ปัจจัยต่างประเทศ: ผลการประชุม FOMC ประกาศลดขนาดการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE Tapering) ตามตลาดคาด โดยจะลดวงเงินการเข้าซื้อ 1.5 หมื่นล้านเหรียญในเดือนพ.ย.นี้ ทั้งนี้ Fed statement รอบนี้โดยรวมยังไม่ได้แตกต่างจากรอบประชุมเดือนก.ย. อย่างมีนัยยะ โดยมุมมองเรื่องเงินเฟ้อคาดว่าจะเป็นเรื่องชั่วคราว ซึ่งเกิดจาก demand และ supply ที่ไม่สมดุลกันจากกลุ่มที่เปิดประเทศมีความต้องการสินค้า ขณะที่แหล่งการผลิตสินค้าส่วนใหญ่ยังเจอปัญหาโควิดในช่วงที่ผ่านมา  ดังนั้น Fed จึงเชื่อว่าเมื่อพัฒนาการเรื่องการฉีดวัคซีนและปัญหาโควิดคลี่คลายจะช่วยลดปัญหา supply constrain สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและลดความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อลงได้ หลังการประชุม Fed fund future มีการปรับขึ้นมาเล็กน้อยโดยเริ่มขยับการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกมาเดือนก.ค. จากเดือนก.ย. มากขึ้น อย่างไรก็ตามตลาดยังคิดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปี 2022 และ 3 ครั้งในปี 2023 เหมือนก่อนการประชุม ดังนั้นปัจจัยการประชุม FOMC ครั้งนี้จึงไม่ได้มีผลกระทบเชิงลบต่อตลาด

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ รายงานตัวเลขผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการสหรัฐฯ (ISM Non-Manufacturing) เดือนตุลาคม ขยายตัว 66.7 ดีกว่าคาดที่ 62.0 มากพอสมควร และขยายตัว 17 เดือนติดต่อกันและเป็นระดับจุดสูงสุดใหม่ สนับสนุนจากคำสั่งซื้อใหม่และความต้องการที่ยังแข็งแกร่งต่อเนื่อง แม้จะมีกังวลเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้นมากก็ตาม ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนที่จัดทำโดย ADP รายงานออกมาแข็งแกร่งที่ 571,000 ตำแหน่งดีกว่าคาดและเดือนก่อนหน้า ดังนั้นตัวเลขเศรษฐกิจที่รายงานออกมาแสดงถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ยังฟื้นตัวดีต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุน sentiment บวกต่อตลาดหุ้น

Market reaction อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Bond Yield) ระยะสั้นอายุ 2 ปี ปรับตัวลงเล็กน้อยมาที่ระดับ 0.47% อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นมาที่ 1.6% ส่งผลให้เส้น Yield Curve ชันขึ้น (Bearish Steepening) สนับสนุนสินทรัพย์เสี่ยง

ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขการจ้างงานสำคัญที่จะรายงานในวันศุกร์อย่างตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.ของสหรัฐ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะพุ่งขึ้น 450,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้นเพียง 194,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนต.ค.จะลดลงสู่ระดับ 4.7% จากระดับ 4.8% ในเดือนก.ย.

มุมมองตลาดหุ้น วันนี้คาด SET 1615-1620 หุ้นแนะนำ EPG, AEONTS

Top pick: EPG (ราคาพื้นฐาน 14.00 บาท). ราคาหุ้นได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผล ความกังวลต่อราคา HDPE ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตของบริษัทปรับตัวสูงขึ้นตาม อย่างไรก็ตามยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ ทั้งนี้บริษัทได้มีการขอปรับ ราคาขายเฉลี่ย (ASP) ไปแล้ว ซึ่งจะช่วยทำให้ GPM ยังสามารถขยายตัวได้ ขณะที่เราคาดว่าการเติบโตกำไรของ EPG ยังสดใสจากทั้งสามธุรกิจหลัก. AEONTS (ราคาพื้นฐาน 249.00 บาท). สถาณการณ์ดีขึ้นมากตั้งแต่เดือน ก.ย. บริษัทจะเปิดตัว platform สินเชื่อดิจิทัลและประกันภัยออนไลน์ในครึ่งหลังของปีนี้เพื่อกระตุ้นยอดขาย ทั้งนี้เรามองว่า AEONTS ยังมีจุดแข็งในการแข่งขันอยู่บนเส้นทางของการฟื้นตัวและราคาหุ้นยัง laggard

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยเดือน ต.ค. ตัวเลข Markit Services PMI ของยูโรโซนเดือน ต.ค. คาด 52.4 จุด (-3.0% MoM) ตัวเลข PPI ยูโรโซน เดือน ก.ย. คาด +1.9% MoM และ +15.2% YoY การประชุมธนาคารกลางของอังกฤษและการประชุมกลุ่ม OPEC+ คาดคงแผนเพิ่มกำลังการผลิตที่ 400KBD ต่อเดือนตามเดิม

วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข CPI และ Core CPI ของไทยเดือน ต.ค. ตัวเลข Construction PMI ของยูโรโซน เดือน ต.ค. คาด 50 จุด ทรงตัว MoM ตัวเลข Retail sales ยูโรโซนเดือน ก.ย. คาด +0.2% MoM และ +1.5% YoY ตัวเลข Non-farm payrolls ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด 4.13 แสนตำแหน่ง ตัวเลข Unemployment rate ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด 4.7% และตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด +0.4% MoM

- Advertisement -