บล.หยวนต้า (ประเทศไทย): 

VRANDA RESORT PLC แนวโน้ม 4Q64 ฟื้นตัว QoQ…แต่ต้องลุ้นนักท่องเท่ียวต่างชาติใน 2H65

Action

BUY (Maintain)

TP upside (downside) +30.1%

Close Dec 08, 2021 Price (THB) 6.15

12M Target (THB) 8.00

Previous Target (THB) 8.20

What’s new?

  • ผลประกอบการ 3Q64 ขาดทุนปกติ 50 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นเทียบกับขาดทุนปกติที่ 35 ล้านบาทใน 2Q64 เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของ COVID- 19 ระลอกใหม่ภายในประเทศที่รุนแรง
  • เราเร่ิมเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของตลาดท่องเท่ียวภายในประเทศใน 4Q64 หลังการคลาย Lock down แต่ยังจำกัดเฉพาะใน Driving Distance เช่น หัวหิน อย่างไรก็ดี ตลาดนักท่องเท่ียวต่างชาติยังฟื้นตัวช้า คาดเห็นการทยอยฟื้นตัวเร็วสุดใน 2H65 เป็นต้นไป

Our View

  • ปรับลดประมาณการผลดำเนินงานปกติปี 2564/65 เป็นขาดทุน 143 ล้านบาท และกำไรท่ี 52 ล้านบาท ตามลำดับ จากผลกระทบของการระบาดรอบใหม่ และการฟื้นตัวท่ีช้าลงไปอีก จากความกังวลต่อการระบาด COVID-19 สายพันธุ์โอไมครอน
  • เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ปรับไปใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 ท่ี 8.00 บาทต่อหุ้น อิง EV/EBITDA ท่ีค่าเฉลี่ยกลุ่มโรงแรมขนาดใหญ่เดิมท่ี 12x แต่ยัง Discount จากโรงแรมขนาดใหญ่ท่ีมีสัดส่วนโรงแรมในยุโรปสูงกว่า VRANDA ท่ีเราให้ราคาเหมาะสมบนกรอบ +/-1.0SD

ผลประกอบการ 3Q64 ถูกกระทบจากการระบาดระลอก 4 ในประเทศไทย

VRANDA รายงานผลประกอบการ 3Q64 ขาดทุนปกติที่ 50 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากขาดทุนปกติ 35 ล้านบาทใน 2Q64 และขาดทุนปกติ 9 ล้านบาทใน 3Q63 ผลประกอบการลดลงทั้ง QoQ และ YoY กดดันจากการระบาดระลอก 4 ในประเทศ ส่งผลให้ภาครัฐออกมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดขึ้นเพื่อควบคุมการระบาด COVID-19 สรุปสาระสำคัญดังนี้

1) รายได้ธุรกิจโรงแรมใน 3Q64 (20% ของรายได้รวม) อยู่ที่ 57 ล้านบาท (-7% QoQ, -54% YoY) จากผลกระทบการออกนโยบายจำกัดการเดินทางและการปิดสถานที่ต่างๆ ซึ่งกระทบต่ออัตราการเข้าพัก อย่างไรก็ดี อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้น 7% QoQ เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้ลูกค้าเลือกจองห้องพักขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อความเป็นส่วนตัวมากขึ้น โดยโรงแรมที่ยังทำได้ดีกว่ากลุ่ม คือ โรงแรมในหัวหิน ได้แก่ Versa Huahin และ Veranda Resort & Villas Hua Hin ซึ่งมีอัตราการเข้าพักใน 3Q64 อยู่ที่ 38% และ 25% ตามลำดับ เทียบกับอัตราการเข้าพักของโรงแรมอื่นที่ทำได้ต่ำกว่า 20% โดยภาพรวม 3Q64 ธุรกิจโรงแรมรายงานกำไรขั้นต้นที่ 15 ล้านบาท (+12% QOQ, -35% YoY)

2) รายได้ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใน 3Q64 (72% ของรายได้รวม) อยู่ที่ 154 ล้านบาท (-29% QoQ, -47% YoY) ลดลงจากสัดส่วนห้องที่รอโอนกรรมสิทธิ์ในโครงการ Veranda Residence หัวหินมีจำนวนน้อยลง โดยธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีกำไรขั้นต้นใน 3Q64 อยู่ที่ 39 ล้านบาท (-42% QoQ, -52% YoY)

