บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

PSL: คาดค่าระวางแข็งแกร่งต่อเนื่องในปี 2022 และ 2023

คาดอัตราค่าระวางเรือเฉลี่ย (TCE) สำหรับเรือขนาดเล็ก-กลาง (Handysize และ Supramax) จะยังมีระดับที่ทำกำไรได้สูงตลอดทั้งปี 2022-23 จากประเด็นอุปทานล้นเกินท่ีหมดไป เป็นผลจาก 1) คำสั่งต่อเรือที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ 2) ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประเด็นลดคาร์บอน ที่ทำให้กลุ่มเจ้าของเรือเลื่อนรอบการลงทุนใหม่ออกไป และ 3) ตลาดยังได้อานิสงส์จากแนวโน้มการขนส่งสินค้าในรูปแบบตู้คอนเทนเนอร์ และเป็นแบบเทกอง ซึ่งคาดว่าจะเป็นเช่นนี้ไปถึงกลางปี 2022 เป็นอย่างน้อย

• คาดการนำเข้าสินแร่เหล็กและสินค้าเกษตรของจีนจะซบเซาไปจนถึง 1H22 เป็นอย่างน้อย ซึ่งน่าจะไปฉุด TCE กลุ่มเรือเทกองลงจากฐานสูงใน 2H21 แต่อยู่ในระดับที่กลุ่มเจ้าของเรือท้ังหมดยังทำกำไรและมีอัตรากำไรท่ีดีได้

• คาดกำไรสุทธิ 4Q21 ที่ 1,431 ล้านบาท (-5%QoQ, +5,120%YoY) ลดลงเล็กน้อยจากจุดสูงสุดตลอดกาลใน 3Q21

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐานที่ 21.20 บาท อิง 2.0x PBV’22E คิดเป็น 2S.D. ต่อค่าเฉลี่ย 10 ปี

คาดการค้าเรือเทกองช่วง 1H22 ยังอยู่ในระดับต่ำ

คาดอุปสงค์เรือเทกองใน 1H22 จะชะลอตัวลงหลังจากฟื้นตัวแข็งแกร่งมาในปี 2021 ที่มาพร้อมกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นของกลุ่มประเทศหลักๆ ขณะที่สต็อกสินค้าเทกองบางส่วนยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในจีนที่มีสต็อกสินแร่เหล็กและถั่วเหลืองแตะจุดสูงสุดของวัธจักรแล้ว โดยสินแร่เหล็กและสินค้าเกษตรนั้นคิดเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของ PSL และปริมาณเทกองตลาดโลก ขณะท่ีคาดการนำเข้าสินแร่เหล็กและสินค้าเกษตรของจีนจะซบเซาไปจนถึง 1H22 เป็นอย่างน้อย ซึ่งน่าจะไปฉุด TCE กลุ่มเรือเทกองลงจากฐานสูงใน 2H21 แต่อยู่ในระดับที่กลุ่มเจ้าของเรือทั้งหมดยังทำกำไรและมีอัตรากำไรที่ดีได้ ทั้งนี้ยังมีมุมมองบวกต่อภาพรวมอุตสาหกรรม และคาดว่าค่าระวางจะยังอยู่ในระดับที่ทำกำไรได้สูงหรือยืนเหนือ US$15,000/วัน ในปี 2022 สอดคล้องกับที่ Clarkson ประเมินว่าอุปสงค์-อุปทานจะปรับดีขึ้นมากในปี 2022 ด้วยอุปทานเรือเทกองขนาดเล็กโตขึ้น 1.8% หรือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี เทียบกับอุปสงค์ในเชิงขนาดตันต่อไมล์ที่คาดว่าจะโตขึ้น 3.1%

การเติบโตของอุปทานกองเรือที่จำกัด หนุนให้มีค่าระวางที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง

คาด TCE สำหรับเรือขนาดเล็ก-กลาง (Handysize และ Supramax) จะยังมีระดับที่ทำกำไรได้สูงตลอดทั้งปี 2022-23 จากประเด็นอุปทานล้นเกินที่หมดไป ซึ่งเป็นผลจากคำสั่งต่อเรือที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ หรือสำหรับเรือ Handysize-Supramax ท่ี 5.1% และ Handysize อย่างเดียวที่เพียง 2.9% (รายได้ 40% ของ PSL มาจากธุรกิจ Handysize)

อีกปัจจัยที่จะจำกัดการเติบโตของอุปทานกองเรือ คือ ประเด็นร้อนด้านการลดคาร์บอน เพราะกลุ่มเจ้าของเรือยังคง ประเมินกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น และผลกระทบต่อกิจการของตน ทำให้ผู้ประกอบการต้องเลื่อนการ ตัดสินใจลงทุนรอบใหม่ออกไปก่อน

