Daily Focus – Selective Buy on Earnings and Low PER/PBV
ตลาดหุ้นวานนี้:
SET Index ปรับตัวลงแรงกว่าคาด โดยระหว่างทำจุดต่ำสุดที่ 1,617 จุด ลบถึงราว 25 จุด ก่อนจะรีบาวด์ในช่วงท้ายตลาดขึ้นมาปิดลบแคบลงเหลือ 9.27 จุด ณ สิ้นวัน โดยตอบรับเชิงลบถ้อยแถลงของประธาน FED ภายหลังการประชุม สถาบันในประเทศยังคงขายสุทธิหนาแน่น 2.1 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเช่นกัน 763 ลบ. (และ Short SET50 Index Futures สูงถึง 2.7 หมื่นสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้:
เราคาด SET Index แกว่ง Sideways ในกรอบ 1,625-1,640 จุด โดยคาดเริ่มทรงตัวได้บ้างหลังวานนี้มีแรงซื้อกลับจากแนวรับบริเวณ 1,620 จุดค่อนข้างหนาแน่น แม้เม็ดเงินยังคงไหลออกเกือบทุกสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งหุ้น พันธบัตร ทองคํา และถือครองดอลลาร์ ทำให้ Dollar Index ทำ New High ในรอบ 1 ปีครึ่ง แต่เราประเมินกระแสเงินทุนจะไหลออกจากหุ้นไทยจำกัด เนื่องจาก 4 ปีที่ผ่านมาไหลออกไปแล้วกว่า 6 แสนลบ. ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศทยอยฟื้นตัว เช่นเดียวกับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ทยอยประกาศออกมา ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวที่จะเริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะใน 2H22 เป็นต้นไป หลัง COVID-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้กลับสู่ระดับปกติในระยะยาว กลยุทธ์เราจึงยังเน้นลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว มีกำไร 4Q21 แข็งแกร่ง และมี PER/PBV ไม่สูง คาดว่าจะเผชิญแรงขายที่จำกัด และ Outperform ตลาด
กลยุทธ์: เลือกลงทุนโดยเน้นหุ้น PER/PBV ต่ำ และหุ้นที่คาดกำไร 4Q21 แข็งแกร่ง
หุ้นเด่นเดือน ม.ค.: CK, EA, HMPRO, KBANK, ORI
หุ้นเด่นวันนี้: TU
- แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 30 บาท
- คาดกำไร 4Q21 -2% Q-Q, +31% Y-Y ดีกว่าที่เคยคาด หนุนจากการทยอยปรับขึ้นราคาสินค้า OEM เพื่อสะท้อนต้นทุนที่สูงขึ้น แม้ 1Q22 จะเผชิญต้นทุนบรรจุภัณฑ์และราคาปลาทูน่าสูงขึ้น แต่คาดเจรจาปรับราคาสินค้ากลุ่ม Branded แล้วเสร็จในเดือน ก.พ. ขณะที่แนวโน้ม Demand สินค้ากลุ่ม Frozen, Pet Care รวมถึง Ambient ยังแข็งแกร่ง
- โอมิครอนยังกระทบจำกัดต่อธุรกิจหลักของบริษัท ยกเว้น Red Lobster ภาพโดยรวมยังสอดคล้องกับประมาณการของเราที่คาดกำไรปกติปี 2021-2022 +13% Y-Y และ +3% Y-Y
- แนวรับ 20-19.80 // 19.30 บาท แนวต้าน 20.90-21 // 21.80-22 บาท
Fund Flow:
วานนี้กระแสเงินทุนยังไหลออกจากภูมิภาคอีก US$ 2,318 ล้าน นำโดยเกาหลีใต้และไต้หวัน US$ 1,730 ล้านและ US$ 552 ล้าน โดยตอบรับเชิงลบหลังการประชุม FED ส่วนอาเซียนเม็ดเงินไหลออกเช่นกัน แต่เบาบางกว่า นำโดยไทย US$ 23 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่ายังค่อนไปในทางไหลออกและถือครองดอลลาร์
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+) PTTEP กำไรสุทธิ 4Q21 +12%, + 321% Y-Y โดยมี Impairment โครงการ LNG ในโมซัมบิค และเยตากุนในพม่า หากตัดออกกำไรปกติจะ +51% Q-Q, +240% Y-Y แข็งแกร่งตามราคาและปริมาณขายที่สูงขึ้น แนวโน้มปี 2022 คาดยังเติบโตต่อเนื่องตามทิศทางราคา Commodity ยังคงราคาเป้าหมาย 156 บาท แนะนำ “ซื้อ” (Source: FSSIA)
