ตลาดหุ้นวานนี้:

SET Index ยังคงแกว่ง Sideways ตามคาด แต่มีแรงขายกดดันระหว่างวันค่อนข้างหนาแน่น โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ส่งผลให้ดัชนีปิดลบ 5.97 จุด อย่างไรก็ตาม สถานะของสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติค่อนข้างเบาบาง โดยซื้อสุทธิในตลาดหุ้น 426 ลบ. และ 269 ลบ. ตามลำดับ (ต่างชาติยัง Long Index Futures อีก 5.4 พันสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้:

เราคาด SET Index ยังมีแนวโน้มแกว่งพักตัวในกรอบ 1,600-1,620 จุด แม้บรรยากาศการลงทุนโดยรวมจะผ่อนคลายขึ้นหลัง FED ยังคงมุมมองเงินเฟ้อที่เร่งขึ้นยังเป็นปัจจัยชั่วคราวในช่วงเปลี่ยนผ่านและยังไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย แต่กลุ่มพลังงานคาดเผชิญแรงกดดัน หลังราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลงทดสอบระดับ US$ 80 ต่อบาร์เรล ส่วนวันนี้ต้องติดตามการประชุม OPEC+ ว่าจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตมากกว่าแผนเดิมหรือไม่ ขณะที่ปัจจัยในประเทศยังคงอยู่ที่ผลประกอบการ 3Q21 ของบริษัทจดทะเบียน และการฟื้นของเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวหลังเปิดประเท ระยะสั้นยังเน้นเลือกเก็งกำไรหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ส่วนจังหวะดัชนีลงทดสอบ 1,600 จุด หรือต่ำกว่ามองเป็นโอกาสทยอยสะสมเพิ่ม สำหรับกลุ่ม Value และ Reopening Play โดยเฉพาะที่ Valuation ยังอยู่ในระดับต่ำ และ Laggard SET Index เมื่อเทียบกับช่วงก่อนมี COVID-19 ได้แก่ กลุ่มธนาคาร โรงกลั่น อสังหาฯ ค้าปลีก อาหารท่องเที่ยว รับเหมาฯ

กลยุทธ์: เก็งกำไรหุ้นที่คาดงบ 3Q21 แข็งแรงและมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว // ยังลงทุนในหุ้น Value และ Reopening Play

หุ้นเด่นเดือน พ.ย.: CHG, FSMART, GPSC, JWD, KCE

หุ้นเด่นวันนี้: ORI

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 14 บาท
  • โมเมนตัมกำไร 2H21 คาดเร่งขึ้นทั้ง H-H และ Y-Y จากโครงการใหม่สร้างเสร็จอีก 3 โครงการ และการเปิดแนวราบที่เร่งขึ้น ขณะที่ ORI มีสต๊อกคอนโดพร้อมโอนกว่า 1 หมื่นลบ. และ Backlog รอโอนใน 2H21-2022 อีก 2.7 หมื่นลบ. ซึ่งได้ประโยชน์โดยตรงจากการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV
  • ระยะยาวเรามอง ORI เป็นมากกว่าบริษัทอสังหาฯ จากการลงทุน และ JV ร่วมกับ Partner ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้เกิด Synergy ร่วมกันและเพิ่มรายได้ประจำ รวมถึงมี Catalyst จากการ Spin-Off บริทาเนีย และให้สิทธิผู้ถือหุ้น ORI จองซื้อ
  • แนวรับ 10.80 บาท แนวต้าน 11.50 // 11.80 บาท

Fund Flow:

วานนี้กระแสเงินทุนยังคงไหลออกจากภูมิภาคเบาบาง US$ 155 ล้าน นำโดยเกาหลีใต้ US$ 331 ล้าน แต่ไหลเข้าไต้หวัน US$ 145 ล้าน ส่วนตลาดอาเซียนเม็ดเงินค่อนไปในทิศทางไหลเข้าบางๆ ประเทศละ US$ 8-12 ล้าน โดยรอดูผลการประชุม FED ส่วนแนวโน้มกระแสเงินทุนวันนี้คาดค่อนไปในทางไหลเข้าหลัง Dollar Index อ่อนค่าโดย FED เริ่มลด QE ปลายเดือนนี้ตามคาด แต่ยังไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย

ประเด็นสำคัญวันนี้

(0) FED ประกาศเริ่มลด QE ปลายเดือนนี้ตามที่ตลาดคาด โดยจะทยอยลดเดือนละ US$ 1.5 หมื่นล้านต่อเดือน ซึ่งจะทำให้ QE ถูกยุติลงในช่วงกลางปีหน้า นอกจากนี้ประธานยังเน้นย้ำว่ายังไม่รีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้อแม้จะสูงลากยาวถึง 1H22 แต่ยังมองเป็นปัจจัยชั่วคราวในช่วงเปลี่ยนผ่าน ส่งผลให้ Dollar Index อ่อนค่าเล็กน้อย และตลาดทุนตอบรับเชิงบวกจากมุมมองนโยบายการเงินที่ยังผ่อนคลาย

