Selective Play

ตลาดหุ้นวานนี้:

SET Index แกว่ง Sideways Up โดยปิดบวกได้อีกเล็กน้อย 4.79 จุด แรงซื้อยังกระจุกตัวในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอย่างอิเล็กทรอนิกส์และ IT ขนาดกลาง-เล็ก และหุ้นที่แนวโน้มกำไร 4Q21-2022 แข็งแกร่ง สถาบันในประเทศซื้อสุทธิในตลาดหุ้นบางๆ ส่วนนักลงทุนต่างชาติพลิกมาขายสุทธิ 437 ลบ. (แต่ยัง Long Index Futures 3.8 พันสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้:

เราคาด SET Index ยังคงอยู่ในช่วงแกว่ง Sideways ในกรอบ 1,632-1,642 จุด เนื่องจากยังไร้ปัจจัยใหม่เข้ามากระตุ้นประกอบกับ Dollar Index และ Bond Yield ที่พุ่งขึ้นเป็นปัจจัยจำกัดการปรับขึ้นของตลาดหุ้น ส่วนปัจจัยในประเทศประกาศ GDP 3Q21 ออกมากดตัวน้อยกว่าคาด แต่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน 3Q21 โดยรวมค่อนไปในทางต่ำกว่าคาด แต่ถือเป็นจุดต่ำสุดก่อนทยอยฟื้นใน 4Q21 เป็นต้นไป ระยะสั้นเรายังมองหุ้นขนาดกลาง-เล็กจะยัง Outperform ตลาดฯ โดยยังเลือกเก็งกำไรหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว และแนวโน้มยังกำไรแข็งแกร่งใน 4Q21-2022 ส่วนจังหวะดัชนีอ่อนตัวลงทดสอบ 1,600 +- จุด มองเป็นโอกาสทยอยสะสมเพิ่มสําหรับกลุ่ม Value และ Reopening Play โดยเฉพาะกลุ่มที่ยัง Laggard SET Index เมื่อเทียบกับช่วงก่อนมี COVID-19 ได้แก่ กลุ่มธนาคาร ค้าปลีก อาหารอสังหาฯ รับเหมาฯ

กลยุทธ์: เก็งกำไรหุ้นที่คาดงบ 3Q21 แข็งแรงและมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว // ยังลงทุนในหุ้น Value และ Reopening Play

หุ้นเด่นเดือน พ.ย. : CHG, FSMART, GPSC, JWD, KCE

หุ้นเด่นวันนี้: AH

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายจาก FSSIA 29 บาท
  • กําไรปกติผ่านจุดต่ำสุดของปีใน 3Q21 ที่ -39% Q-Q, -49% Y-Y ไปแล้วที่ถูกกระทบจาก Lockdown และ Chip Shortage ขณะที่ 4Q21 จะฟื้นตัวแกร่งตามปัญหาที่คลี่คลายและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
  • ยังคงคาดการณ์กำไรปี 2021-2022 +467% Y-Y และ +26% Y-Y ขณะที่ Valuation ยังถูกมาก ซื้อขายที่ 2022PER และ 2022PBV เพียง 7 เท่า และ 0.9 เท่า ตามลำดับ
  • แนวรับ 21.50 บาท แนวต้าน 22.50 // 23-23.20 บาท

Fund Flow: วานนี้กระแสเงินทุนยังคงไหลเข้าภูมิภาคอีก US$ 669 ล้าน นำโดยเกาหลีใต้และไต้หวัน US$ 396 ล้าน และ US$ 336 ล้าน ตามลำดับ จากเม็ดเงินยังคงไหลทำให้ตลาดอาเซียนเม็ดเงินค่อนไปในทิศทางไหลออกบางๆ เข้ากลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลก แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่าจะชะลอตัวระยะสั้น หลังขาดปัจจัยใหม่เข้ามากระตุ้น และ Dollar Index ที่แข็ง

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) GDP 3Q21 หดตัวน้อยกว่าคาด -1.1% Q-Q, -0.3% Y-Y โดยมีการบริโภคภาครัฐและการส่งออกช่วยประคองการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนที่หดตัวแรงโดยมองเป็นจุดต่ำสุดของปีก่อนทยอยฟื้นตัวใน 4Q21-2022 ตามการคลาย Lockdown สภาพัฒน์คาด GDP ปี 2021 +1.2% Y-Y ก่อนเร่งตัว +3.5-4.5% ในปี 2022 นำโดย Domestic Demand เป็นหลักสอดคล้องกับกลยุทธ์ Top Pick 4Q21-2022 ของเรายังคงเป็น CK CPALL CRC GPSC JWD TKS ORI SCB TU VRANDA ส่วนหุ้นขนาดกลาง-เล็กอื่นที่เราชอบคือ NSL TACC JR EKH SMT

