ปัจจัยต่างประเทศ: เริ่มเข้าสู่ earning season 3Q21 ทั้งนี้ข้อมูลจาก FactSet พบว่านักวิเคราะห์คาด earnings growth ใน 3Q21 จะเติบโตสูง 27.6% YoY แต่หากดูจากสถิติ 5 ปีที่ผ่านมาที่ผลประกอบการจริงที่ออกมาจะสูงกว่าคาดเฉลี่ย 8.4% ซึ่งถ้าผลประกอบการไตรมาสสามรอบนี้ที่ออกมาจริงดีกว่าคาดประมาณค่าเฉลี่ยในอดีตจะส่งผลให้ earnings growth เติบโตสูงกว่า 30% YoY เป็นไตรมาสที่สามติดต่อกันและจะช่วยสร้าง momentum บวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าติดตามต่อคือ Guidance ของเหล่าบริษัทที่รายงานผลประกอบการว่าจะมีมุมมองต่อประเด็น supply disruption จะกระทบรายได้และกำไรของบริษัทในระยะข้างหน้ามากน้อยขนาดไหน โดยสัปดาห์นี้จะเริ่มทยอยประกาศผลประกอบการกลุ่มการเงินอย่าง J.P. Morgan ที่มีกำหนดรายงานในวันพุธนี้ ส่วน Goldman, Bank of America, Morgan Stanley และ Wells Fargo ต่างรายงานผลประกอบการในสัปดาห์นี้เช่นกัน ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจะเริ่มทยอยประกาศในสัปดาห์หน้าไปจนถึงสิ้นเดือน ต.ค. ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่เงินเฟ้อสหรัฐฯ (CPI) รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจจีนสำคัญอย่างตัวเลขนำเข้า-ส่งออก, การเติบโตของสินเชื่อและปริมาณ M2 ในระบบการเงิน เพื่อประเมินว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวรุนแรงแค่ไหน หากชะลอตัวแรงอาจส่งผลกดดันภาพการเติบโตเศรษฐกิจโลกและบรรยากาศการลงทุน
ปัจจัยภายในประเทศ: สถาณการณ์โควิดภายในประเทศโดยรวมยังถือว่ามีทิศทางดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะพบผู้ป่วย ATK เพิ่มขึ้นก็ตาม ทั้งนี้รัฐบาลมีแนวโน้มเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. จากเดิมจะเปิด 5 จังหวัดนำร่องซึ่งถือว่าเร็วกว่าแผนเดิมที่วางไว้ โดยล่าสุดนายกรัฐมนตรีแถลง “เปิดรับท่องเที่ยวโดยไม่ต้องกักตัว” โดยระบุว่า ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศที่เป็นนักท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย ต่างค่อยๆ เริ่มอนุญาตให้ประชาชนเดินทางได้โดยไม่มีเงื่อนไขที่ยุ่งยากมากมาย อย่างเช่น อังกฤษ ที่เพิ่งอนุญาตให้ประชาชนเดินทางมาไทยได้โดยไม่ยุ่งยาก หรืออย่าง สิงคโปร์ และออสเตรเลียเริ่มผ่อนคลายเงื่อนไข ในการเดินทางไปต่างประเทศของประชาชน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลท่องเที่ยววันหยุดสิ้นปี ใน 3 เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ ภายในวันที่ 1 ธ.ค. จะพิจารณาอนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารได้ และจะพิจารณาอนุญาตให้สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสถานบันเทิงเปิดให้บริการได้ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุขที่เหมาะสม ประเด็นดังกล่าวช่วยสนับสนุน sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่ม domestic โดยเราแบ่งกลุ่มหุ้นแนะนำตาม theme ดังต่อไปนี้ 1) reopening theme: BBL, CPALL, CPN, AOT, AWC, SPRC, AMATA 2) earnings momentum play: ASK 3) Safe bet from M&A deal between DTAC and TRUE: DIF 4) Contractor play: CK
มุมมองตลาดหุ้น วันนี้คาด 1640-1650 หุ้นแนะนำ ERW, CPN
1) ERW (ราคาพื้นฐาน 3.25 บาท) เราคาดว่าจะได้ประโยชน์จากการเปิดเมืองและสถาณการณ์โควิดที่ดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรงแรมในกทม. ที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าในต่างจังหวัด 2) CPN (ราคาพื้นฐาน 58.50 บาท) เป็นอีกหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการคลายล็อกดาวน์ เราเห็นจำนวนลูกค้าที่เริ่มฟื้นตัวแข็งแกร่งในห้างต่างๆของ CPN รวมถึง sentiment บวกต่อเนื่องที่ภาครัฐจะเปิดประเทศ 1 พ.ย.นี้
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
วันพุธ ติดตาม ตัวเลขส่งออก และนำเข้าของจีนเดือน ก.ย. คาด +21.5% YoY และ +19.2% YoY ตามลำดับ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนเดือน ส.ค. คาด -1.6% MoM ตัวเลข Inflation ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด +0.3% MoM และ +5.3% YoY ส่วน Core inflation ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด +0.3% MoM และ +4% YoY และ FOMC minutes
วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลข Inflation ของจีนเดือน ก.ย. คาด +0.3% MoM และ +0.9% YoY ตัวเลข PPI ของจีนเดือน ก.ย. คาด +10.5% YoY ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯรายสัปดาห์คาด 3.25 แสนคน ตัวเลข PPI ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด +0.6% MoM และ +8.7% YoY และถ้อยแถลงของ Fed Barkin
วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข Loan growth ของจีนเดือน ก.ย. คาด +12.1% YoY ปริมาณเงิน M2 ของจีนเดือน ก.ย. คาด +8.1% YoY ตัวเลข Retail sales ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด -0.2% MoM ตัวเลข Import price ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด +0.6% MoM และ +9.5% YoY และตัวเลข Michigan Consumer Sentiment prel Oct ของสหรัฐฯ คาด +1.4% MoM เป็น 73.8 จุด และถ้อยแถลงของ Fed Williams