สรุปภาวะตลาด
วันศุกร์ท่ีผ่านมา ดัชนีปรับตัวลงต่ำสุดราว -12 จุด เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาคท่ีปรับตัวลง -0.3 ถึง -0.8% จากความกังวลท่ีเฟดอาจทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยท่ีเร็วและแรงกว่าคาดการณ์เดิม เนื่องจากเงินเฟ้อสหรัฐรายงานออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ประกอบกับตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นมามากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ดัชนีมีการพักตัว ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดท่ี 1,699.20 จุด -3.80 จุด -0.22% มูลค่าการซื้อขาย 95,434 ลบ.ต่างชาติ +5,830.73 ลบ. TFEX -2,129 สัญญา ตราสารหน้ี +860.38 ลบ.
ปัจจัยบวก
+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ในวันศุกร์ปิดพุ่งข้ึน 3.22 ดอลลาร์ +3.6% ปิด 93.10 ดอลลาร์/บาร์เรล และ+0.9% ในรอบสัปดาห์ เช้านี้ราคาน้ำมัน WTI พุ่งข้ึนทะลุระดับ 94 ดอลลาร์หลังจากปธน.โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐเรียกร้องให้ชาวอเมริกันรีบเดินทางออกจากยูเครน ตลาดกังวลว่ารัสเซียใกล้บุกโจมตียูเครน ซึ่งอาจนำไปสู่การคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันและก๊าซของรัสเซีย ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำมันลดลง กระทบต่ออุปทานน้ำมันในตลาดโลก
+FDA สหรัฐอนุมัติใช้ยาต้านโควิดของบริษัทอิไล ลิลลี่ (Eli Lilly) กับประชาชนอายุ 12 ปีข้ึนไปที่มีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยรุนแรง ซึ่งเป็นยาอีกตัวหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน
+funflow ไหลเข้าสัปดาห์ท่ีผ่านมา กระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยสูงถึง 4.2 หมื่นล้านบาท และ 4.7 หมื่นล้านบาทดันเงินบาท แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 เดือนครึ่งที่ 32.60 บาท/ดอลลาร์
+ ททท.เปิด “ปีท่องเที่ยวไทย 2565” หวังดันรายได้ท่องเที่ยวรวม 1.28 ล้านลบ.
ปัจจัยลบ
– ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 503.53 จุด -1.43% เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเก่ียวกับความตึงเครียดท่ีเพิ่มข้ึนระหว่างรัสเซียและยูเครน เพิ่มเติมจากความกังวลเดิมเก่ียวกับเงินเฟ้อที่พุ่งข้ึนและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐในรอบสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ -1%
– ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐเตือนว่ารัสเซียอาจจะเร่ิมบุกยูเครนวันใดวันหน่ึงในช่วงนี้ แม้กระท่ังก่อนจีนปิดฉากกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวในวันที่ 20 ก.พ.นี้
– ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเช่ือมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 61.7 ในเดือนก.พ.ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2554 และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 67.5 จากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น
– ธนาคารกลางรัสเซียประกาศปรับข้ึนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1% สู่ระดับ 9.50% สูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2560 สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์เพื่อสกัดเงินเฟ้อท่ีพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 6 ปี โดยอยู่ท่ีระดับ 8.1% สูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางที่ระดับ 4%
– มติครม.ติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งกำหนดเป้าเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายในภาพรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 93 การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำไม่น้อยกว่าร้อยละ 98 การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายภาพรวม ร้อยละ 100
– กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานข้อมูลผลการตรวจ ATK วันน้ีพบผลการตรวจ ATK เป็นบวกเพิ่มข้ึน 7,687 ราย ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 14,900 ราย รวมจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างไม่เป็นทางการอยู่ที่ 22,587 ราย
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันนี้เคลื่อนไหว Sideway ในกรอบ 1,687-1,705 จุด จากความกังวลเรื่องสงครามระหว่างรัสเซียและ ยูเครน หลังกองทัพรัสเซียได้เคลื่อนพลเข้าประจำการยังหลายพื้นที่ใกล้กับยูเครน อย่างไรก็ตาม ความกังวลดังกล่าว ส่งผลให้น้ำมันปรับตัวข้ึนกว่า 5 ดอลลาร์เป็นปัจจัยหนุนต่อหนุนกลุ่มพลังงาน
