ตลาดหุ้นวานน้ี:

SET Index ยังคงอยู่ในช่วงแกว่งตัว Sideways ตามคาด โดยปิดลบ 6.05 จุด จากแรงหุ้นขนาดใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน ธนาคาร เป็นต้น สถาบันในประเทศยังซื้อสุทธิในตลาดหุ้นต่อเนื่องอีก 85 ลบ. แต่นักลงทุนต่างชาติพลิกมาขายสุทธิ 889 ลบ. (สถานะใน Index Future รายกลุ่มไม่มีนัยยะ)

แนวโน้มตลาดวันนี้:

เราประเมิน SET Index ยังแกว่ง Sideways to Sideways Down โดยมีแนวรับสำคัญ 1,620 จุด กลุ่มพลังงานเริ่มขาดปัจจัยบวก หลังราคาน้ำมันดิบเริ่มอ่อนตัวลง ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้ คือการประชุม FED ที่จะมีการส่งสัญญาณลดขนาด QE ส่งผลให้ Dollar Index ยังแกว่งตัวแข็งค่ากดดันค่าเงินบาทอ่อน และโอกาสที่ Fund Flow ยังไหลออก ส่วนปัจจัยในประเทศให้ติดตามความชัดเจนแผนการทยอยเปิดเมืองในเดือน ต.ค. โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ ระยะสั้นเรามองเป็นบวกต่อกลุ่มส่งออกน่าสนใจจากค่าเงินบาทที่อ่อน ประกอบกับราคาหุ้นปรับฐานในช่วงกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ Upside น่าสนใจขึ้น ส่วนระยะกลาง-ยาว ยังมองจังหวัดพักตัวของดัชนีเป็น โอกาส “ทยอยสะสม” โดยยังเน้นกลุ่ม Domestic และ Reopening Play ได้แก่ ธนาคาร โรงกลั่น ไฟแนนซ์ ค้าปลีก อาหาร ท่องเที่ยว ที่จะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจไทย

กลยุทธ์: เน้นเก็งกำไรหุ้นเป็นรายตัว และสะสมหุ้นกลับในช่วงตลาดพักตัวบริเวณ 1,620//1,600 จุด

หุ้นเด่นเดือนก.ย.: BDMS,CPALL,CRC,M,TACC

หุ้นเด่นวันนี้: SPALI

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายจาก FSSIA 26 บาท
  • การคลาย Lockdown ช่วยกระตุ้น Demand และอู้ต่อการเปิดโครงการใหม่ ขณะที่แนวโน้มกำไร 3Q21 คาดเร่งตัวขึ้นทั้ง Q-Q และ Y-Y จากการรับรู้คอนโดที่ต่อเนื่องจาก 2Q21 และมีการสร้างเพิ่มอีก 1 แห่ง
  • ปัจจุบัน Backlog แข็งแกร่ง 3.6 หมื่นลบ.รับถึงปี 2024 ปัจจุบันราคาหุ้นเทรดที่ PE ต่ำมากเพียง 6.7 เท่า และให้ Dividend Yield 6% ขณะที่ผู้บริหารยังคงซื้อหุ้นเพิ่มอย่างต่อเนื่องเป็นจิตวิทยาเชิงบวก
  • แนวรับ 20.40//20.80 บาท แนวต้าน 21.50//22 บาท

FundFlow: เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนพลิกมาไหลเข้าภูมิภาคบางๆ US$168 ล้าน นำโดยไต้หวันและเกาหลีใต้ ประเทศละ US$121-123 ล้าน ส่วนตลาดอาเชี่ยนค่อนไปในทิศทางไหลออกนำโดยเวียดนามและไทย มีเพียงอินโดนิเซียที่ไหลเข้า แนวโน้มของกระแสเงินทุนถ้าจะค่อนไปในฝั่งไหลออก จากการประชุม FED สัปดาห์นี้ที่คาดส่ง สัญญาณลด QE ชัดเจนครึ่ง หนุน Dollar Index แข็งค่า

