บล.กรุงศรีฯ:

  • What’s new

ประเด็นสำคัญจากมติครม.ในการอนุมัติมาตรการกระตุ้นการบริโภค

  1. กลับมาใช้มาตรการ “ช้อปดีมีคืน” มาตรใช้จ่ายเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุด 3.0 หมื่นบาทต่อคน ในช่วง 1 ม.ค. 22 – 15 ก.พ. 22 สินค้าที่ไม่รวมในมาตรการ ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, น้ำมันเชื้อเพลิง, โรงแรม, สาธารณูปโภค, และเบี้ยประกัน
  2. ขยายมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน” อีก 2 ล้านห้อง/คืน และขยายช่วงเวลาจนถึง 30 เม.ษ. 2022 จาก 31 ม.ค. 2022 เสมือนเป็นเฟส 4 ของโครงการ
  3. เสนอกรอบเวลา “มาตรการคนละครึ่ง” เฟส 4 เริ่มในมี.ค. 22 – เม.ษ. 22 รัฐบาลอยู่ระหว่างพิจารณาวงเงินว่าจะเป็น 1.5 พันบาท หรือ 3 พันบาท ต่อคนเทียบกับเฟส 3 ที่ 3 พันบาทในช่วงก.ค.-ธ.ค. 2021 ครอบคลุมผู้ใช้ 26.3 ล้านราย งบประมาณ 7.9 หมื่นลบ.
  4. เงินช่วยเหลือ 5 พันบาท ให้ผู้ทำงานช่วงกลางคืนสัญชาติไทยที่ลงทะเบียนกับประกันสังคมใน ม. 33/39/40
  • Analysis

เป็นเพียงมาตรการ “หนุน” การบริโภค ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงฐานมาตรการกระตุ้นที่สูง เราเชื่อว่ามาตรการกระตุ้นรวม 1.34 แสนลบ. ในต้นปี 2022 ต่ำกว่า 2.8 แสนลบ.ในช่วงม.ค. – เม.ษ. 21 อย่างมีนัยสำคัญ เราคาดว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยได้เพียงลดดาวน์ไซด์ของการบริโภค

  • Action/ Recommendation

มาตรการเหล่านี้จะช่วยหนุนแนวโน้มหลังความเสี่ยง Omicron ผ่อนคลายลง ทุกการระบาดระลอกใหม่จะกระทบแนวโน้มการบริโภค เราเชื่อว่ามาตรการเหล่านี้จะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญหลังความเสี่ยง Omicron ผ่อนคลายลงเนื่องจากอัตราการฉีดเข็มบูสเตอร์จะเพิ่มขึ้นในกลาง-ปลาย 1Q22

- Advertisement -