บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

SCB: เน้นเติบโตอย่างมีคุณภาพ

คาดกำไรสุทธิ 4Q21 โตแข็งแกร่ง 50%YoY เป็น 7.4 พันล้านบาท จากการตั้งสำรองหนี้ฯ ลดลง และรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิสูงขึ้น คาดกำไรลดลง 16%QoQ จากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานสูงขึ้น

  • คาดเศรษฐกิจแข็งแกร่งขึ้นในปี 2022 จากการบริโภคท่ีสูงขึ้น และการส่งออกท่ีสูงต่อเนื่อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะกระตุ้นอุปสงค์สินเช่ือใหม่ และบรรเทาความกังวลด้านหนี้สินท่ีไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs)
  • SCB มุ่งการเติบโตอย่างมีคุณภาพ เน้นการดูแลและสนับสนุนลูกค้าเดิมมากกว่าการหาลูกค้าใหม่ในปี 2022 โดยจะเดินหน้าขยายรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในธุรกิจบริหารจัดการความมั่งคั่ง ประกัน และการลงทุน มากกว่าการขยายสินเช่ือในเชิงรุก
  • SCBX จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใน 1H22 ผู้บริหารตั้งเป้าเพิ่มอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ( ROE) ของ SCB X ข้ึน 15%- 20% ในช่วง 5 ปีหน้า เติบโตนอกเหนือธุรกิจธนาคาร และควบคุมต้นทุนการดำเนินงาน
  • คาดกำไรสุทธิของ SCB จะโตต่อเนื่อง 15% YoY ในปี 2022 ขณะที่คาดว่าจะฟื้นตัวแข็งแกร่ง 29% YoY ในปี 2021 จากการตั้งสำรองลดลง และรายได้การดำเนินงานท่ีสูงข้ึน

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐานที่ 149 บาท อิงวิธี Gordon Growth Model (ROE 10%, อัตราการเติบโต 2%) คิดเป็น 1.1x PBV’22E หรือ -0.5SD ต่อค่าเฉลี่ย 5 ปี คำแนะนำ ซื้อ สะท้อนกำไรที่โตต่อเนื่อง NPLs ที่ทรงตัว และ upside จากดีลการซื้อกิจการใหม่

SCB X ในฐานะยานแม่ของกลุ่ม SCB

SCB ก่อตั้งบริษัทแม่ภายใต้ชื่อ เอสซีบี เอกซ์(SCBX) เพื่อบริหารการจัดสรรเงินทุน และการลงทุนของกลุ่มผ่านการแลกหุ้นระหว่าง SCB และ SCBX โดย SCBX กลายเป็นบริษัทแม่ของกลุ่มบริษัทธุรกิจการเงิน คอยดูแลและบริหารกลุ่มธุรกิจนี้เมื่อธุรกรรมแล้วเสร็จในช่วง 1H22 SCBX จะเสนอหุ้นสามัญออกใหม่และทำคำเสนอซื้อหุ้น SCB ทั้งหมดในอัตราส่วนการแลกหุ้นท่ี 1 หุ้นสามัญของ SCB สำหรับ 1 หุ้นสามัญของ SCBX และ 1 หุ้นบุริมสิทธิต่อ 1 หุ้นสามัญของ SCBX

SCB มีแผนปลดล็อคมูลค่าบริษัทย่อยในเครือด้วยการนำจดทะเบียนบน SET โดยคาดว่าธนาคารจะใช้เงินทุนของตนมาขยายธุรกิจธนาคาร และแพลตฟอร์มบริการทางการเงินใหม่ๆ ภายใต้ยานแม่ได้มากขึ้น แต่ภาพรวมด้านกำไรสุทธิของ SCBX ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าจะขึ้นอยู่กับธุรกิจธนาคารเป็นส่วนใหญ่

เน้นรองรับลูกค้าเดิม และกระตุ้นการเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย

ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (CEO) คุณอาทิตย์ นันทวิทยา ให้ภาพรวมทางธุรกิจกับหนังสือพิมพ์ในประเทศว่าธนาคารจะไม่มุ่งเน้นขยายสินเช่ือเชิงรุกในปี 2022 เพราะเศรษฐกิจภาพรวมฟื้นตัวในอัตราชะลอลง แต่จะเน้นการดูแลและสนับสนุนฐานลูกค้าเดิมมากกว่าการหาลูกค้าใหม่แทน นอกจากนี้ธนาคารจะเน้นการขยายฐานรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย โดยเฉพาะจากธุรกิจบริหารจัดการความมั่งคั่ง ประกัน และด้านการลงทุน

ตั้งเป้าเพิ่ม ROE เป็น 15%-20% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า

ภายใต้โครงสร้างธุรกิจใหม่ของ SCBX ผู้บริหารของ SCB ตั้งเป้าเพิ่ม ROE เป็น 15%-20% ในช่วง 5 ปีข้างหน้าจากราว 8.8% ใน 9M21 ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมาย ROE ที่ตั้งเป้าไว้นั้น ทาง SCB มีแผนขยายกิจการเหนือขอบเขตธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิม ด้วยการเพิ่มฐานรายได้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลแบงก์กิ้ง และการควบคุมต้นทุนมากขึ้น ทั้งนี้ในเดือนก.ย.2021 ธนาคารมีจำนวนผู้ใช้บริการระบบดิจิทัลอยู่ราว 18 ล้านราย ซึ่งมากที่สุดในกลุ่มธนาคารไทยเทียบกับ 13.7 ล้านรายในเดือน ธ.ค. 2020

คาดกำไรสุทธิ 4Q21 โตแข็งแกร่ง YoY

  • คาดกำไรสุทธิ 4Q21 โตแข็งแกร่ง 50%YoY เป็น 7.4 พันล้านบาท จากการตั้งสำรองหนี้ฯ ลดลง และรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิสูงขึ้น แต่คาดกำไรสุทธิจะลดลง 16% QoQ จากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานสูงขึ้น
  • กำไรสุทธิปี 2021 จะกลับมาเติบโต 29% YoY (-33% YoY ในปี 2020) จากการตั้งสำรองหนี้ฯ ลดลง และรายได้การดำเนินงานสูงขึ้น และคาดว่ากำไรจะโตต่อเนื่อง 15% YoY ในปี 2022 จากการตั้งสำรองหนี้ฯ ลดลงและรายได้การดำเนินงานท่ีสูงขึ้น ล้อกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
  • คาดสินเช่ือจะโตต่อเนื่อง 1.4%QoQ (+2.5%YoY) จากอุปสงค์สินเช่ือภาคธุรกิจและผู้บริโภคท่ีสูงขึ้น โดย ประเมินอัตราส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ทรงตัว QoQ ท่ี 3.1% และคาดอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มเป็น 46.9% ใน 4Q21 (42.8% ใน 3Q21) จากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้นจากปัจจัยฤดูกาล
  • คาดอัตราส่วน NPL ต่อสินเช่ือรวม (NPL ratio) เพิ่มเป็น 4% ใน 4Q21 (3.9% ใน 3Q21) จากสินเช่ือมาตรการช่วยเหลือท่ีถูกปรับชั้นเป็น NPLs คาดอัตราการตั้งสำรองจะลดลงเล็กน้อยเป็น 136% จาก NPLs ท่ีสูงขึ้น

Revenue Breakdown

รายได้ของธนาคารในปี 2020 มาจาก 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย

(1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 67% ของรายได้ทั้งหมดของธนาคารในปี 2020 โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเป็นรายได้ส่วนท่ีมากท่ีสุด และหากสินเช่ือของธนาคารมีการเติบโต และ NIM ท่ีสูงขึ้น จะส่งผลให้รายได้ส่วนนี้ปรับตัวสูงขึ้น

(2) รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 25% ของรายได้ทั้งหมดของธนาคารในปี 2020 โดยธุรกิจส่วนนี้ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมประกันธนาคาร และค่าธรรมเนียม Wealth Management

(3) รายได้จากการดำเนินงานอื่นๆคิดเป็น 8% ของรายได้ทั้งหมดของธนาคารในปี 2020 รายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ ส่วนใหญ่เกิดจากกำไรการลงทุน การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และเงินปันผล

- Advertisement -