บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

บมจ. เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV) “ปรับแผน เพื่อความอยู่รอด”

เพิ่มทุน 8,000 ล้านหุ้น ที่ราคา 1.75 บาท

AAV เดิมมีแผนปรับโครงสร้างโดยจะนำ TAA เข้าจดทะเบียนแทน อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจํากัดด้านระยะเวลาและความต้องการทางการเงินที่ต้องการความรวดเร็ว ทำให้มีแผนในการจัดหาเงินทุนใหม่ โดยการเพิ่มทุนจำนวน 8,000 ล้านหุ้นที่ราคา 1.75 บาท จัดสรรให้กับ 1. นักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง 5,029 ล้านหุ้น (ส่วนใหญ่เป็น AAA บริษัทย่อยของ Arasia Berhad Group ที่จะมาถึง AAV แทน TAA) 2. สํารองสำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวน 1,257 ล้านหุ้น (มูลค่าหุ้นประมาณ 2,200 ล้านบาท มีอัตราแปลงสภาพ 0.00175 หน่วย: 1 หุ้นสามัญ)) 3. ผู้ถือหุ้นเดิม 3,000 ล้านหุ้นโดยมีอัตราส่วน 5.7625 หุ้นเดิม: 1หุ้นใหม่ เงินที่ได้ทั้งหมด 14,000 ลบ. AAV จะใช้สำหรับการซื้อหุ้น TAA ที่เหลือเพื่อให้มีสัดส่วนการถือหุ้น 100% (ใช้เงินรวมประมาณ 7,800 ลบ. มีทั้งส่วนหุ้นเพิ่มทุน TAA และหุ้น TAA จากผู้ถือหุ้นอื่น) โดยกระบวนการเพิ่มทุนขั้นตอน 1-2 คาดว่าจะจบในเดือน ธ.ค. ส่วน 3 คาดว่าจะสิ้นสุดในช่วงกลางเดือน ม.ค. ทั้งนี้ผลกระทบที่จะเกิดกับผู้ถือหุ้นเดิม คือ ราคาหุ้นในกระดานจะถูกไดลูทประมาณ 6% ขณะที่ในแง่งบการเงิน หากในอนาคตผลประกอบการพลิกมามีกำไรสุทธิจะทำให้ผู้ถือหุ้นได้ทั้งหมดไม่ถูกหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยออกไป แต่ในทางกลับกันถ้าหากผลประกอบการขาดทุนจะต้องรับมาทั้งหมดเช่นกัน

ได้เงินมาเตรียมความพร้อมในช่วงที่ใกล้เปิดเมือง

การตัดสินใจเปลี่ยนแผนดังกล่าวเนื่องจากทาง AAV มองว่ากระบวนการนำ TAA เข้าจดทะเบียนใช้เวลาค่อนข้างนานอาจจะไม่ทันกับความต้องการเงินทุนเพื่อใช้ในช่วงที่ธุรกิจการบินเริ่มมีความต้องการกลับเข้ามา หลังภาครัฐฯ ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด โดยเฉพาะในเดือน พ.ย. ที่เตรียมรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศและคนไทยเข้ามาโดยไม่ต้องกักตัว ซึ่งทาง AAV มองว่าเส้นทางบินในประเทศจะเห็นการฟื้นตัวได้เร็วกว่าคาดว่าปี 22 จะกลับสู่ระดับเดียวกับก่อนเกิดโควิด ส่วนเส้นทางบินระหว่างประเทศต้องรอติดตามถึงมาตรการของประเทศปลายทางว่าจะยกเลิกการกักตัวเมื่อใด จึงจะทำให้เส้นทางบินระหว่างประเทศกลับสู่ภาวะปกติ (คาดว่าเป็นปี 23)

คาด 3Q21 ขาดทุนต่อ หลังถูกห้ามบิน

แนวโน้มช่วง 3Q21 คาดว่าจะขาดทุนต่อเนื่องในระดับที่สูงกว่า 1,000 ลบ. (ไม่รวมรายการพิเศษ) เพราะมีช่วงที่ต้องหยุดบินในประเทศในเดือน ก.ค.-ส.ค. ก่อนกลับมาเริ่มบินในเดือน ก.ย. ขณะที่ในช่วง 4Q21 แม้ว่าการบินจะเริ่มฟื้นขึ้นมา แต่คาดว่าจะยังขาดทุนเพราะยังไม่มีเส้นทางบินระหว่างประเทศเข้ามา ดังนั้นเราจึงปรับขาดทุนในปี 21 ขึ้นเป็น 4,863 ลบ. จาก 3,041 ลบ.

สำหรับคำแนะนำการลงทุนด้วยผลประกอบการที่ยังขาดทุน เราจึงแนะนำเพียง “ถือ” ไปก่อน โดยประเมินมูลค่าเหมาะสมได้ที่ 2.2 บาท (1XPBV21E) แต่ระยะสั้นสามารถเก็งกำไรได้จากประเด็นการเปิดประเทศ ที่คาดว่า AAV จะได้รับผลดีมากสุดจากการเป็นผู้นำเส้นทางบินในประเทศ

- Advertisement -