บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง:
Bangkok Exp & Metro (BEM) ราคาหุ้นต่ำกว่าก่อนการแพร่ระบาด 19%
Results Preview
ประเด็นการลงทุน
เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” BEM ที่ราคาเหมาะสม 11.62 บาท/หุ้น อิง SOTP-DCF basis ด้วยกลยุทธ์ DCA ตามเดิม โดยแนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 3/64 คาดจะเป็นจุดต่ำสุดของวิกฤติตามที่มองไว้ครั้งก่อน โดยกิจกรรมการเดินทางในกทม.ยังคงรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวได้ดีต่อจากเดือน ก.ย. โดย COVID-19 Mobility Trends Report โดย Apple ชี้ว่ากิจกรรมเดินทางด้วยรถในกทม.ยังคงฟื้นตัว +23.3% ต่อจากสิ้นไตรมาส 3/64 ดังนั้นเมื่อผนวกกับแนวนโยบายเปิดเมืองกทม.ทำให้เราเช่ือว่าจะเห็นการฟื้นตัวที่เด่นชัดมากในไตรมาส 4/64 ยิ่งไปกว่านั้นราคาหุ้น BEM ยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนแพร่ระบาดถึง 19% (10 ม.ค.63) ขณะท่ีหุ้นเปิดเมืองส่วนใหญ่กลับไปอยู่ในจุดเดิมแล้ว
ไตรมาส 3/64 คือ จุดต่ำสุดแล้วฟื้นตัวเด่นในไตรมาส 4/64
เราคาดว่า BEM จะรายงานกำไรสุทธิ 33 ลบ.หดตัว -83.4%QoQ และ -96.0%YoY เป็นจุดต่ำสุดของวิกฤติ COVID-19 ของประเทศตามที่มองไว้ ซึ่งในไตรมาสนี้ กทม.ได้รับผลกระทบสูงสุดของการแพร่ระบาด มีการล็อคดาวน์การเคลื่อนที่เกือบทั้งไตรมาส โดยมีการเริ่มผ่อนคลาย 29 จังหวัดสีแดงเข้มในวันท่ี 1 ก.ย. ส่งผลให้ปริมาณรถบนทางด่วนเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นทันที +32.0% MoM และ +60.5% MoM สำหรับจำนวนผู้ใช้รถไฟฟ้า ซึ่งแม้จะไม่เพียงพอต่อการมีกำไรจากการดำเนินงานให้บริการ แต่การรับเงินปันผลจาก TTW ราว 200 ลบ. ระหว่างไตรมาสก็พาให้ BEM ยังคงรักษาสถานะการมีกำไรสุทธิได้ ก่อนที่จะมุ่งหน้าฟื้นตัวต่อในไตรมาส 4/64 จาก (1) ระดับของผ่อนคลายเพิ่มเติมมากขึ้น (2) การเริ่มเปิดเทอมในบางพื้นท่ี และ (3) การเปิดรับนักท่องเที่ยวมายังกทม. ซึ่งจะทำให้สนามบินสุวรรณภูมิจะมีผู้ใช้มากขึ้น ส่งผลดีต่อทางด่วน Sector D ซึ่งส่งผลต่อปริมาณรถในภาพรวมของ BEM ราว 16% ในสภาวะปกติ
คงกลยุทธ์ ทยอยสะสมซื้อแบบ DCA
เราคาดว่าปริมาณการใช้ทางด่วน และรถไฟฟ้า จะทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ทำให้การสะสมซื้อแบบ DCA จะเป็นแนวทางที่ดีสำหรับการลงทุน โดยในปี 2565 เราคาดจะเห็นการฟื้นตัวของกำไร +160.2% YoY เป็น 2.6 พันลบ. และจะไปทำสถิติใหม่ในปี 2566 ที่ 3.4 พันลบ. เติบโต 29.6%YoY ซึ่งจะทำให้ P/E จะลดลงอย่างรวดเร็วจาก 137.4 เท่าปีนี้ไปสู่ 40.7 เท่าในปี 2566
ความเสี่ยง คือ การแพร่ระบาดซ้ำอีกรอบ
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันจำนวนประชากรท่ีได้รับวัคซีน 2 โดสขึ้นไปของไทย มีเพียง 23.1 ล้านคน หรือ 33.0% ( ณ 11 ต.ค. 2564) ทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดยังทำไม่ได้สมบูรณ์นัก ดังนั้นความเสี่ยงในการแพร่ระบาดซ้ำยังคงมีอยู่ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญของการฟื้นตัวในปี 2565