บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

MC คาดการจัดการค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ผลประกอบการใน FY1Q22 ดีขึ้น

เราคาดว่า MC จะรายงานกำไรสุทธิใน FY1Q22E ที่ 40 ล้านบาท (-63% YoY, +128% QoQ) เนื่องจากการบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • เราคาดว่าอัตรากําไรขั้นต้นจะอยู่ที่ 60.5% เมื่อเทียบกับ 60.7% ใน 1Q21 และ 54.5% ใน 4Q21 จากการเติบโตของช่องทางการขายออนไลน์ และสัดส่วนรายได้ในกลุ่ม non-denim เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เรายังคาดว่าค่าใช้จ่ายในการขายบริหารจะลดลง เนื่องจากการปิดร้านค้าชั่วคราวในบางส่วน และการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้น
  • ในขณะเดียวกันเราคาดว่ารายได้ใน FY1Q22E จะอยู่ที่ 517 ล้านบาท (-34% YoY, -3% QoQ) ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์จากการแพร่ระบาดโควิดระลอกใหม่ ทำให้บริษัทฯ ปิดร้านค้าชั่วคราวจำนวน 522 แห่งในช่วงเดือนก.ค.-ส.ค. 21 ส่งผลให้การเติบโตของยอดขายในช่องทางการขายหน้าร้านลดลง 40%
  • เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบการในปี FY22E เป็นต้นไป สนับสนุนจากแผนการเปิดสาขาใหม่อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งการเติบโตในช่องทางการขายออนไลน์และการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งกลุ่ม denim และ non-denim

เราคงคำแนะนำ ซื้อ ที่ราคาเป้าหมาย 13.0 บาท อิง 18.5xPE’22E ซึ่งเทียบเท่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเครื่องแต่งภายในระดับโลก โดยราคาเป้าหมายได้สะท้อนถึงแนวโน้มที่ดีของผลประกอบการและปันผลที่น่าสนใจที่ 7% ในปี FY22-23E

คาดผลประกอบการใน FY1Q22E

  • เราคาดว่า MC จะรายงานกำไรสุทธิใน FY1Q22E ที่ 40 ล้านบาท (-63% YoY, +128% QoQ) เนื่องจากการบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เราคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นใน FY1Q22E จะอยู่ที่ 60.5% เมื่อเทียบกับ 60.7% ใน 1Q21 และ 54.5% ใน 4Q21 จากการเติบโตของช่องทางการขายออนไลน์ และสัดส่วนรายได้กลุ่ม non-denim เพิ่มมากขึ้น
  • นอกจากนี้เรายังคาดว่าค่าใช้จ่ายในการขายบริหารจะลดลงอยู่ที่ 257 ล้านบาท เนื่องจากการปิดร้านชั่วคราวและการบริหารจัดการล้านบาทค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้น
  • ในขณะเดียวกันเราคาดว่ารายได้ใน FY1Q22E จะอยู่ที่ 517 ล้านบาท (-34% YoY, -3% QoQ) ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์จากการแพร่ระบาดโควิดระลอกใหม่ ทำให้บริษัทฯ ปิดร้านค้าชั่วคราวจำนวน 522 แห่งในช่วงเดือน ก.ค. -ส.ค. 21 ส่งผลให้การเติบโตของยอดขายในช่องทางการขายหน้าร้านลดลง 40%

แนวโน้มผลประกอบการใน FY2Q22E

  • เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบการ FY2Q22E เป็นต้นไป สนับสนุนจากการคลายล็อคดาวน์ในบางส่วนและการขยายสาขาจำนวน 22 แห่ง ดังนี้ MC Outlet 15 แห่ง, ร้าน free-standing 4 แห่ง และห้างสรรพสินค้า 3 แห่ง รวมไปถึงการเติบโตอย่างต่อนื่เองในช่องทางการขายออนไลน์

Revenue Breakdown

บริษัทเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายหลากหลายชนิด ทั้งสำหรับทุกเพศทุกวัยภายใต้ชื่อแบรนด์ Mc, U-P, mc mc และ Mc Lady โดยมีช่องทางจัดจำหน่ายที่เป็นแบบออฟไลน์ ได้แก่ :

  • ร้านค้าปลีกของบริษัท: ที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าและส่วนที่เป็นพลาซ่าในห้างสรรพสินค้า (มีสัดส่วนรายได้ 58% ของรายได้รวม)
  • เครือห้างสรรพสินค้า: เซ็นทรัล โรบินสัน และเดอะมอลล์ (คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 23% ของรายได้รวม)
  • ซูเปอร์สโตร์ทั่วประเทศ: บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ และวีสแควร์ (คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 12% ของรายได้รวม)

และนอกจากนี้ บริษัทยังมีช่องทางขายออนไลน์และกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ รวมถึงเว็บไซต์ของตนเอง mcshop.com และช่องทางจำหน่ายในเว็บไซต์ตลาดซื้อขายสินค้า (E-marketplaces) ต่างๆ เช่น Lazada, Shopee, JD, Buzzebees, Zilingo, K-Marketplace และ Shop24 ตลอดจนการขายผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเช่น Facebook หรือ Instagram โดยช่องทางขายออนไลน์คิดเป็นสัดส่วน 12% ของยอดขายทั้งหมด

- Advertisement -