บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

DELTA: กําไร 3Q21 ลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3

กำไร 3Q21 ลดลงมาอยู่ที่ 1.2 พันล้านบาท (-52% YoY, -16% QoQ) จากอัตรากำไรที่ลดลง แม้รายได้จะเพิ่มขึ้นก็ตาม

  • รายได้แตะระดับ 2.13 หมื่นล้านบาท (+22% YoY, +3% QoQ) ด้วยแรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในกลุ่มพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ และอิเล็กทรอนิกส์ในระบบโครงสร้างพื้นฐาน
  • ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) แตะจุดต่ำในรอบ 2 ปีที่ 19.2% จากต้นทุนชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่ปรับสูงขึ้น
  • เราคาดว่ากำไร 4Q21 จะยังทรงตัว QoQ โดยยอดขายจากกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และศูนย์ปฏิบัติการข้อมูล (data center) ที่โตขึ้น จากการปฏิรูประบบดิจิทัลทั่วโลก จะถูกหักลบจากแรงกดดันที่มีต่ออัตรากำไร ซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์อย่างต่อเนื่อง

เรายังคงคําแนะนํา “ขาย” และปรับลดราคาเป้าหมายลง 23% เป็น 227 บาท คำนวณด้วย 42xPE’22E โดยอิงจากค่าเฉลี่ย PE ของ DELTA ก่อนที่จะถูกจัดไปอยู่ใน SET50 ทั้งนี้ ราคาปิดล่าสุดสะท้อน 82xPE’22E ซึ่งถือว่าค่อนข้างแพง แม้จะคาดว่าการเติบโตของกำไรจะเร่งตัวขึ้นในปี 2022 ก็ตาม

สรุปผลประกอบการ

  • กำไร 3Q21 ลดลงมาอยู่ที่ 1.2 พันล้านบาท (-52% YoY,-16% QoQ) จากอัตรากำไรที่ลดลง แม้รายได้จะเพิ่มขึ้น และจากค่าใช้จ่ายพิเศษครั้งเดียวจำนวน 393 ล้านบาท สืบเนื่องจากเหตุอุทกภัยที่โรงงานในบางปู (จะได้รับการชดเชยทั้งหมดจากการประกัน)
  • รายได้แตะระดับ 2.13 หมื่นล้านบาท (+3% QoQ) ด้วยแรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในกลุ่มพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีแรงขับเคลื่อนจากการเติบโตในกลุ่ม EV
  • ขณะที่ GPM แตะจุดต่ำในรอบ 2 ปีที่ 19.2% จากต้นทุนชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่ปรับสูงขึ้นจากสภาวะอุปทานตึงตัว
  • เรามองว่าเหตุอุทกภัยจะไม่สร้างผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อกิจการของบริษัท โดยผู้บริหารยังคงมุมมองเชิงบวกและคาดถึงการเติบโตในไตรมาสถัดๆ ไป

พรีวิวกำไร 4Q21 และช่วงถัดไป

  • เราคาดว่ากำไร 4Q21 จะทรงตัว QoQ โดยยอดขายจากกลุ่ม EV และ data center ที่โตขึ้นจากการปฏิรูประบบดิจิทัลทั่วโลก จะถูกหักลบจากแรงกดดันที่มีต่ออัตรากำไร ซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์อย่างต่อเนื่อง

ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิ 2021 ลง 26%

แรงกดดันต่ออัตรากําไรจะกระทบกำไรปี 2021

เราได้ปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2021 2022 และ 2023 เพื่อสะท้อนผลกระทบจากทิศทางของเซมิคอนดักเตอร์ที่มีต่อกลุ่มพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ (63% ของรายได้ทั้งหมดในปี 2020) นอกจากนี้เราได้ปรับประมาณการรายได้เพื่อสะท้อนถึงการเติบโตในกลุ่ม EV และ IaaS ที่คาดว่าจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญอย่างต่อเนื่องทั่วโลก

เราปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2021 ลง 26 ppts โดยมุมมองเชิงบวกก่อนหน้านี้ของเราไม่ได้รวมปัจจัยการปรับเพิ่มขึ้นของราคาชิปเซมิคอนดักเตอร์เข้ามา ซึ่งเป็นส่วนที่ฉุด GPM ของ DELTA ใน 3Q21 ลง และคาดว่าจะยังเป็นแรงกดดันต่อไปจนถึงช่วงปลาย 1H22 อิงข้อมูลจากเนชั่นไทยแลนด์

นอกจากนี้เราได้ปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2022 ลง 10.5 ppts เพื่อสะท้อนถึงแรงกดดันต่อ GPM โดยที่ประเมินว่ากำไรสุทธิปี 2022 จะไม่โตอย่างที่เคยคาดไว้ (คล้ายกับการปรับประมาณการปี 2021) เพราะมองว่าอัตรากำไรใน 1H22 จะอยู่ภายใต้แรงกดดันเหมือนกับใน 3Q21 แต่คาดว่ากำไรสุทธิจะโตขึ้น 24% YoY จากการเติบโตของรายได้

เรามองว่ากำไรจะกลับมาเติบโตขึ้นในปี 2023 โดยคาดว่าการเติบโตในกลุ่มระบบโครงสร้างพื้นฐาน บวกกับ GPM ในกลุ่มพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ฟื้นตัวขึ้น จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของกำไรได้ และคาดว่ากลุ่มคลาวด์ (cloud) data center และอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) จะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักต่อการเติบโตในครั้งนี้ ทั้งนี้ IDC ประเมินว่ากลุ่มโครงสร้างพื้นฐานในเอเชียแปซิฟิกและบริการจัดจําหน่ายจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ระหว่างปี 2020-25 ที่ 6.2% และ 10.4% ตามลำดับ โดยเราจะติดตามผลและคอยอัปเดตในประเด็นนี้อย่างต่อเนื่อง

สัดส่วนรายได้

ธุรกิจกลุ่มพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นสัดส่วน 63% ของรายได้รวมของบริษัท ซึ่งเกี่ยวข้องกับออกแบบผลิตและจำหน่ายพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้ในคอมพิวเตอร์, อุปกรณ์ระบบอัตโนมัติในสำนักงานเซิร์ฟเวอร์, เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับรถยนต์โดยมีผลิตภัณฑ์หลัก คือ ตัวแปลงไฟฟ้า DC/DC เพาเวอร์ซัพพลายสำหรับคอมพิวเตอร์ พัดลม และเซิร์ฟเวอร์ ผลิตภัณฑ์ระบบความร้อน โซลีนอยด์ และอีเอ็มไอฟิลเตอร์

ธุรกิจระบบโครงสร้างพื้นฐานคิดสัดส่วน 34% ของรายได้รวม โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร และระบบของโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักนั้นใช้ในระบบโทรคมนาคมพลังงานทดแทนการจัดเก็บพลังงาน และระบบไฟฟ้าแรงสูง

ธุรกิจระบบอัตโนมัติคิดเป็นสัดส่วน 3% ของรายได้รวม โดยบริษัทได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูงและเชื่อถือได้ ประกอบด้วยรวมถึงไดรฟ์ระบบควบคุมการเคลื่อนไหว ระบบควบคุมทางอุตสาหกรรมและการสื่อสาร การปรับปรุงคุณภาพพลังงาน การเชื่อมต่อเครื่องจักรและมนุษย์ ระบบเซ็นเซอร์มิเตอร์ และโซลูชั่นหุ่นยนต์

- Advertisement -