- CPF จะใช้เงินราว 3 หมื่นล้านบาทเพื่อซื้อหุ้น CPP (ณ 2Q64 CPF มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดราว 4.3 หมื่นล้านบาท) จากผู้ถือหุ้นในสัดส่วน 25.26% ของ CPP จากเดิมที่ถือ 49.74% ซึ่งภายหลังธุรกรรมเสร็จสิ้น CPF จะมีสัดส่วนการถือหุ้นใน CPP 75% (ITOCHU ถืออีก 25%) และจะทำการ Delist หุ้น CPP ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง
- แจ้งเตือนความเสี่ยงจากการลดลงของกำไรของ CPP เนื่องจากราคาหมูในจีน และเวียดนามอ่อนตัวลง ซึ่งนอกจากจะกระทบต่อราคาขายแล้ว ยังกระทบในด้านขาดทุนจากการวัดมูลค่าสินทรัพย์ชีวภาพด้วย
- CPF ประกาศโครงการซื้อหุ้นคืน (Treasury Stock) ในวงเงินไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท จำนวน 400 ล้านหุ้น คิดเป็นจำนวนหุ้นซื้อคืน 4.65% ระยะเวลาซื้อหุ้นคืนตั้งแต่ 15 ต.ค. 64 ถึง 14 เม.ย.65
ภาพระยะสั้นยังเป็นลบ แม้จะมีผลบวกจากการซื้อหุ้นคืน
เรามองเป็นลบต่อการแจ้งเตือนความเสี่ยงจากการลดลงของกำไรของ CPP เนื่องจาก CPF มีสัดส่วนการถือหุ้น 52.25% ใน CPP ทั้งทางตรงและทางอ้อม และสัดส่วนรายได้จาก CPP คิดเป็นเกือบ 30% ของรายได้รวม กำไรของ CPP ที่จะอ่อนตัวลงจะกระทบผลประกอบการ 3Q64 และอาจต่อเนื่องไปถึง 4Q64 หากราคาหมูในจีนและเวียดนามยังไม่ฟื้นตัว ขณะที่ประเด็นการเพิ่ม สัดส่วนการลงทุนใน CPP เรามองเป็นกลาง เนื่องจากการผลประกอบการปัจจุบันของ CPP ยังอยู่ในช่วงอ่อนตัว แต่ภายหลังการนำหุ้น CTI (ธุรกิจหมูในจีนซึ่ง CPP ถือหุ้น 35%) เข้า IPO อาจได้รับประโยชน์จากการวัดมูลค่าหุ้นได้ ด้านการซื้อหุ้นคืนของ CPF แม้ว่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยประคองราคาหุ้น แต่เรามองว่ากำไรของ CPP ที่อ่อนตัว มีน้ำหนักมากกว่า
ยังมีปัจจัยกดดันระยะสั้น
เราให้ราคาเป้าหมาย 33 บาท ด้วย Upside ปัจจุบันจึงยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” สำหรับการลงทุนระยะยาว แต่ผลประกอบการในครึ่งปีหลังที่มีโอกาสอ่อนตัวตามแนวโน้มราคาหมูในจีน และเวียดนามยังเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาหุ้น