บล.เคจีไอ (ประเทศไทย): 

Heng Leasing and Capital (HENG.BK / HENG TB) สินเชื่อขยายตัวด้วย yield ที่ดีขึ้น

Event

ร่วมประชุมกับผู้บริหารของบริษัท

Impact

ผู้ให้บริการลิสซิ่งในภาคเหนือของประเทศไทย

HENG ให้บริการสินเชื่อปลอดหลักประกันแก่ลูกค้าประเภทที่มี profile ความเสี่ยงสูง โดยพอร์ตสินเชื่อ (gross loan) มีมูลค่า 8.7 พันล้านบาทใน 3Q64 แบ่งเป็นสินเชื่อ H/P 62%, สินเชื่อจำนำทะเบียน 30% สินเชื่อ land-for-cash 1.5%, สินเชื่อส่วนบุคคล 1.4%, และสินเชื่อ nano finance 5.6% ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทเน้นปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่มี profile ความเสี่ยงสูงสัดส่วน NPL ของบริษัทจึงสูงกว่าคู่แข่งอยู่ 3.5% (ของ Muangthai Capital (MTC.BK / MTC TB) และของ Ngern Tid Lor (TIDLOR.BK / TIDLOR TB) อยู่ที่ 1.5%) ในขณะที่ credit cost อยู่ในระดับสูงที่ 250bps และสัดส่วน LLR/สินเชื่อ อยู่ที่ 7.2% (ของหุ้นอื่นในกลุ่มอยู่ที่ 2.5%) ทั้งนี้ บริษัทมีสำนักงานสาขา 489 สาขา ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคเหนือของประเทศไทย สำหรับในระยะต่อไป บริษัทคาดว่าจะขยายพอร์ตสินเชื่อจำนำทะเบียนและ nano finance เพื่อเพิ่ม yield พร้อมทั้งจะเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมประกันภัยตามการขยายสินเชื่อใหม่ด้วย

รุกขยายสํานักงานเพิ่มอีก 150-200 สาขา เพื่อรองรับการขยายสินเชื่อปีละ 30-35%

บริษัทตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนสำนักงานใหม่อีกปีละ 150-200 สาขา เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่บริการมากขึ้นในภาคอีสาน, ตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทยเป็น 529 สาขาภายในสิ้นปีนี้, 640 สาขาในปี 2565 และ 830 สาขาในปี 2566 การขยายสาขาดังกล่าวจะช่วยให้บริษัทสามารถขยายสินเชื่อได้ปีละ 30-35% ในปี 2564-66

Yield ของ HENG จะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ yield ของหุ้นอื่นในกลุ่มลดลง

แต่เดิม HENG ทำธุรกิจเป็นดีลเลอร์รถมือสอง ดังนั้นสินเชื่อส่วนใหญ่ของบริษัทจึงเป็นสินเชื่อ H/P ซึ่ง yield อยู่ที่ประมาณ 15-16% สำหรับในระยะต่อไป บริษัทจะเปลี่ยนไปเน้นสินเชื่อจำนำทะเบียนมากขึ้น และคาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อกลุ่มนี้เป็น 60% ของสินเชื่อรวม ซึ่ง yield อยู่ที่ประมาณ 23-24% การปรับน้ำหนักสินเชื่อในพอร์ตดังกล่าวจะทำให้ yield ของสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นจาก 17% เป็น 19-20% ในปี 2565/66 (ค่าเฉลี่ยของกลุ่มอยู่ที่ 18-19%)

น่าจะมี Synergy ร่วมกับ KBANK

HENG มีความได้เปรียบในการแข่งขันในแง่ของต้นทุนทางการเงินที่ 3.9% ซึ่งรวมเม็ดเงินที่ระดมจาก IPO แล้ว (ในขณะที่ของ MTC ซึ่งมีโครงสร้างต้นทุนเหมือนกันอยู่ที่ 3.5%) นอกจากนี้ การผนึกพันธบมิตรกับ Kasikornbank (KBANK BK / KBANK TB)* (ถือหุ้น 10%) จะช่วยให้บริษัทสามารถเข้าถึงเงินทุนได้โดยมีต้นทุนที่แข่งขันได้ในระยะต่อไป และยังอาจจะช่วยแนะนำลูกค้าใหม่เพิ่มให้กับบริษัทได้ด้วย

ยังมีโอกาสให้ปรับปรุงประสิทธิภาพได้อีก

เราคาดว่าอัตรากำไรจะดีขึ้นอีก เนื่องจาก i) มีการใช้เม็ดเงินที่ระดมจาก IPO เพื่อปรับปรุงระบบ IT และเชื่อมโยงการขยายสำนักงานสาขาเข้าด้วยกัน เพื่อประหยัดต้นทุนในการบริหารเครือข่ายสาขา ii) สินเชื่อขึ้นจากการเน้นขยายสินเชื่อจำนวนทะเบียนที่มี yield สูงมากขึ้น และ iii) ต้นทุนทางการเงินลดลงจะช่วยหนุนให้ margin เพิ่มขึ้น

ประมาณการกําไรใน 4Q64F และแนวโน้ม

เราคาดว่าผลประกอบการของ HENG จะดีขึ้นใน 4Q64 เนื่องจาก i) พอร์ตสินเชื่อใหญ่ขึ้น ii) yield เพิ่มขึ้น ทั้งนี้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิของบริษัทใน 3Q64 อยู่ที่ 936 ล้านบาท และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 0.4% YoY เป็น 222 ล้านบาท ในขณะที่ consensus คาดว่ากำไรสุทธิในปีนี้จะอยู่ที่ 343 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 533 ล้านบาทในปี 2565 (คิดเป็น EPS ที่ 0.14 บาท และ PER ที่ 36x) เราคิดว่าราคาหุ้นน่าจะสะท้อนแนวโน้มด้านบวกในปี 2565/66 ไปแล้ว หลังจากที่วิ่งขึ้นมาถึง 260% ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำการซื้อขายในตลาดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564

Risks สินเชื่อขยายตัวช้าเกินคาด, ความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ทางการกดดัน yield สินเชื่อ, ดอกเบี้ยขยับสูงขึ้น

- Advertisement -