ถิติชี้หุ้นสหรัฐมีแนวโน้มที่ดีในช่วงที่เหลือของปี

ปัจจัยต่างประเทศ: สถิติข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 1964-2020 บ่งชี้แนวโน้มดัชนี S&P500 สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นบวกทั้งเดือนพ.ย. (+1.4%) และ ธ.ค. (+1.3%) นอกจากนี้อีกสถิติที่น่าสนใจตั้งแต่ปี 1950 ของดัชนี S&P500 บ่งชี้ว่า หากปีใดที่ 10 เดือนแรกของปี ตลาดหุ้นสามารถปรับตัวขึ้นได้เกิน +20% ขึ้นไป มักจะสามารถสร้างผลตอบแทนเป็นบวกได้ต่อเนื่องในอีก 2 เดือนที่เหลือของปีด้วยเช่นกัน โดยผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีต 2 เดือนสุดท้ายจะอยู่ที่ประมาณ 6% ซึ่งในปีนี้ 10 เดือนแรกของปี ดัชนี S&P500 +22.6% ถ้าอิงตามสถิติในอดีตเพียงอย่างเดียว ตลาดหุ้นสหรัฐฯน่าจะมีแนวโน้มที่ดีในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่ดัชนี Fear & Greed Index ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ความกล้าและความกลัวของนักลงทุนได้ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 85 จุด ซึ่งเริ่มเข้าโซน Extreme Greed ซึ่งนักลงทุนกล้าในการลงทุนมากเกินไป แสดงถึง sentiment บวกต่อการลงทุนและตลาดหุ้นอาจขึ้นต่อได้ตามโมเมนตัมที่ดี แต่อาจต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้นเช่นกันเพราะการที่นักลงทุนเริ่มกล้าในการลงทุนมากเข้าระดับ Extreme Greed นั้น ตลาดจะเริ่มมีความเสี่ยงที่จะผันผวนสูงขึ้นและพักฐานได้ในระยะสั้น อย่างไรก็ตามเรายังมองว่าหากตลาดหุ้นมีการพักฐานเกิดขึ้น อาจเป็นการปรับตัวลงที่ไม่ได้รุนแรงมากนักและเป็นโอกาสทยอยซื้อสะสมในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้น

ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญในวันนี้ที่อาจส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนระยะสั้นได้แก่ ตัวเลข PPI ของจีนเดือน ต.ค. ที่คาด +12% YoY ตัวเลข CPI และ Core CPI ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด +5.8% YoY และ +4.3% YoY ตามลำดับ

ปัจจัยภายในประเทศ: ครัวเรือนมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพ เนื่องจากราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์น้ำ ท่วมทำใหราคาพืชผักสูงขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับมือและการจัดการของครัวเรือนต่อราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นพบว่า ครัวเรือน 41.0% จะลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปเช่น การไปท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่ ขณะที่อีก 39.4% ระบุว่าจะใช้สินค้าอุปโภคบริโภคในปริมาณที่น้อยลงต่อครั้งเพื่อให้ใช้ได้นานขึ้น ซึ่งวิธีการรับมือต่างๆ ของภาคครัวเรือนจะเห็นว่าเป็นการลดทอนแรงหนุนจากการบริโภคครัวเรือนที่จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ดังนั้นจึงมองว่าในระยะข้างหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในส่วนของการบริโภคยังมีความจำเป็นต่อเนื่องควบคู่ไปกับการดำเนินการเปิดประเทศด้วยมาตรการป้องกันความเสี่ยงที่ชัดเจน จึงจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง

มุมมองตลาดหุ้น วันนี้คาด  SET 1630-35 หุ้นแนะนำ BEM

Top pick: BEM (ราคาพื้นฐาน 10.11 บาท) คาดว่ากำไร 3Q21 แย่แต่จะฟื้นตัวใน 4Q21 โดย BEM ถือเป็นหุ้นกลุ่ม reopening ที่คาดว่าจะได้ sentiment บวกจากจากสถาณการณ์โควิดในประเทศที่ดีขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีความหวังจากการชนะประมูล รฟฟ.สายสีส้ม

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

วันพุธ ติดตาม การประชุม กนง. คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ตัวเลข CPI ของจีนเดือน ต.ค. คาด +0.6% MoM และ +1.4% YoY ตัวเลข PPI ของจีนเดือน ต.ค. คาด +12% YoY ตัวเลข CPI ของเยอรมันเดือน ต.ค. คาด +0.5% MoM และ +4.5% YoY ตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด +0.6% MoM และ +5.8% YoY ตัวเลข Core CPI ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด +0.3% MoM และ +4.3% YoY ตัวเลข Wholesale Inventories ของสหรัฐฯ เดือน ก.ย. คาด +1% MoM

วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลข GDP 3Q21 ของอังกฤษ คาด +6.8% YoY ตัวเลข ECB Macro economic Projections

วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข Michigan Consumer Sentiment index เดือน พ.ย. คาด +1.1% MoM เป็น 72.5 จุด และตัวเลข Oil rig count ของสหรัฐฯ ล่าสุดอยู่ที่ 450 rig (+6 rig จากสัปดาห์ก่อน)

- Advertisement -