บล.หยวนต้า (ประเทศไทย):
Action
BUY (Maintain)
TP upside (downside) +27.4%
Close Feb 09, 2022 Price (THB) 64.75
12M Target (THB) 82.50
Previous Target (THB) 99.00
What’s new?
- KCE ประสบปัญหาในการขึ้นกำลังการผลิต 600K ตารางฟุตที่โรงงานลาดกระบัง และ KCE-Tech จาก Vendor ใหม่ไม่สามารถส่งมอบงานได้อย่างที่หวังไว้ นอกจากนี้โรงงานใหม่ที่นิคมโรจนะเลื่อนกําหนดการเปิด ออกไปเป็น 2Q66 จากเดิม 4Q65 เพราะมีการเปลี่ยนแปลงผู้รับเหมา
Our View
- เราปรับลดประมาณการปี 2565/66 ลง 13% และ 9% ตามลำดับ ให้สะท้อนความล่าช้าของการขึ้นกําลังการผลิตใหม่
- เราคงคําแนะนํา “ซื้อ” อิงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 ที่ 82.50 บาทต่อหุ้น อิง PER Band 35.0x (+1.0SD) ราคาหุ้นที่ปรับลดลง 12% หลังประกาศงบ 4Q64 สะท้อนความล่าช้าของการขึ้นกําลังการผลิตใหม่ไปแล้ว
KCE ELECTRONICS ปัญหาในการขึ้นกำลังการผลิตคือโอกาสกลับเข้าสะสม
มุมมองเป็นลบหลังการประชุมกับผู้บริหาร แต่สะท้อนในราคาหุ้นไปแล้ว
1) ยอดขายรูป USD ใน 4Q64 ที่ 126.5 (+9.5% QoQ, +12.4% YoY) มีผลกระทบจาก Consignment ราว 120 ล้านบาท และการขึ้นกำลังการผลิตใหม่ที่ล่าช้าทำให้ทำได้ไม่เต็มศักยภาพ
2) โรงงานที่ลาดกระบัง KCE เพิ่มกำลังการผลิตราว 300K ตารางฟุต โดย Vender รายใหม่ติดตั้งไปตั้งแต่ต้นไตรมาส 4Q64 แต่เมื่อเริ่มผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพและยังมีบาง process ที่ไม่ราบรื่น เกิด Scape Rate จำนวนมาก เนื่องจาก KCE เพิ่มพนักงานในส่วนการผลิตอื่นๆ เพื่อรองกับสายการผลิตใหม่ไปแล้ว แต่เมื่อเครื่องจักรที่จะมาปลดล็อคคอขวดมีปัญหา ทำให้ KCE ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มกดดัน GPM
3) โรงงาน KCE-Tech กำลังการผลิตใหม่ 300K ตารางฟุต ซึ่งเดิมมีกำหนดการเริ่มผลิตภายใน 4Q64 KCE เลือกที่จะชะลอการติดตั้งเพื่อแก้ไขปัญหาสายการผลิตที่โรงงานลาดกระบังก่อน โดย KCE มีกำหนดการเริ่มใช้กำลังการผลิตที่โรงงาน KCE-Tech ภายในเดือนก.พ.65 แต่เนื่องจากกำลังการผลิตใหม่ที่ลาดกระบังมีปัญหาในช่วงแรกของการขึ้นสายการผลิต และเครื่องจักรมาจาก Vender เดียวกัน ทำให้การขึ้นสายการผลิตช่วงแรกที่ KCE-Tech อาจทำได้ไม่เต็มศักยภาพเช่นกัน
4) ในอดีต KCE มีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาสายการผลิตใหม่หลายครั้ง และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกครั้ง ทำให้เราคาดว่าปัญหาสายการผลิตใหม่ที่เป็นเครื่องได้ไม่เต็มศักยภาพจะคลี่คลายได้ภายใน 1H65 เป็นอย่างช้า เราประเมินผลกระทบต่อยอดขายในปี 2565 จะหายไปราว 10 ล้านเหรียญต่อไตรมาส หรือราว 20 ล้านเหรียญในกรณีขึ้นการผลิตได้ล่าช้า 2 ไตรมาส