กลยุทธ์การลงทุน
- ชุดตรวจ ATK : SMD WINMED TM
- หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการกลับมาใช้มาตรการ Test&Go และเราเที่ยวด้วยกันเฟส 4: ERW CENTEL MINT AOT AAV BA ASAP
- หุ้น Value Play: KBANK BBL SCB EA GULF ADVANC TRUE DTAC
- หุ้นได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น PTTEP PTT TOP PTTGC
หุ้นรายงานพิเศษ
SISB (Bloomberg Consensus 11.50) TR Campus Site Visiting
- ผู้บริหารตั้งเป้าการเติบโตในอีก 5 ปี นักเรียนเติบโตสู่ 4,150 คน จากในปัจจุบันมี นักเรียน 2,434 คน หรือคิดเป็นการเติบโตเฉล่ีย 11.3% ต่อปี โดยได้แรงหนุนจากการ เปิดสาขาธนบุรีเฟส 2 ปี 2022 สาขานนทบุรีปี 2023 และสาขาระยองในปี 2024 โดย คาดว่าจะสามารถรักษาระดับอัตรากาไรขั้นต้นและอัตรากาไรสุทธิที่ระดับ 45-50% และ 20-25% ตามลาดับ
- เตรียมขยายสาขาไปต่างจังหวัดและชานเมืองเพิ่มเติมเพื่อชิงส่วนแบ่งตลาดจากโรงเรียนเอกชนและโรงเรียน English Program โดยอาจปรับลดขนาดของโรงเรียนลง แต่ยังใช้หลักสูตรจากสิงคโปร์ โดยมีแผนลงทุน 5 จังหวัดหลัก เชียงใหม่ อุดรธานี ขอนแก่น ชลบุรี (พัทยา) และ ภูเก็ต
- ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อผลประกอบการตั้งแต่ 4Q21 เป็นต้นไป เนื่องจากไม่มีการล็อกดาวน์และนักเรียนเร่ิมทยอยกลับเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้น อีกท้ังไม่มีการให้ส่วนลดค่าเล่าเรียน นอกจากนี้ในปี 22 โรงเรียน SISB สาขาธนบุรีเฟส 2 แล้วเสร็จช่วยหนุนให้จำนวนนักเรียนกลับมาเติบโต เราจึงแนะนำ ซื้อสะสม
หุ้นมีข่าว
(+) ROJNA (Bloomberg Consensus 8.05 บาท) แย้มลูกค้าจีนยังเจรจาซื้อที่ดินต่อเนื่อง ปีนี้ปักธงขายที่ดิน 400 ไร่ พร้อมตั้งเป้ารายได้สาธารณูปโภคปีนี้กว่า 9 พันล้านบาท มองธุรกิจกัญชงครบวงจร สร้างมูลค่าเพิ่ม แถมรับอานิสงส์จากการถือหุ้น GULF หวังปีนี้ผลประกอบการฟื้นตัว (ที่มา ทันหุ้น)
(+) NETBAY (Bloomberg Consensus 27.00 บาท) เตรียมให้บริการเช่าหุ่นยนต์ในโรงพยาบาลรัฐ และเอกชน ตั้งเป้า 500 เครื่อง ภายใน 5 ปี เชื่อหนุนรายได้-กำไรทะยาน ฟากผู้บริหารส่งซิกผลงานเดือนแรกสดใส โตทุกเซ็กเตอร์ ตั้งเป้ารายได้ปีขาลพุ่งขึ้น 10-15% ใส่เกียร์รุกเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม และเฮลธ์เทคเต็มที่ (ท่ีมา ทันหุ้น)
(+) BAM (Bloomberg Consensus 24.25 บาท) แย้มธนาคารพาณิชย์ส่งพอร์ต NPL, NPA มาให้พิจารณาแล้ว 1 แห่ง มั่นใจครึ่งแรกของปี JV ชัดเจนอย่างน้อย 1 แห่ง และยังอยู่ระหว่างเจรจากับธนาคารพาณิชย์อีก 4-5 ราย และ AMC อีก 1 ราย เฉพาะส่วนของ BAM ตั้งงบซื้อหนี้ปีนี้ 9 พันล้านบาท เดินเกมผนึกพันธมิตรเสริมแกร่ง ล่าสุดเซ็น MOU ร่วมกับไปรษณีย์ไทยดึงพนักงานกว่า 2 หมื่นราย ร่วมสำรวจทรัพย์ท่ัวประเทศ (ท่ีมา ทันหุ้น)
(+) WGE (Bloomberg Consensus – บาท) มองทิศทางอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างฟื้นตัวมากขึ้น ลุยประมูลงานต้ังแต่ต้นปี ตั้งเป้าโกยงานเติมพอร์ตปีน้ีไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมีงานในมือกว่า 2,600 ล้านบาท เตรียมรับรู้รายได้ปีนี้ประมาณ 70% พร้อมต้ังเป้ารายได้ปี 2565 เติบโต 30-50% (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- สัปดาห์ที่ 3 กระทรวงพาณิชชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า
- 17-18 ก.พ.สภาฯเปิดอภิปรายท่ัวไปโดยไม่ลงมติ
- 21 ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แถลงตัวเลข GDP 4Q64
- 22 ก.พ.สภาอตุสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
- สัปดาห์ที่ 4 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคต เศรษฐกิจภูมิภาค
- 28 ก.พ.กำหนดวันสุดท้ายบจ.ส่งงบการเงินปี 64 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 15 ก.พ.อียูรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 4Q64 (ประมาณการครั้งท่ี 2) ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนก.พ.จากสถาบัน ZEW
สหรัฐรายงานดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนก.พ.จากเฟด นิวยอร์ก ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนม.ค.
- 16 ก.พ.จีนรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนม.ค. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนม.ค.
สหรัฐ รายงานยอดค้าปลีกเดือนม.ค. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนธ.ค. สต็อกน้ำมันราย
สัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุม (เช้าวันท่ี 17 ก.พ.)
- 15-16 มี.ค. กำหนดประชุม FED