3) รายได้ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม (7% ของรายได้รวม) อยู่ที่ 20 ล้านบาท (-8% QoQ, -48% YoY) ยังถูกกระทบ เนื่องจากภาครัฐประกาศมาตรการ Lock down ปิดห้างสรรพสินค้าและงดให้บริการแบบ Dine-in ในช่วงเดือน ก.ค. – ส. ค 64

4) ค่าใช้จ่าย SG&A อยู่ที่ 59 ล้านบาท (-22% QoQ, -34% YoY) บริษัท ฯ ดำเนินการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ค่าใช้จ่ายลดลงทั้ง QoQ และ YoY

ผลการดำเนินงาน 9M64 รายงานขาดทุนสุทธิที่ 120 ล้านบาท เทียบกับประมาณการปี 2564 ของเราที่คาดคาดทุน 84 ล้านบาท ทำให้ประมานการทั้งปี 2564 มี Downside Risk ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจโรงแรมที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด

ผ่านจุดต่ำสุดของปีใน 3Q64 .. แนวโน้มทยอยฟื้นตัวใน 4Q64 เป็นต้นไป

เรามองว่าผลประกอบการ 3Q64 ได้ผ่านจุดต่ำสุดของปีไปแล้วใน 3Q64 และคาดจะเริ่มเห็นการทยอยฟื้นตัวใน 4Q64 โดยหนุนจากนักท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก ภายหลังจากภาครัฐได้มีการผ่อนคลายมาตรการ Lock down ในประเทศ พร้อมเปิดรับนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศในช่วงสิ้นปี 64 เป็นต้นไป และยังมีการกระตุ้นด้วยมาตรการเราเที่ยวด้วยกัน สำหรับประเด็นกดดันจากการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ปัจจุบันรายงานพบผู้ป่วย 3 รายในประเทศไทย อย่างไรก็ดี ยังไม่พบรายงานผู้เสียชีวิตจากโควิดสายพันธุ์โอไมครอน และมีอาการที่ไม่รุนแรงจะเป็นเพียงลักษณะที่มีการแพร่ระบาดเร็วกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม คาดโควิดสายพันธุ์โอไมครอนจะกระทบการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติล่าช้าออกไปราว 1-2 ไตรมาส อาจเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นใน 2H65 แต่มีผลกระทบจํากัดต่อตลาดภายในประเทศ สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังเป็นตัวหนุนรายได้รวมของบริษัทฯ VRANDA มี Backlogs ณ สิ้น 3Q64 ราว 510 ล้านบาท และโครงการเหลือขายอีกราว 250 กว่าล้านบาท คาดจะรับรู้รายได้ทั้งหมดภายในปี 2565

คงคำแนะนำ “ซื้อ” ปรับไปใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 เท่ากับ 8.00 บาท

เราปรับลดประมาณการผลดำเนินงานปกติปี 2564/65 ลงเป็นขาดทุน 143 ล้านบาท และกำไรปกติ 52 ล้านบาท จากประมานการเดิมที่คาดขาดทุน 84 ล้านบาท และกำไร 61 ล้านบาท ตามลำดับ เพื่อสะท้อนผลกระทบการระบาดของ COVID-19 ในประเทศที่ลากยาวกว่าคาด และผลกระทบของนักท่องเที่ยวต่างชาติฟื้นตัวช้าลง 1-2 ไตรมาสจากการระบาดของสายพันธุ์โอไมครอน

เราคงคำแนะนำ ซื้อ เนื่องจากราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside จากราคาเป้าหมายใหม่ ซึ่งได้ปรับไปใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 ที่ 8.00 บาทต่อหุ้น อิงค่าเฉลี่ย EVEBITDA ย้อนหลัง 5 ปีเดิมของกลุ่มโรงแรมขนาดใหญ่เป็น 12x ต่ำกว่าหุ้นโรงแรมขนาดใหญ่ ที่มีสัดส่วนโรงแรมต่างประเทศสูง ที่เราให้ซื้อขายที่ระดับ +1.0SD เนื่องจากการฟื้นตัวของตลาดไทยที่จะช้ากว่าตลาดยุโรป

ความเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ 1) การระบาด COVID-19 สายพันธุ์โอไมครอนที่รุนแรงกว่าคาด และ 2) การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ล่าช้ากว่าคาด

- Advertisement -