บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):

SVI PCL ประมาณการ 3Q64: กำไรจากธุรกิจหลักจะลดลง YoY แต่เพิ่มขึ้น QoQ

Event

เราคาดว่ากำไรจากธุรกิจหลักของ SVI ใน 3Q64 จะอยู่ที่ 165 ล้านบาท (-9% YoY, +10% QoQ) ส่งผลให้กำไรจากธุรกิจหลักในงวด 9M64 อยู่ที่ 436 ล้านบาท (เพิ่มข้ึน 6%YoY) และคิดเป็น 77% ของประมาณการกำ ไรปีน้ีของเรา โดยกำไรที่ลดลง YoY จะเป็นเพราะยอดขายลดลง และค่าใช้จ่าย SG&A เพิ่มข้ึน ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าอัตรากำไรขั้นต้นท่ีเพิ่มข้ึนเพราะเงินบาทอ่อนค่าลง ในขณะเดียวกันกำไรที่เพิ่มข้ึน QoQ จะเป็นเพราะยอดขายฟื้นตัวข้ึนและอัตรากำไรท่ีเพิ่มข้ึนจากการอ่อนค่าของเงินบาท

Impact

ปัญหาการขาดแคนวัตถุดิบคลี่คลายลงทำให้ยอดขายฟื้นตัว

เราคาดยอดขายใน 3Q64 อยู่ที่ 4.2 พันล้านบาท (ทรงตัว YoY, +10% QoQ) แต่หากไม่รวมผลจากอัตราแลกเปลี่ยน ยอดขายใน 3Q64 จะอยู่ที่ 128 ล้านดอลลาร์ฯ (-5% YoY, +4% QoQ) ส่งผลให้ยอดขายใน งวด 9M64 อยู่ที่ 365 ล้านดอลลาร์ฯ (-1%YoY) และคิดเป็น 67% ของประมาณการกำไรปีน้ี เราคาดว่าอุปสงค์จะยัง คงแข็งแกร่งต่อเนื่อง ในขณะท่ีการปรับตัวของอุปสงค์-อุปทานจะทำให้ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบคลี่คลายลงไปเล็กน้อย

อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ท่ี 8.6%

เราคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นใน 3Q64 จะอยู่ที่ 8.6 (+0.3ppts YoY, +0.6ppts QoQ) เนื่องจากเงินบาทอ่อนค่าลง ทั้งนี้อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยใน 3Q64 จะอยู่ที่ 32.90 บาท/US$ จาก 31.30 บาท/US$ ใน 3Q63 และ 31.20 บาท/US$ ใน 2Q64 ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นใน 9M64 อยู่ที่ 8.3% (ลดลง 0.2ppts YoY) ซึ่งยังต่ำ กว่าสมมติฐานในปัจจุบันของเราที่ 8.5% อยู่เล็กน้อย

สัดส่วน SG&A ต่อยอดขายกลับมาอยู่ในระดับปกติ

เราคาดว่าค่าใช้จ่าย SG&A จะอยู่ที่ 185 ล้านบาท (+20% YoY, +17% QoQ) คิดเป็นสัดส่วน SG&A ต่อ ยอดขายที่ 4.4% (จาก 3.7% ใน 3Q63 และ 4.1% ใน 2Q64) ส่งผลให้สัดส่วน SG&A ต่อยอดขายในงวด 9M64 อยู่ที่ 4.3% (ทรงตัว YoY)

Valuation & action

ประมาณการของเราสะท้อนแนวโน้มอุปสงค์ที่แข็งแกร่งไปเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่การคลี่คลายของปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตาต่อไป ดังนั้นเราจึงยังคงคำแนะนำ “ถือ” และประเมินราคาเป้าหมายสิ้นปี 2565 ที่ 5.50 บาท อิงจาก PER เท่าเดิมที่ 17.0x (ค่าเฉลี่ยในอดีตของ Hana Microelectronics (HANA.BK/ HANA TB) +1.0 S.D.)
Risks
ภัยธรรมชาติ, มีการปิดโรงงานนอกแผน, ลูกค้าเปลี่ยนไปสั่งสินค้าจาก supplier รายอื่น, ขาดแคลนวัตถุดิบ, เงินบาทแข็งค่าข้ึน (เราใช้สมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยนปี 2564-65 ที่ 31.50 บาท/ดอลลาร์ฯ), และความล่าช้าในกระบวนการทดสอบผลิตภัณฑ์
- Advertisement -