บล.คันทรี่ กรุ๊ป:
SPA: คาดกำไรพลิกเป็นบวกตั้งแต่ 4Q22
คาดขาดทุน 4Q21 ที่ 6.9 ล้านบาท นับเป็นขาดทุนติดต่อกัน 7 ไตรมาส จากผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่าจุดคุ้มทุนของ EBIT
- คาดว่าผลขาดทุนการดำเนินงานจะน้อยลงทั้ง YoY และ QoQ จากการคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายท่ีมีประสิทธิภาพมากข้ึน
- คาดรายได้ 4Q21 จะอยู่ที่ 40 ล้านบาท (-51%YoY, +209%QoQ) ซึ่งได้รับผลกระทบมาจากอุปสงค์ในประเทศท่ีอ่อนแอ
- ปรับลดประมาณการกำไรปี 2021-23 ลงเพื่อสะท้อนกลุ่มท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้าจากอุปสงค์ในประเทศท่ีอ่อนแอ
- คาดกำไรปี 2022 จะยังขาดทุน ประเมินว่าจะกลับไปเป็นกำไรและแตะระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิดได้ในปี 2023 จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการขยายสาขา
เล็งเห็นทิศทางเชิงบวกในกลุ่มการท่องเที่ยวจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน และการผ่อนปรนมาตรการเดินทางเข้าประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ จึงยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ลดมูลค่าพื้นฐานลง 9% เป็น 8.30 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC 9.8%, Terminal Growth 3.5%) อิง 25.9x PE’23
พรีวิวกําไร 4Q21
- คาดขาดทุนต่อเนื่องใน 4Q21 ท่ี 69 ล้านบาท เทียบขาดทุนสุทธิ 78 ล้านบาทใน 4Q20 และขาดทุนสุทธิ 78 ล้านบาทใน 3Q21
- การปรับตัวดีขึ้น YoY และ QoQ เป็นผลจากการคุมต้นทุน และค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- คาดรายได้ 4Q21 จะอยู่ที่ 40 ล้านบาท (-51%YoY, +209%QoQ) การเติบโต QoQ ได้แรงหนุนจากการ กลับมาเปิดร้านสปา 55 สาขาใน 4Q21 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าท่ีเปิดเพียง 5 สาขา ส่วนท่ีลดลง YoY เป็นผล จากอุปสงค์ในประเทศท่ีอ่อนแอ
- บริษัทเปิดสาขาใหม่เพียง 1 แห่ง ในช่วง 4Q21 ทำให้มีสาขาทั้งหมด 71 แห่ง ประกอบด้วย 66 สาขาในประเทศ และ 5 สาขาในต่างประเทศ
- คาดค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) จะลดลงเป็น 77 ล้านบาท (-39%YoY, +39%QoQ) จากการปิดสาขา และการประหยัดต้นทุน
ภาพรวมปี 2022
- คาดขาดทุนต่อเนื่องในปี 2022 จากอุปสงค์ในประเทศท่ีอ่อนแอ แต่จะดีกว่าตัวเลขปี 2021
- คาดจำนวนนักท่องเท่ียวต่างชาติในไทยจะดีขึ้นจากปีก่อน หนุนจากท่ีทั่วโลกฉีดวัคซีนครบโดสมากขึ้น และการผ่อนปรนมาตรการเดินทางเข้าไทยสำหรับนักท่องเท่ียวต่างชาติ
Expect sharp earnings recovery in 2023
ปรับลดประมาณการกําไรปี 2021-23 เพื่อสะท้อนกลุ่มท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้า
ปรับลดประมาณการกำไรปี 2021-22 ลงเป็นขาดทุนสุทธิ และปรับลดกำไรสุทธิปี 2023 ลง 1% หลังจากปรับสมมติฐาน ดังต่อไปนี้
- ปรับสมมติฐานยอดขายปี 2021-23 ในระดับ -80%/-60%/2% ตามลำดับ เพื่อสะท้อนถึงผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่แพร่ระบาดนานกว่าคาด และคาดว่าจำนวนนักท้องเท่ียวขาเข้าจะฟื้นตัวอย่างมากในปี 2023 หลังทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนครบโดสมากขึ้น
- ปรับสมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ปี 2021-23 ลงจาก 3.4%/29.3%/34.2% เป็น -134.5%/2.3%/27.9% ตามลำดับ เพื่อสะท้อนถึงยอดขายท่ีลดลง แม้ต้นทุนคงท่ีส่วนใหญ่จะเก่ียวข้องกับค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าเสื่อม และค่าวัตถุดิบ
ด้วยอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ จึงคาดว่าบริษัทจะขาดทุนต่อเนื่องใน 1Q22-3Q22 และพลิกเป็นกําไรได้ใน 4Q22 โดยคาดว่าจะกลับไปเป็นกําไร และแตะระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิดได้ในปี 2023 จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ปรับดีขึ้น บวกกับความคืบหน้าด้านการฉีดวัควีน คงคําแนะนํา “ซือ้” แต่ลดมูลค่าพื้นฐานลง 9% เป็น 8.30 บาท คํานวณด้วยวิธี DCF (WACC 9.8%, Terminal Growth 3.5%) อิง 25.9xPE’23
Revenue Breakdown
SPA ดำเนินธุรกิจหลักอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจสปา (91% ของรายได้ทั้งหมด) ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร (3%) ธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์สปา (5%) และธุรกิจโรงเรียนนวดแผนไทย (2%)
ในปี 2020 บริษัทมีเครือข่ายสาขาทั้งหมด 70 แห่ง ประกอบด้วย Rarin Jinda Wellness Spa 3 สาขา Let’s Relax Spa 45 สาขา บ้านสวนมาสสาจ 11 สาขา Stretch Meby Let’s Relax 6 สาขา และ Face Care by Let’s Relax 5 สาขา