ขณะที่ตลาดเทกองยังได้อานิสงส์จากแนวโน้มระยะสั้นของการขนส่งสินค้าในรูปแบบตู้คอนเทนเนอร์ และเป็นแบบเทกอง ซึ่งคาดว่าจะเป็นเช่นนี้ไปถึงกลางปี 2022 เป็นอย่างน้อย

สรุปผลประกอบการ

  • คาดกำไรสุทธิ 4Q21 ที่ 1,431 ล้านบาท (-5%QoQ, +5,120%YoY) ลดลงเล็กน้อยจากจุดสูงสุดตลอดกาลใน 3Q21
  • กำไรที่พุ่งขึ้น YoY เป็นผลจาก TCE ที่เอื้อต่อการทำกำไรระดับสูง ซึ่งได้อานิสงส์มาจากสภาวะอุปทานขาดแคลนบวกกับอุปสงค์การค้าตลาด seaborne ที่ฟื้นตัวขึ้น หลังประเทศหลักๆคลายล็อกดาวน์ ส่วนกำไรที่ ลดลง QoQ ถูกฉุดจาก TCE ที่ลดลงจากฐานสูงใน 3Q21
  • คาดกำไรเฉลี่ย/เรือ/วัน ของ PSL จะอยู่ที่ US$23,020/ วัน ใน 3Q21 (-7%QoQ, +130%YoY) ขณะที่คาดว่าค่าระวางเฉลี่ยของตลาดสำหรับเรือ Supramax และ Handy-sized จะอยู่ที่ US$30,481 (-11%QoQ, +184%YoY) และ US$31,370 (-3%QoQ, +182%YoY) ตามลำดับ ค่าระวางที่ต่ำกว่าตลาดเป็นผลจากขนาดกองเรือที่เล็กกว่าตลาด และระยะเวลาของสัญญากับลูกค้าที่ต่างกัน
  • คาด EBITDA ใน 4Q21 จะอยู่ที่ 1,888 ล้านบาท (-4%QoQ, +287%YoY) นับเป็นจุดสูงอันดับ 2 ในรอบ 10 ปี

ปรับเพิ่มกำไรปี 2021-22 ขึ้น 14% และ 5% ตามลำดับ

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2021 ขึ้น 14% และ 2022 ขึ้น 5% เพื่อสะท้อนถึง 1) การปรับเพิ่มสมมติฐานรายได้ขึ้น 2%-3% หลังปรับเพิ่มสมมติฐานค่าระวางปี 2021 ขึ้น 9% เป็น US$ 19,591/วัน และ 2022 ขึ้น 1% US$ 15,893/วัน 2) ปรับเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) สำหรับปี 2021-22 เป็น 60.2% และ 52.7% ตามลำดับ หลังจากปรับเพิ่มสมมติฐานรายได้ ขณะที่คงต้นทุนการดำเนินงานเอาไว้ และ 3) คาดว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายจะลดลง หลังปรับเพิ่มสมมติฐานรายได้ขึ้น

Revenue Breakdown

ปัจจุบันบริษัทมีกองเรือบรรทุกสินค้าเทกองจำนวน 36 ลำ รวมน้ำหนักบรรทุก 1,585,805DWT โดยกองเรือของ บริษัทจดทะเบียนเป็นเรือธงไทยและสิงคโปร์จำนวน 20 และ 16 ลำ ตามลำดับ บริษัทดำเนินธุรกิจบริการขนส่ง สินค้าทางเรือ ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยให้บริการขนส่งทางเรือที่รองรับสินค้าหลากหลาย ประเภทประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ 30%, สินค้าเกษตร 19%, เหล็ก 11%,ปุ๋ย 9%, แร่ 13%, ถ่านหิน 9% ท่อนซุง 1% และรายการอื่นๆ 8%

บริษัทให้บริการเรือขนส่งสินค้าซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท:

  • การให้บริการเป็นรายเที่ยว (Voyage Charter) คิดเป็นสัดส่วนที่ 9% จากรายได้รวม: การให้บริการลักษณะนี้ ผู้เช่าบริการจะชำระค่าระวางเรือให้แก่บริษัท เพื่อขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางไปยังอีกท่าเรือปลายทางใดๆ ตามที่ตกลง ซึ่งบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับเที่ยวการเดินเรือ ซึ่งรวมถึงค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
  • การเช่าเหมาลำเป็นระยะเวลา (Time Charter) คิดเป็นสัดส่วนที่ 91% จากรายได้รวม: ลูกค้าจะเช่าและว่าจ้างบริษัทเพื่อควบควบคุมเรือ และขนส่งสินค้าตามระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งลูกค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับเที่ยวการเดินทางนั้นๆ รวมถึงค่าน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย
- Advertisement -