Daily Focus-Domestic and Selective Play

ตลาดหุ้นวานนี้:

SET Index ปรับตัวขึ้นทดสอบ 1,650 จุดระหว่างวันตามคาด ก่อนที่จะมีแรงขายกดดัน และเหลือปิดบวกเพียง 0.59 จุด โดยกลุ่มที่ปรับตัวโดดเด่นที่สุด คือ ไฟแนนซ์ สถาบันในประเทศซื้อสุทธิในตลาดหุ้นเร่งขึ้นเป็น 1.1 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติพลิกมาขายสุทธิ 1.4 พันลบ. (และพลิกมา Short Index Futures สูงถึง 1.9 หมื่นสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้:

เราคาด SET Index ยังคงแกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,638 1,650 จุด โดยกลุ่มพลังงานจะถ่วงตลาดหลังราคาน้ำมันดิบขยับลงแรงจากความกังวลเรื่อง COVID-19 ในยุโรปที่เร่งขึ้น และภาวะ Oversupply ขณะที่กลุ่ม Domestic Play คาดว่ายังปรับตัวได้แข็งแรงตามภาพเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวหลังคลาย Lockdown แล้วเกือบทั้งหมด ทำให้ Traffic ของบริการต่างๆฟื้นตัวชัดเจน เช่นเดียวกับผลประกอบการ 4Q21 ที่จะกลับมาฟื้นตัว ขณะที่กลุ่มท่องเที่ยวคาดต้องติดตามตัวเลขนักท่องเที่ยวเดือน ธ.ค.-ม.ค.นี้ ก่อนประเมินการฟื้นตัวอีกครั้ง ยังมองจังหวะดัชนีอ่อนตัวลงทดสอบ 1,600 +- จุด มองเป็นโอกาสทยอยสะสมเพิ่ม และเน้นหุ้นที่ยัง Laggard SET Index และยังมี Valuation ที่ต่ำกว่าก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ได้แก่ กลุ่มธนาคา รค้าปลีก อาหาร อสังหาฯ รับเหมาฯ เป็นต้น

กลยุทธ์: เน้นลงทุนหุ้น Domestic และ Reopening Play

หุ้นเด่นเดือน พ.ย.: CHG, FSMART, GPSC, JWD, KCE

หุ้นเด่นวันนี้: NER

  • แนะนํา “เก็งกำไร ” ราคาเป้าหมาย 8.50 บาท
  • คาดกําไร 4Q21 น่าจะทรงตัวสูง Q-Q ได้ และโตเด่น Y-Y ต่อเนื่อง ตามปริมาณขายที่ยังอยู่ในระดับที่ดี และราคายางพารายังทรงตัวสูง เรายังคาดกำไรสุทธิปี 2021 ทำ New High ที่ 1.7 พันลบ. +100% Y-Y
  • ปัจจัยหนุนกำไรปีหน้าจะมาจากการขยายกำลังการผลิตเพิ่มในช่วง 2H21 ขึ้นอีก 10% และอยู่ระหว่างขยายเข้าสู่ธุรกิจแผ่นปูรองนอนวัวแบรนด์ Cattle Flex เราประเมินกำไรปี 2022 โตต่อเนื่อง +10% Y-Y
  • แนวรับ 7.30-7.40 บาท แนวต้าน 7.60 // 7.80-8 บาท

Fund Flow:

วานนี้กระแสเงินทุนทรงตัวและเบาบางลงโดยยังคงไหลเข้าเกาหลีใต้และไต้หวัน US$ 37 ล้าน และ US$ 78 ล้าน ตามลำดับ ขณะที่อาเซียนเม็ดเงินไหลออกหนาแน่นมากขึ้น นำโดยอินโดนีเซียและไทย ประเทศละ US$ 41-58 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่ายังเบาบาง และค่อนไปในทิศทางไหลออกจากเม็ดเงินที่เริ่มกลับมาไหลเข้าพันธบัตร

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) OR ผู้บริหารเปิดตัว “OR Space” ซึ่งจะเป็นแหล่งรวมทั้ง Lifestyle Product อาหาร และสถานีชาร์จ EV โดยเน้นธุรกิจ Non-Oil มากยิ่งขึ้นทั้งและตั้งเป้าเพิ่ม EBITDA Margin เป็น 30% (ปัจจุบัน 25-28%) นอกจากนี้ยังร่วมมือกับ Partner ในการเข้าลงทุนธุรกิจ Start-Up ใหม่ๆ เรามองบวกต่อการเติบโตในระยะยาวที่กำลังอยู่ในช่วงทยอยเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีจากรถเครื่องสันดาปเป็นพลังงานไฟฟ้า ระยะสั้นคาดกำไร 4Q21-2022 พื้นหลังคลาย Lockdown FSSIA ให้ราคาเป้าหมาย 36 บาท แนะนำ “ซื้อ”