ประเด็นสำคัญวันนี้

(0) ไฮไลท์สัปดาห์นี้อยู่ที่ FED โดยจะประชุมวันที่ 21-22ก.ย. ว่าจะมีการประกาศแผนการลดขนาด QE เลยหรือไม่อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการประกาศในครั้งนี้ แต่ในการประชุมเดือน พ.ย. คาดว่าจะเริ่มลด QE อย่างแน่นอน ซึ่งคาดว่าจะทยอยลดลดคราวละ US$1-2 หมื่นล้านในทุกๆเดือน ซึ่งทำให้ Dollar Index จะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องกดดันสกุลเงินเอเชีย และ Fund Flow ให้ไหลออก ค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็นบวกต่อกลุ่มส่งออก ทั้งอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อาหาร เรือ เราชอบ KCE SMT TU SAPPE TTA SONIC

(+) IVL เราคาดกำไรปกติ 2H21 จะเติบโตแข็งแกร่ง H-H เบื้องต้นคาดที่ 1-1.1 หมื่น ลบ. จาก Margin ของ PET-PTA ในยุโรปและอเมริกาที่แข็งแกร่ง และเอเชียที่ดีขึ้น รวมถึง Margin ของกลุ่ม IOD ส่วนพายุเฮอร์ริเคน IDA ไม่ส่งผลกระทบต่อ IVL อย่างมีนัยยะ และพยากรณ์ระบุว่าพายุลูกถัดๆ ไป จะไม่รุนแรงเท่า รอบปรับเพิ่มกำไรปกติปี 2021- 2022 ขึ้นเป็น +256%Y-Y และ 14%Y-Y โดยรวม Oxiteno เข้ามาในปี 2022 เป็นต้นไป Margin ของปิโตรเคมทีดี่ขึ้น พน้อมปรับเพิ่มราคาเป้าหมายปี 2022 เป็น 62 บาท แนะนำ “ซื้อ” (Source: FSSIA)

(+) KSL ประชุมนักวิเคราะห์โทนบวกจากผลผลิตน้ำตาลของบราซิล ที่ลดลงต่ำกว่าคาด เพราะความแปรปรวนของอากาศทำให้ภาวะน้ำตาลโลกปี 2021/2022 จะขาดดุลเป็นปีท่ี 3 ติดต่อกัน แต่ราคาน้ำตาลได้รับรู้ประเด็นบวกดังกล่าวแล้ว เพราะ +34%YTD แต่เชื่อว่าหลังจากนี้น่าจะยังทรงตัวสูงในกรอบ 17.50-19.50 เซนต์ต่อปอนด์ จาก 3 เหตุผลคือ Demand กลับมาฟื้นตัวหลัง COVID-19 คลี่คลาย การส่งออกน้ำตาลของอินเดียมีแนวโน้มลดลง และยังต้องติดตามผลผลิตอ้อยไทย อาจฟื้นตัวน้อยกว่าที่คาด เราคาดกำไรสุทธปี 2022 จะแตะ 1 พันลบ.ครั้งแรกในรอบ 5 ปี ยังคงราคาเป้าหมายปี 2022 ที่ 4.70 บาท แนะนำ “เก็งกำไร”

(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 166.44 จุด หรือ 0.48% ปิดที่ 34,584.88 จุด หลังเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทรงตัว ในช่วงครึ่งแรกของเดือนก.ย. โดยปรับขึ้นเป็น 71 จาก 70.3 ในเดือนส.ค. ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดท่ี 72 รวมถึงกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับการเสนอปรับขึ้นภาษีนิติบุคคลในสหรัฐ จากปัจจุบันที่ระดับ 21% เป็น 26.5% รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับขึ้น

(-) ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ จากการปรับลงของหุ้นกลุ่มเมืองแร่ อย่างไรก็ดี บรรเทาด้วยการปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มเดินทางและสันทนาการ หลังอังกฤษเปิดเผยว่าจะผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการเดินทางทางอากาศ

(-) ตลาดเอเชียปรับลง ท่ามกลางหลายตลาดหุ้นปิดทำการ ทั้งตลาดหุ้นญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, จีน

(0) ค่าเงินบาทแกว่งในกรอบแคบ ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 33.34บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 64 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 71.97 ดอลลาร์/บารเ์รลจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ รวมถึงการฟื้นตัวของการผลิตน้ำมันดิบในเอาเม็กซิโก หลังได้รับผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคนไอดา

(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 5.3 ดอลลาร์ หรือ 0.3% ปิดที่ 1,751.4 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1,001.66 / +1.74

- Advertisement -