บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

ราคาน้ำมันดิบระดับสูงหนุนทิศทางกำไร 4Q21-2022

การประชุมนักวิเคราะห์สัปดาห์ก่อนให้ภาพเป็นบวก เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่แข็งแกร่งจะเอื้อให้มีราคาขายเฉลี่ยระดับสูง และหนุนทิศทางกำไร 4Q21-2022 เรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยราคาเป้าหมายที่ 146.0 บาท อิงวิธีคำนวณ DCF (WACC 9.4%, TG 2%) สะท้อน 11x PE’22 

  • คาดกำไรปกติ 4Q21 ปรับดีขึ้น YoY และ QoQ ด้วยแรงหนุนจากยอดขาย (+12% YoY, +2% QoQ) และราคาขายเฉลี่ย (ASP) ที่สูงขึ้น (+21% YoY, +3% QoQ)
  • ภาพรวมกำไรปี 2022 เป็นบวกเพราะคาดว่ายอดขายจะโตขึ้น +18% YoY เป็น 486kBOED และ ASP จะโตขึ้น 7% เป็น US$ 45/BOE
  • ยอดขายปี 2022 จะได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากโครงการเอราวัณแปลง G1/61 เพราะปริมาณการผลิตที่ขาดหายไป จะได้รับการชดเชยจากการผลิตในโครงการบงกชและอาทิตย์

Bright 4Q21-2022 earnings outlook

ASP ที่สูงขึ้นจะช่วยหนุนกำไร 4Q21

  • เราคาดว่ากำไรปกติของ PTTEP ใน 4Q21 จะปรับดีขึ้นทั้ง YoY และ QoQ
  • กำไรที่พุ่งสูงขึ้น YoY มีแรงหนุนจากยอดขายที่สูงขึ้น (+12% YoY) จากแปลง Oman Block 61 และ Malaysia Sabah H (เพิ่มเข้ามาใน 1Q21) และจาก ASP ที่พุ่งสูงขึ้น (+21% YoY) ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น
  • ส่วนการเติบโต QoQ จะมีแรงหนุนจากมาจากยอดขาย (+2% QoQ) และ ASP ที่ปรับสูงขึ้น (+3% QoQ) ซึ่งเป็นผลจากปริมาณการรับซื้อ (nomination) จาก PTT ที่ดีขึ้น และราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ตามลำดับ
  • คาดยอดขาย 4Q21 จะอยู่ที่ 425kbd (+12% YoY, +2% QoQ) และมองว่า ASP จะแตะจุดสูงสุดใน 4Q21 US$ 45/BOE (+21% YoY, +3% QoQ) ด้วยแรงขับเคลื่อนจากราคาน้ำมันดิบระดับสูง (ราคาน้ำมันดิบดูไบเดือน ต.ค. 21 อยู่ที่ US$ 82/bbl เทียบใน 3Q21 ที่ US$ 72/bbl)
  • กำไรปี 2022 มีภาพเป็นบวก เพราะคาดว่ายอดขายจะโตขึ้น +18% YoY เป็น 486KBOED และ ASP จะปรับสูงขึ้น 7% YoY เป็น US$ 45/BOE

ยอดขายปี 2022 จะได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากโครงการเอราวัณแปลง G1/61

  • ผู้บริหารชี้แจงว่าอัตราการผลิตจากสัมปทานเอราวัณแปลง G1/61 ออกมาต่ำกว่าที่ระบุในสัญญาที่ 800 MMSCFD และคาดว่าอัตราการผลิตสิ้นปี (exit rate) จะต่ำกว่า 500 MMSCFD
  • PTTEP มีแผนชดเชยการผลิตที่ขาดหายไป 300 MMSCFD ด้วยการเพิ่มการผลิตจากโครงการบงกชขึ้นราวๆ 240 MMSCFD ส่วนที่เหลือจะดึงมาจากโครงการอาทิตย์และพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA)
  • ดังนั้นเราจึงคาดว่าประเด็นดังกล่าวจะกระทบยอดขายของ PTTEP ในปี 2022 ไม่มากและเมื่อเข้าถึงแหล่งเอราวัณได้ (หลัง เม.ย. 2022) บริษัทก็มีแผนค่อยๆ ปรับเพิ่มปริมาณการผลิตเป็น 800 MMSCFD

สรุปผลประกอบการ

  • PTTEP รายงานกำไรสุทธิ 3Q21 ที่ 9.5 พันล้านบาท (+33% YoY, +34% QoQ) สอดคล้องกับคาดการณ์ของเรา
  • หากไม่รวมรายการพิเศษ (FX, ป้องกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน ฯลฯ ) กำไรปกติจะอยู่ที่ 1.10 หมื่นล้านบาท (+79% YoY, -2% QoQ) โดยกำไรปกติ 9M21 คิดเป็น 71% ต่อประมาณการทั้งปีของเรา
  • กำไรที่โตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ YoY มีแรงหนุนจากยอดขายและ ASP ที่สูงขึ้น บวกกับต้นทุนการผลิตที่ลดลง
  • ยอดขายอยู่ที่ 417KBOED (+21% YoY, -6% QoQ) โดยการเติบโต YoY มีสาเหตุผลักมาจากการเข้าครองโครงการ Oman Block 61 และการเริ่มดำเนินงานของ Malaysia Block H ใน 1Q21 ส่วนยอดขายที่หดตัวลง QoQ เป็นผลจากการรับซื้อจาก PTT ที่ลดลง สืบเนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงโรงแยกก๊าซ (GSP)
  • ASP ปรับเพิ่มเป็น US $44.3 / BOE (+14% YoY, +5% QoQ) จากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นมาอยู่ที่ค่าเฉลี่ย US$ 69.2/bbl (+65% YOY, +8% QOQ)
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ปรับดีขึ้นเป็น 46% ใน 2Q21 จาก 45% ใน 1Q21 และ 36% ใน 3Q20 ด้วยแรงหนุนจาก ASP ที่สูงขึ้น

สัดส่วนรายได้

รายได้หลักของ PTTEP มาจากธุรกิจสำรวจและการผลิต (E&P) ซึ่งคิดเป็น 98% ของรายได้ทั้งหมด ที่เหลืออีก 2% มาจากธุรกิจท่อส่งก๊าซและอื่นๆ โดยในส่วนของก๊าซนั้นคิดเป็น 71% ของยอดขายทั้งหมดส่วนน้ำมันคิดเป็น 29%

ขณะที่น้ำมันมีราคาขายที่สูงกว่าก๊าซทำให้รายได้จากธุรกิจก๊าซคิดเป็น 62% ของรายได้ทั้งหมด ส่วนน้ำมันคิดเป็น 38% สำหรับสินค้าจำพวกน้ำมันจะแบ่งเป็นประเภทน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลว (Condensate) คิดเป็นยอดขายจากน้ำมันดิบ 22% ของรายได้ทั้งหม ดและ condensate ที่ 17%

PTTEP ลงทุนทั้งในและต่างประเทศรายได้ราว 80% มาจากไทย 18% จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอีก 2% จากที่อื่นๆ

- Advertisement -