บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):
TMBThanachart Bank (TTB.BK / TTB TB)* ปรับเข้าสู่โหมดของการเติบโต
Event
ปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย
Key highlights
สิ้นสุดโหมดของการประหยัดต้นทุน
กำไรสุทธิปี 2564 ของ TTB อยู่ที่ 1.05 หมื่นล้านบาท (+3.6% YoY) เนื่องจาก credit cost ลดลง 20bps ค่าใช้จ่ายในการกันสำรองที่ลดลง 13% และการบีบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้ลดลง 1% เพื่อหักล้างไปกับ NII ที่ลดลง (สินเชื่อหดตัว) ซึ่งเมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานย้อนหลังไป 2-3 ปี เราพบว่ากำไรของ TTB ที่เพิ่มขึ้นมาจากการลดต้นทุนทางการเงินลง เนื่องจากต้นทุนทางการเงินของ Thanachart Bank ถูกแทนที่ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าหลังการควบรวม อย่างไรก็ตาม เราคิดว่าการประหยัดต้นทุนทางการเงินมาถึงสุดทางแล้ว และไม่น่าจะลดลงได้อีก
ปรับเข้าสู่โหมดของการเติบโต
ธนาคารได้ปรับกลยุทธ์จากโหมดประหยัดต้นทุนเป็นโหมดของการเติบโต โดยอาศัยจุดแข็งในฐานะผู้นำตลาดสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งมีเครือข่าย supply chain ใหญ่ที่สุด (ดีลเลอร์รถ, เครื่องข่ายศูนย์ซ่อม, บริษัทประกันและฐานลูกค้า) ซึ่งเมื่อเทียบกับผู้เล่นรายใหญ่อื่นๆ ในตลาดสินเชื่อรถยนต์ yield ของ TTB ถือว่าอยู่ที่ 5.5% (ของ Bank of Ayudhya (BAY.BK / BAY TB)* สูงที่สุดที่ 7.8% และของ Kasikornbank (KBANK.BK / KBANK TB)* ต่ำที่สุดที่ 5.1%) ทั้งนี้เรามองว่า TTB ยังมีโอกาสที่จะเพิ่ม yield สินเชื่อ และ NIM ได้อีก โดยการปรับโครงสร้างสินเชื่อจากที่เน้นกลุ่ม yield ต่ำ และผ่าน loan underwriting ซึ่งที่ระดับนี้เราใช้สมมติฐานว่า yield และ NIM จะเพิ่มขึ้น 10bps ในปี 2565/2566
คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น
TTB ยังคงใช้นโยบายระมัดระวังในการจัดการโครงการผ่อนผันหนี้ตลอดช่วงที่ COVID-19 ระบาดในปี 2563-64 โดยธนาคารได้ปรับลูกหนี้มีปัญหาที่มีสถานะอ่อนแอไปเป็น NPL และทำการ write-off หนี้เสียมาตั้งแต่ต้นปี 2564, ปรับลดดอกเบี้ยคงค้างของลูกหนี้มีปัญหาที่ไม่สามารถชำระได้ และโอน NPLs เข้าไปที่โกดังสินทรัพย์ประมาณ 2.6 พันล้านบาทในปี 2564 ดังนั้นดอกเบี้ยคงค้างของหนี้มีปัญหาจึงลดลงถึง 75% (จากระดับสูงสุดใน 3Q63) ทั้งนี้เนื่องจากยอดหนี้ในโครงการผ่อนผันหนี้คิดเป็น 12% ของสินเชื่อรวม, และมีแผนเชิงรุกสำหรับ AMC ดังนั้น TTB จึงน่าจะสามารถลด NPLs ลงได้อีกในปี 2565
Re-rate P/BV เป็น 0.7x ราคาเป้าหมายปี 2565F ใหม่ที่ 1.60 บาท (จากเดิม 1.40 บาท) และแนะนำซื้อ
เราปรับสมมติฐานหลักในปี 2565/66 โดยเราได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และ margin ขึ้นอีก 10bps แต่ปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้วยจากการที่ TTB ปรับมาใช้กลยุทธ์สร้างการเติบโต และปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงระบบ IT backbone ของธนาคาร เพื่อรองรับบริการดิจิทัลและธุรกรรมธนาคารแบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม หลังปรับสมมติฐานต่างๆ แล้ว เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2565-66 เอาไว้เท่าเดิม แต่เรามองบวกมากขึ้นกับทิศทางใหม่ของธนาคาร และ re-rate PBV เป็น 0.70x ทำให้ได้ราคาเป้าหมายปี 2565 ใหม่ที่ 1.60 บาท จากเดิม 1.40 บาท และเราแนะนำให้ซื้อ TTB
Risks เพิ่มรายได้ไม่สำเร็จ, NPLs เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น