(0) NRF คาดกำไร Q21 ฟื้นตัวจากรายได้ E-Commerce ที่มากขึ้น และส่วนแบ่งขาดทุน Plant and Bean ลดลง นอกจากนี้จะรับรู้กำไรก้อนใหญ่จากการขายหุ้น 25% ใน GTH ส่วนแนวโน้มปี 2022 ยังตั้งเป้า Aggressive รายได้โต +50% Y-Y จากปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนที่ดีขึ้น และมีแผนเข้าซื้อธุรกิจเพิ่มเติม นอกจากนี้คาดยังมีกำไรจากการขายเงินลงทุนอย่างต่อเนื่อง ยังคงราคาเป้าหมาย 9 บาท แนะนำเพียง “เก็งกําไร”

(0) LEO แนวโน้มกำไร 4Q21 คาดมีโอกาสทำ New High อีก 1 ไตรมาส และแนวโน้มรายได้ปี 2022 คาดยังโตสูง 20%-25% Y-Y แต่แนวโน้มค่าระวางเรืออ่อนตัวลง ทำให้การเติบโตในปีหน้าจะมาจากปริมาณขนส่งเป็นหลัก ซึ่งค่อนข้างท้าทาย โดยจะเน้นโตแบบ Inorganic ทั้งการเป็นตัวแทนสายรถไฟจีน-ลาว ที่จะทำร่วมกับ China Post และการหาดีล M&A เรามองกำไร 4Q21 Peak และอ่อนตัวปีหน้า และะเริ่มเห็น Downside ต่อกําไรปี 2022 ที่คาด +3% Y-Y คงราคาเป้าหมาย 13 บาท แนะนำเพียง “ถือ”

(+) SC ยอดขาย 4QTD ฟื้นตัวดีเป็น 3 พันลบ. หลังคลาย Lockdown และผ่อนคลาย LTV หนุนด้วยการเปิดโครงการแนวราบเพิ่ม 2 โครงการ และเน้นขายโครงการเดิมที่ไปได้ดี ทำให้ยอดขายทั้งปีมี Upside จาก 5-10% จากเป้า 2 หมื่นล้านบาท ขณะที่กำไร 4Q21 คาดโต Q-Q, Y-Y เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2021 เป็น +9% Y-Y ส่วนปี 2022 คาด +10% Y-Y จากแผน Aggressive รุกเปิดโครงการใหม่แนวราบระดับบนบวกกับเริ่มโอนคอนโดใหม่ 3 โครงการ เราปรับราคาเป้าหมายปี 2022 ขึ้นเป็น 4.20 บาท แนะนำ “ซื้อ” พร้อมปันผล Yield 5.5%

(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 211.17 จุด หรือ 0.58% ปิดที่ 35,931.05 จุด จากความกังวลเกี่ยวกับตัวเลขเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นหลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 6.2% Y-Y ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 1990 รวมถึงยอดค้าปลีกเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 1.7% M-M สูงกว่านักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.4% นอกจากนี้กดดันจากการปรับลงของหุ้นกลุ่มพลังงาน และหุ้นบริษัท วีซ่าอิงค์

(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวก หนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน

(0) ตลาดเอเชีย ปรับตัวผสม โดยมีแรงกดดันจากการปรับลงของตลาดดาวโจนส์ ท่ามกลางควากังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ

(+) ค่าเงินบาท แข็งค่าขึ้น ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 32.63 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 2.40 ดอลลาร์หรือ 3% ปิดที่ 78.36 ดอลลาร์/บาร์เรล จากความกังวลว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีโจไบเดนอาจจะระบายน้ำมันออกจากคลัง SPR เพื่อสกัดการปรับขึ้นของราคาน้ำมันเบนซิน รวมถึงกดดันจากรัฐบาลสหรัฐเรียกร้องให้จีนระบายน้ำมันออกจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้กลุ่มโอเปกและ IEA ออกมาเตือนเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด อย่างไรก็ดี EIA รายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 2.1 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่านักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรล

(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 16.1 ดอลลาร์หรือ 0.87% ปิดที่ 1,870.2 ดอลลาร์/ออนซ์ ฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ รวมถึงการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 976.86 / +0.87

- Advertisement -