(+) CK กำไรปกติ 3Q21 +57% Q-Q, -45% Y-Y ดีกว่าเราและตลาดคาดมาก จากส่วนแบ่งกำไรจากบริษัท ร่วม CKP ที่สูงกว่าคาดจาก High Season ส่วนที่หดตัว Y-Y เกิดจากการปิดแคมป์คนงานแนวโน้ม 4Q21 คาดลดลง Q-Q จากส่วนแบ่งกำไร CKP ที่จะลดลงตามฤดูกาล แต่ธุรกิจรับเหมาฯ รวมถึง BEM จะฟื้นตัว เราคาดกำไรปี 2021 +4% Y-Y และเร่งขึ้น +82% Y-Y ในปี 2022 คงราคาเป้าหมาย 26 บาท แนะนำ “ซื้อ” เป็น Top Pick

(+) STEC กำไร 3Q21 -42% Y-Y ดีกว่าคาดมาก จาก Gross Margin ที่สูงกว่าคาด จากโครงการโรงไฟฟ้าซึ่ง Margin ดี ขณะที่แนวโน้ม 4Q21 คาดเร่งตัว QQ หลังกลับมาก่อสร้างได้ปกติ เราคาดกำไรปี 2021 -28% Y-Y ก่อนพลิก +72% ในปี 2022 คงราคาเป้าหมาย 17 บาท แนะนำ “ซื้อ”

(+) PJW กำไร 3Q21 -33% QQ เพราะลูกค้าถูกกระทบจาก Chip shortage แต่ + 92% Y-Y เพราะรายได้ฟื้นทั้งในไทยและจีน กำไรต่ำกว่าคาดเล็กน้อยเพราะมีรายจ่ายเกี่ยวกับ COVID-19 แนวโน้ม 4Q21 ทำจุดสูงสุดของปี แต่ต่ำกว่าที่เคยคาดเล็กน้อย เพราะต้นทุนเม็ดพลาสติกสูงขึ้นเร็ว แต่ยังคาดกำไรปี 2021 +45% Y-Y ส่วนกำไรปี 2022-2024 คาดโต +15% CAGR จากธุรกิจเดิมและ New S-curve (Medical plastic) ปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 2022 ที่ 6.20 บาท แนะนำ“ซื้อ”

(+) BCH กำไร 3Q21 +153% Q-Q, +601% Y-Y ดีกว่าตลาดคาด 30% จากทั้งรายได้และ Margin โดยปัจจัยเติบโตมาจากการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 65-70% ของรายได้รวมแนวโน้มกำไร 4Q21 คาดอ่อนตัวลง แต่จะยังเป็นระดับที่แข็งแรงยังคราคาเป้าหมาย 28.50 บาท แนะนำ“ ซื้อ” (Source: FSSIA)

(-) ตลาดดาวโจนส์ลดลง 12.86 จุดหรือ 0.04% ปิดที่ 36,087.45 จุด หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจากแรงขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสหรัฐอายุ 10 ปีปรับขึ้นเป็น 1.615%

(+) ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก หลังนางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีความเห็นว่ายืนยันดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกคงไว้ในปี 2023

(0) ตลาดเอเชียปรับตัวผสมโดยกดดันจากแรงขายทำกำไรและทิศทางตลาดดาวโจนส์ ท่ามกลางติดตามธนาคารกลางออสเตรเลียเปิดเผยรายงานการประชุมในเช้านี้

(0) ค่าเงินบาทแกว่งในกรอบแคบล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 32.73 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้น 9 เซนต์หรือ 0.1% ปิดที่ 80.88 ดอลลาร์/บาร์เรล จากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และสหรัฐอาจระบายน้ำมันดิบออกจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) ขณะที่ติดตาม EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ของสหรัฐในวันพรุ่งนี้เวลา 22.30 น. ตามเวลาไทย

(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 1.9 ดอลลาร์หรือ 0.1% ปิดที่ 1,866.6 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 975.99 / +-

- Advertisement -