บล.กรุงศรีฯ:
กลุ่มอุตสาหกรรม | เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร |
หุ้น | CPF |
มูลค่าพื้นฐาน | 32.00 |
คำแนะนำ | BUY |
เราคาดราคาสุกรและเนื้อสัตว์อื่นจะอยู่ในระดับสูงใน 1H22 เป็นอย่างน้อย เนื่องจากวงจรการผลิตสุกรที่ยาวถึง 300 วันและเราคาดว่าราคาสุกรที่สูงขึ้นจะหนุนกำไร 4Q และกำไรปี FY22F คงคำแนะนำ ซื้อ CPF ราคาเป้าหมาย 32 บาทต่อหุ้น จากธุรกิจหลักที่เริ่มฟื้นตัวตามราคาเนื้อสัตว์ที่สูงขึ้นและส่วนแบ่งกำไรที่ฟื้นตัว
ราคาเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในธ.ค.
ราคาสุกรหน้าฟาร์มเดือนธ.ค.ในไทยและเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็น 84.00 บาทต่อกก. (+29% QTD, +9% mom) และ 48,000 ดงเวียดนาม/กก. (+5% QTD, +15% mom) ตามลำดับ เป็นผลจาก (1) เกษตรกรรายย่อยได้ขายสุกรเพื่อหลีกเลี่ยงการโดดเชือดเพื่อควบคุมโรคเพิร์สในสุกร (PRRS) ในไทยและโรค ASF ในเวียดนามใน 3Q และ (2) การขาดแคลนอุปทานใน 4Q สำหรับตลาดจีนราคาสุกรได้ฟื้นตัวเป็น 23.03 หยวน/กก. (+28% QTD, -5% mom) เรามองว่าราคาสุกรในประเทศที่สูงช่วยดึงราคาไก่และกุ้งในประเทศให้เพิ่มขึ้นจากการเป็นสินค้าทดแทน ล่าสุดราคาไก่เนื้อเพิ่มเป็น 37 บาทต่อกก. (+28% QTD, +16% mom) ในธ.ค. ขณะที่ราคากุ้งในประเทศเพิ่มเป็น 175 บาท/กก. (+46% QTD, +9% mom)
ราคาสุกรที่สูงขึ้นหนุนกำไร 4Q และ FY22F
เราคาด CPF จะบันทึกกำไรสินค้าชีวภาพ (biological gain) 1.6พันลบ. (1.3พันลบ. ในไทยและ 0.3พันลบ. ในเวียดนาม) และคาดว่า CPF จะมีกำไรสินค้าชีวภาพ 400ลบ. จาก CTI ในจีนผ่านส่วนแบ่งกำไร ขณะที่คาดว่าการผลิตสุกรในประเทศในปี 2021 จะลดลง 21% เป็น 15 ล้านตัวจาก 19 ล้านตัว ดังนั้นเราจึงคาดว่าราคาสุกรในไทยจะยังอยู่ในระดับสูงใน 1H22 เป็นอย่างน้อยเนื่องจากวัฏจักรการผลิตสุกรที่นานถึง 300 วัน
คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 32 บาทต่อหุ้น
เราคงคำแนะนำ ซื้อ TP 32บาทต่อหุ้นจาก (1) ธุรกิจหลักที่เริ่มฟื้นตัว, และ (2) ส่วนแบ่งกำไรที่สูงขึ้นทังจาก CPALL และ CTI เราปรับราคาเป้าหมายขึ้นอ้างอิง 14x FY21F EPS เรามีแนวโน้มปรับคาดการณ์กำไรปี FY21F และ FY22F จากราคาเนื้อสัตว์ที่สูงขึ้นหลังการประชุมนักวิเคราะห์ในปลาย ม.ค.