5) GPM ใน 4Q64 ที่ระดับ 25.3% (-187bps QoQ, -113bps YoY) นอกจากแรงกดดันจากสายการผลิตที่เดินได้ไม่เต็มศักยภาพ ยังโดนแรงกดดันจากราคาวัตถุดิบ โดยเฉพาะ Copper Price ที่ปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี KCE ได้ปรับขึ้นราคาขายอีกครั้งในช่วงต้นปีราว 3% ซึ่งจะช่วยลดภาระดังกล่าว
6) โรงงานใหม่ที่โรจนะ KCE เลื่อนกรอบการเปิดโรงงานเป็น 2Q66 จากเดิม 4Q65 เนื่องจากบริษัทฯ เปลี่ยนผู้รับเหมาก่อสร้าง การเลื่อนเปิดโรงงานออกไปจะกระทบประมาณการของตลาดในปี 2566
7) Outlook 1Q65 บริษัทฯ มี Booking เฉพาะส่วนของ PCB ราว 120 ล้านเหรียญ (ใน 4Q64 ส่วนของ PCB อยู่ที่ 106 ล้านเหรียญ) แต่บริษัทฯ จะผลิตได้ไม่เต็มศักยภาพ การจะผลิตระดับ 120 ล้านเหรียญ จำเป็นต้องมีกำลังการผลิตส่วนเพิ่ม 600K ตารางฟุต ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นใน 2Q65 เป็นอย่างเร็ว ขณะที่ GPM ใน 1Q65 บริษัทฯ Guidance ดีขึ้น QoQ เพราะการแก้ปัญหาการผลิตที่โรงงานลาดกระบังทำไปมากแล้ว และบริษัทฯ จะได้แรงส่งจากการขึ้นราคาขายรอบใหม่ในช่วงต้น
7) Guidance ปี 2565 บริษัทฯ คาดรายได้ในรูป USD เฉพาะส่วนของ PCB ที่ 485 ล้านเหรียญ (+19% YoY) และ Guidance GPM ที่ระดับ 30% ยังเป็นไปได้หากการแก้ไขปัญหาการผลิตเกิดขึ้นได้ใน 1Q65
คงคำแนะนำ “ซื้อ” ปรับลดราคาเหมาะสม สิ้นปี 2565 เป็น 82.50 บาท
เราปรับลดประมาณการปี 2565/66 เป็น 2.8 พันล้านบาท (+23% YoY) และ 3.7 พันล้านบาท (+34% YoY) หลักๆ จาก 1) ปรับลดสมมติฐาน USD Sale ปี 2565/66 เป็น 542/630 ล้านเหรียญ โดยใส่ผลกระทบของการขึ้นกำลังการผลิตล่าช้า และ 2) ปรับลดสมมติฐาน GPM ปี 2565/66 เป็น 28% และ 30% เทียบกับ GPM ณ สิ้นปี 2564 ที่ 26.6% เพื่อให้สะท้อนปัญหาการขึ้น Capacity ในช่วงแรก เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” อิงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 ที่ 82.50 บาทต่อหุ้น อิง PER Band 35.0x (+ 1.0SD) ราคาหุ้นที่ปรับตัวลง 12% ตั้งแต่ประกาศงบ 4Q64 สะท้อนความล่าช้าของการขึ้นกำลังการผลิตไปแล้ว ปัจจุบันหุ้นซื้อขายเท่ากับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี
ความเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ 1) ค่าเงินบาท/USD 2) ราคาทองแดง และ 3) การขึ้นสายการผลิตโดยเฉพาะโรงงานที่โรจนะทำได้ล่าช้ากว่าคาด