (จากเดิม 11x) ใช้ EBITDA ปี 2565 ท่ี 435 ล้านบาท และ Discount ด้วย Ke เดิมท่ี 11.5% แม้ผลประกอบการระยะสั้นยังไม่สดใสอีกระยะ แต่การฟื้นตัวท่ีแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมท่องเท่ียวไทยจาก Pend up Demand เป็นปัจจัยท่ีเรายังให้น้ำหนักมากกว่าผลประกอบการระยะสั้น ขณะท่ีปัจจุบันหุ้นกลุ่มโรงแรมขนาดใหญ่ท่ีมีสัดส่วนโรงแรมในต่างประเทศสูง ปรับขึ้นไปซื้อขายที่ระดับ +1.0SD แล้ว

ความเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ 1) สถานการณ์การระบาดที่อาจยืดเยื้อกว่าคาด และ 2) การเปิดประเทศที่ล่าช้า

- Advertisement -