(+) CK คาดกำไรปกติ 3Q21 -35% Q-Q, -77% Y-Y จากทั้งธุรกิจก่อสร้างได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดแคมป์ และส่วนแบ่งกำไรจาก BEM ที่ลดลงแรง แต่ชดเชยได้บางส่วนจากปันผลรับจาก TTW และบริษัทร่วมอย่าง CKP ที่เป็น High Season เราปรับประมาณการกำไรปี 2021 ลงเป็น -26% Y-Y แต่จะฟื้นแรง +158% Y-Y ในปี 2022 โดยเป็นตัวเต็งในหลายโครงการประมูล ทั้งรถไฟฟ้าม่วงใต้และสีส้ม รวมถึงมีงานใหญ่รอเซ็นอย่างรถไฟทางคู่เด่นชัย หนุนภาพรับเหมาเป็นขาขึ้นอีกครั้ง เราปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2022 ที่ 26 บาท แนะนำ “ซื้อ” และเป็น Top Pick

(+) IVL คาดกำไรปกติ 3Q21 -21% Q-Q แต่โต 5.5 เท่าตัว Y-Y หนุนจากธุรกิจ IOD ทั้งปริมาณขาย PET และ Polyester ที่แข็งแกร่งชดเชยธุรกิจเส้นใยที่ชะลอได้ ขณะที่ Margin แข็งแกร่งโดยเฉพาะตลาดตะวันตก และมี Upside จาก Ethane Cracker ที่จะเริ่มในเดือน ต.ค. เราคาดกำไรปี 2021-2022 เติบโต +256% Y-Y และ +13% Y-Y ตามลำดับ สูงกว่า Consensus 16-40% ยังคงราคาเป้าหมาย 62 บาท แนะนำ “ซื้อ” (Source: FSSIA)

(+) TKS คาดกำไรปกติ 3Q21 -10% Q-Q, +43% Y-Y โดยธุรกิจโรงพิมพ์ถูกกระทบจาก Lockdown ในส่วนลูกค้าธนาคารและภาษีที่กลับมาปกติหลัง Loss Carryforward เริ่มหมด แต่ส่วนแบ่งกำไรจาก SYNEX ยังแข็งแกร่งนอกจากนี้ใน 3Q21 จะมีรายการพิเศษทางบัญชีจากการปรับโครงสร้าง TBSP ซึ่งยังไม่รวมในประมาณการ แนวโน้มกำไร 4Q21-2022 คาดทยอยฟื้นตัวเราคาดกำไรปี 2021-2022 +75% Y-Y และ +20% Y-Y ปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2022 ที่ 20 บาท คงคำแนะนำ “ซื้อ”

(+) ตลาดดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 104.95 จุดหรือ 0.29% ปิดที่ 36,157.58 จุด QE เดือนละ 15,000 ล้าน หลังเฟดประกาศว่าจะปรับลดวงเงินในโครงการดอลลาร์ เริ่มตั้งแต่เดือนพ.ย. และจะยุติการทำ QE โดยสิ้นเชิงในกลางปี 2022 ตามที่ตลาดคาดไว้ นอกจากนี้หนุนด้วยการเปิดเผยการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐปรับขึ้น 571,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. จาก 523,000 ตำแหน่งในเดือน ก.ย. และสูงกว่านักวิเคราะห์คาดที่ 395,000 ตำแหน่ง รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐปรับขึ้นเป็น 58.7 ในเดือนต.ค. จาก 54.9 ในเดือนก.ย.

(+) ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกจากการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ฟื้นตัวหลังราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับขึ้น

(+) ตลาดเอเชียปรับขึ้นตามทิศทางตลาดดาวโจนส์ รวมถึงเฟดเริ่มปรับลดวงเงิน QE ตั้งแต่เดือนพ.ย. ตามตลาดคาด และส่งสัญญาณไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย

(-) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 33.30 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 3.05 ดอลลาร์หรือ 3.6% ปิดที่ 80.86 ดอลลาร์/บาร์เรล หลัง EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้น 3.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่านักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรล ขณะที่ติดตามการประชุมของกลุ่มโอเปกพลัสในวันนี้ (4 พ.ย.) ท่ามกลางคาดการณ์ว่าโอเปกพลัสคงมีมติเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพียง 400,000 บาร์เรล/วันในเดือน ธ.ค.

(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 25.5 ดอลลาร์หรือ 1.43% ปิดที่ 1,763.9 ดอลลาร์/ออนซ์ จากแรงขายสินทรัพย์ปลอดภัยหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 978.07 / -1.45

- Advertisement -