บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

ADVANC: กําไร 3Q21 ตํ่าสุดในรอบมากกว่า 3 ปีตามคาด

ADVANC รายงานกำไรสุทธิ 3Q21 ที่ 6.4 พันล้านบาท (ทรงตัว YoY, -9.5% QoQ) การลดลง QoQ เป็นผลจากต้นทุนด้านคอนเทนต์สำหรับ Disney Plus และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX)

  • รายได้อยู่ที่ 4.24 หมื่นล้านบาท (ทรงตัว YoY และ QoQ) ผลจากรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย (ARPU) โดยรวมที่ทรงตัว QoQ ขณะที่จำนวนผู้ใช้บริการเครือข่ายมือถือทั้งหมดยังคงทรงตัว QoQ และ +7% YoY หรืออยู่ที่ 43.7 ล้านราย
  • ARPU ในกลุ่มรายเดือนแทบจะคงที่ QoQ และเป็นการปรับลดในเชิง QoQ ที่น้อยที่สุดตั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสัดส่วนผู้ใช้บริการ 5G ต่อบริการแบบรายเดือนทั้งหมดที่โตขึ้นเป็น 13.0% จาก 9.6% ใน 2Q21
  • คาดว่ากำไรรายไตรมาสของปีนี้จะแตะจุดสูงสุดใน 4Q21 ด้วยแรงหนุนจากยอดขายมือถือที่มักโตตามฤดูกาลและจำนวนผู้ใช้บริการแบบรายเดือนที่โตต่อเนื่อง
  • โอกาสที่ ARPU ในกลุ่มรายเดือนจะพลิกฟื้นขึ้นจากจำนวนลูกค้า 5G ที่สูงขึ้น บวกกับการเติบโตในกลุ่มบัตรเติมเงินที่ได้แรงหนุนจากการเปิดประเทศในปี 2022 จะเป็น upside ต่อการปรับเพิ่มประมาณการกำไรและราคาเป้าหมาย

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยราคาเป้าหมายที่ 227 บาท อิงวิธี DCF ด้วย 24xPE’22E ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มโทรคมนาคมไทยที่ 22.8xPE’22E อยู่เล็กน้อย คำแนะนำของเราสะท้อนการฟื้นตัวของกำไรในปี 2022 และหลังจากนั้นด้วยแรงหนุนจากการคลายล็อกดาวน์การเปิดประเทศและจำนวนสมาชิก 5G ที่โตขึ้น

สรุปผลประกอบการ 3Q21

  • รายได้อยู่ที่ 4.24 หมื่นล้านบาท (ทรงตัว YoY และ QoQ) เป็นผลจาก ARPU โดยรวมที่ทรงตัว QoQ ขณะที่จำนวนผู้ใช้บริการมือถือทั้งหมดยังคงทรงตัว QoQ และ +7% YoY หรืออยู่ที่ 43.7 ล้านราย
  • ARPU ในกลุ่มรายเดือนลดลงต่อเนื่องจนแตะจุดต่ำสุดที่ 470 บาท (-5.6% YoY, -0.2% QoQ) แต่ก็นับเป็นการปรับลดในเชิง QoQ ที่น้อยที่สุดตั้งแต่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสัดส่วนผู้ใช้บริการ 5G ต่อบริการแบบรายเดือนทั้งหมดที่โตขึ้นเป็น 13.0% จาก 9.6% ใน 2Q21

ภาพรวม 4Q21 และระยะถัดไป

  • เราคาดว่ากำไรรายไตรมาสของปีนี้จะแตะจุดสูงสุดใน 4Q21 ด้วยแรงหนุนจากยอดขายมือถือที่มักโตตามฤดูกาล และจํานวนผู้ใช้บริการแบบรายเดือนที่โตต่อเนื่อง
  • เราคาดว่า ARPU ในกลุ่มรายเดือนมีโอกาสพลิกฟื้นขึ้นในช่วง 2 ไตรมาสข้างหน้า จากจำนวนลูกค้า 5G ที่สูงขึ้น บวกกับการเติบโตในกลุ่มบัตรเติมเงินที่ได้แรงหนุนจากการเปิดประเทศในปี 2022 เหล่านี้จะเป็น upside ต่อการปรับเพิ่มประมาณการกำไร และราคาเป้าหมายของเราในอนาคต

Revenue Breakdown

รายได้ของบริษัทมาจาก 3 ธุรกิจหลัก

(1) บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือคิดเป็น 68% ของรายได้ปี 2020 บริษัทมีผู้ใช้บริการทั้งหมด 41.4 ล้านรายทั่วประเทศ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดด้านผู้ใช้บริการที่ 49% ซึ่งถือว่าสูงสุดในประเทศ โดยมีผู้ใช้บริการที่ชำระล่วงหน้า (ระบบเติมเงิน) คิดเป็นสัดส่วน 76% ของผู้ใช้บริการทั้งหมด และส่วนที่เหลือเป็นผู้ใช้บริการแบบชำระภายหลัง (แบบระบบรายเดือน) นอกจากนี้ยังยอดขายของ SIM และอุปกรณ์มือถือ ซึ่งโดยปกติจะรวมอยู่กับบริการหรือเสนอให้กับลูกค้าแยกต่างหากมีสัดส่วน 17% ของรายได้ทั้งหมด…

(2) บริการอินเตอร์เน็ตความเร็ว (FBB) สูงคิดเป็น 4% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งบริษัทให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและบริการส่งสัญญาณอื่นๆ บนเครือข่ายใยแก้วนำแสงของบริษัท ในปัจจุบันบริษัทมีเครือข่ายครอบคลุมมากกว่า 57 จังหวัดทั่วประเทศ และมีผู้ใช้บริการมากกว่าหนึ่งล้านราย

(3) ธุรกิจดิจิตอลเซอร์วิสเป็นส่วนที่เหลือซึ่งแบ่งเป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้ แพลตฟอร์มวิดีโอ บริการคลาวด์สำหรับธุรกิจ แพลตฟอร์มการทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ (Mobile Money) บริการอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT)  และแพลตฟอร์มอื่น ๆ

- Advertisement -