บล.กรุงศรีฯ:

จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่, ผู้ป่วย และการตรวจโควิด-19 ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วและมีแนวโน้มลดลง สะท้อนว่ากำไร BCH และ CHG ใน 3Q21F จะแข็งแกร่งและลดลงใน 4Q21F และในปี FY22F  คาดว่าโควิด-19จะควบคุมได้และกลายเป็นโรคประจำถิ่น เราคาดว่าการเดินทางโดยไม่กักตัวจะเริ่มภายใน 1Q22 ซึ่งจะช่วยปลดล็อคอุปสงค์คงค้างของผู้ป่วยชาวต่างชาติและเพิ่มกำไร BH และ BDMS ซึ่งเราเลือก เป็นหุ้นเด่น

จากโรคระบาดเป็นโรคประจำถิ่น

จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่, ผู้ป่วย และการตรวจโควิด-19 ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วและมีแนวโน้มลดลง (Fig 1-7) ศูนย์วิจัยกรุงศรีคาดจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันจะลดลงต่ำกว่า 5,000 ภายในธ.ค. การระบาดของโควิด-19 คาดจะควบคุมได้ภายใน 12 เดือนข้างหน้า โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น และวัคซีนบูสเตอร์จะเป็นสิ่งจำเป็นทุกหกเดือน รายได้จากการให้บริการโควิด-19 จะชะลอตัวลง รพ.สนามบางแห่ง (บุษราคัมและนิมิบุตร) กำลังจะปิด และรพ.ได้หยุดการเพิ่มจำนวนห้องผู้ป่วยโควิดและ hospitel แต่ยังไม่มีสัญญาณการลดจำนวนห้องลง ดังนั้นกำไร BCH และ CHG จะเติบโตก้าวกระโดด qoq และ yoy และจะสูงสุดใน 3Q21F และลดลงใน 4Q21F และปี FY22F และจะเติบโตปกติหลังจากนั้น

การเปิดประเทศจะปลดล็อคอุปสงค์คงค้างของผู้ป่วยชาวต่างชาติ

การฉีดวัคซีนทั่วประเทศ 52% (37.2 ล้านคน) ของจำนวนประชากร โดยมีแผนการฉีดกว่า 1 ล้านโดสต่อวันใน 4Q ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้รับวัคซีนครบโดสถึงระดับ 70% ในปลายธ.ค. ซึ่งจะมีวัคซีนใน 4Q เพียงพอสำหรับการฉีด 23-30 ล้านโดสต่อเดือน เราคาดว่าการเดินทางโดยไม่กักตัวใน 1Q22 ซึ่งจะปลดล็อคอุปสงค์คงค้างผู้ป่วยชาวต่างชาติ  BH และ BDMS เป็นผู้ได้ประโยชน์หลัก ซึ่งมีสัดส่วนรายได้ผู้ป่วยชาวต่างชาติ 60% และ 30% ของรายได้ทังหมดก่อนโควิดตามลำดับ ในระยะสั้น ทั้งสองรพ.จะมีรายได้ให้บริการโควิดเพิ่มขึ้น hoh ใน 2H จากฐานต่ำใน 1H (Fig 9) กำไรของรพ.จะฟื้นตัวใน 3Q21F, 4Q21F และ FY22F

กลยุทธ์หลังโควิด

BCH วางแผน i) เพิ่มจำนวนผู้ป่วยประกันสังคมและเงินสดโดยใช้ฐานข้อมูลผู้รับบริการวัคซีน 1.5ล้านรายจากรพ.ในเครือ; ii) ประหยัดต้นทุน – สร้างห้องแลปภายในกลุ่มรพ., ใช้การซื้อแบบรวมศูนย์และเพิ่มประสิทธิการทำงาน; iii) ขายน้ำวิตามิน, อุปกรณ์และเวชภัณฑ์การแพทย์; iv) ขยายรพ. (สุวรรณเขต ในลาว) และศูนย์มะเร็ง; และ v) หาผู้ป่วยชาวต่างชาติจากการติดต่อโดยตรงกับสถานฑูต

CHG จะรับจ้างบริหารโรงพยาบาลและศูนย์โรคเฉพาะทางให้รพ.รัฐบาล/เอกชน ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากแผนการเพิ่มประสิทธิภาพด้านสาธารณสุขใน EEC ส่วน BH เน้นที่ผู้ป่วยชาวต่างชาติและผู้ป่วยLong Covid, การดูแลสุขภาพ (preventive care) และขยายศูนย์โรคเฉพาะทาง กับรพ.พันธมิตร ส่วน

BDMS เน้นไปที่ผู้ป่วยชาวต่างชาติและการดูแลสุขภาพ และขยายร้านขายยา Save Drug ในรพ.ในเครือ

- Advertisement -