(+) AOT แนวโน้มการฟื้นตัวของผู้โดยสารโดยรวมเป็นไปตามคาด โดยปี 2022 การฟื้นตัวหลักๆ มาจากผู้โดยสารในประเทศ คาดประมาณการที่คาด 35.9 ล้าน คนดูมี Upside ส่วนประมาณการผู้โดยสารต่างประเทศ 26.3 ล้านคน ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินนอก จากนี้ช่วงระหว่างรอการฟื้นตัว AOT มีการลงทุนขยาย Capacity เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต ทั้ง Satellite Terminal การสร้างรันเวย์ที่ 3 และการขยายอาคารฝั่งตะวันออก รวมถึงแผนรับสนามบินเข้ามาบริหารเพิ่ม 3 แห่ง ในอุดรธานี บุรีรัมย์ และกระบี่ รองรับการเติบโตระยะยาว ส่วนด้านฐานะการเงินยังแข็งแรง เรายังมองปี 2022 จะขาดทุนเป็นสุดท้าย ก่อนพลิกมีกำไรได้ในปีหน้า คงราคาเป้าหมาย 79 บาท แนะนำ “ซื้อ” (Source: FSSIA)
(+) AP เปิดเผยเป้าหมายทางการเงินปี 2022 เชิงรุก ตั้งเป้าเปิดโครงการใหม่มูลค่ารวม 7.8 หมื่นลบ. (แนวราบ 70%) สูงกว่าปี 2021 อย่างมีนัยยะ และตั้งเป้า Presale และรายได้ 5 หมื่นลบ. และ 4.7 หมื่นลบ. สะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของตลาดอสังหาฯ ปีนี้ที่แข็งแกร่ง และลูกว่าประมาณการปัจจุบันของ FSSIA อยู่ถึง 30% ทำให้ประมาณการกำไรปีนี้ที่คาด 4.7 พันลบ. +4% Y-Y ดูมี Upside รวมถึงราคาเป้าหมายของ FSSIA ที่ 11.60 บาท ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ”
(+) HL แนวโน้มกำไร 4Q21 ดูดีกว่าคาด อาจทำได้ราว 18-20 ลบ. (เดิมคาด 16 ลบ.) ลดลง Q-Q เพราะ 3Q21 ได้ผลบวกจาก Lockdown และคาดโต +40% Y-Y จบปี 2021 คาดมีกำไรสุทธิ +44% Y-Y ด้วย SSSG +14% Y-Y เราอยู่ระหว่างปรับเพิ่มกำไรปี 2022 จากปัจจุบันคาดโต +55% Y-Y จากสาขาใหม่ที่อาจมากกว่าคาดที่ 4 สาขา กอปรกับยอดใช้จ่ายต่อบิลยังสูงกว่า 500 บาท ดีกว่าที่เคยคาดว่าจะลดลงต่ำกว่า นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างพิจารณาดีล M&A หากเข้ามาทันปีนี้จะเป็น Upside ต่อประมาณการของเรา อยู่ระหว่างทบทวนราคาเป้าหมายจากปัจจุบันที่ 15 บาท แนะนำ “เก็งกำไร”
(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 7.31 จุด หรือ 0.02% ปิดที่ 34,160.78 จุด จากการเปิดเผย GDP 4Q21 ของสหรัฐที่ขยายตัว 6.9% สูงกว่านักวิเคราะห์คาดที่ 5.5% อย่างไรก็ดี ถูกกดดันจากความกังวลเฟดอาจเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวก หนุนจากการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของหุ้นรายตัว
(+) ตลาดหุ้นเอเชีย ปรับขึ้น ฟื้นตัวหลังปรับลงในวันก่อนหน้ารวมถึงหนุนจาก GDP 4Q21 ของสหรัฐที่ออกมาดีกว่าคาด
(0) ค่าเงินบาท แกว่งในกรอบแคบล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 33.26 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 74 เซนต์หรือ 0.9% ปิดที่ 86.61 ดอลลาร์/บาร์เรล จากความกังวลผลกระทบจากเฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. และการแข็งค่าของของสกุลเงินดอลลาร์
(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 36.6 ดอลลาร์หรือ 2% ปิดที่ 1,793.1 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และความกังวลว่าเฟดอาจเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1,014.26 / +-