ปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์อาจทำให้การลงทุนระยะสั้นผันผวน แต่ไม่ควรกังวลเกินไป

ความกังวลสถานการณ์ในยูเครนอาจทำให้ภาพรวมการลงทุนระยะสั้นผันผวน ความตึงเครียดในยูเครนเพิ่มสูงขึ้นหลังทหารรัสเซียจำนวนมากกว่า 1.3 แสนนาย ประชิดชายแดน ขณะที่สหรัฐฯ และชาติตะวันตก เตือนให้พลเมืองเดินทางออกจากยูเครนอย่างเร่งด่วน สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์หลายตัวปรับสูงขึ้นจากความกังวลผลกระทบต่ออุปทาน อย่างไรก็ตาม ราคาสินทรัพย์เสี่ยงโดยรวมผันผวนระหว่างติดตามพัฒนาการของความขัดแย้ง โดยตลาดหุ้นในหลายภูมิภาคปรับลดลง ดัชนีความผันผวน (MIX) ปรับขึ้น ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยปรับขึ้นเช่นกัน

…แต่ไม่ควรกังวลมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อดูจากผลกระทบต่อตลาดหุ้นในอดีต เรามองว่าด้วยแสนยานุภาพของรัสเซีย การเข้ายึดครองยูเครนทำได้ไม่ยากและหากต้องการทำจริง น่าจะเป็นการเดินทัพแบบสายฟ้าแลบเข้าควบคุมจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ (เช่นครั้งที่แล้ว) ไม่ใช่การเคลื่อนกำลังทหารขนาดใหญ่ปัจจุบัน ดังนั้นเรายังให้น้ำหนักกับการมองว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปเพื่อดำเนินการให้ยูเครนเข้าสู่การเจรจายอมยกเลิกแผนที่จะเข้าเป็นสมาชิกนาโต้แล้วอยู่ในสถานะรัฐกันชนมากกว่า การยึดยูเครนไม่ยาก แต่การจัดการกับการคว่ำบาตรและผลกระทบของประเทศสหรัฐฯ และยุโรปที่จะเกิดตามมานั้นยาก และอาจก่อผลกระทบทางเศรษฐกิจสูงมาก ซึ่งเรามองว่ารัสเซียน่าจะยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับผลดังกล่าว // ย้อนกลับไปดูผลกระทบต่อหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) การเคลื่อนทัพของรัสเซียเข้ายึดแหลมไครเมียของยูเครน ในช่วงปี ก.พ.-มี.ค.57 จะพบว่าดัชนี S&P ปรับขึ้นต่อเนื่องและไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ // ดังนั้นเรามองประเด็นดังกล่าวอาจสร้างความผันผวนระยะสั้น แต่มีโอกาสคลี่คลายผ่านการเจรจา ซึ่งจะทำให้สินทรัพย์เสี่ยงกลับมาฟื้นตัวในที่สุด อย่างไรก็ตาม น้ำมันดิบมีโอกาสปรับขึ้นได้ดีกว่าสินทรัพย์เสี่ยงอื่นในระยะสั้นจากความกังวลดังกล่าวปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ 1) รายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ 2) ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะเงินเฟ้อผู้ผลิต (PPI) 3) ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน 4) การให้ความเห็นของ กรรมการเฟด ซึ่งอาจปรับลดโทนตึงตัวลง หลังส่งสัญญาณที่อาจจะแรงมากเกินไปในช่วงที่ผ่านมา

ประเด็นเก็งกำไรอื่น

1) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง การเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ บวกต่อ CK, STEC, ITD, UNIQ

2) กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ ตลาดเก็งกำไรการเข้าสู่ธุรกิจใหม่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิตอล และผลประกอบการปี 2564 ที่น่าจะเห็นการจ่ายปันผลในระดับที่ดี อย่างไรก็ตาม ยังมีความไม่ชัดเจนของภาพรายได้ปี 2565 อีกมาก การเก็งกำไรจึงควรกำหนจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง KGI, ASP, CGH, FSS

3) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW

4) กลุ่มบันเทิง ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวจากงบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO

5) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ SFT, WFX, CV, UBE, VPO, CPI, TOP, RAM, IND, MAKRO, CPALL,

ภาพรวมกลยุทธ์: ผันผวนไม่หลุด 1,685 จุด ยังไม่เสียโมเมนตัมเชิงบวก เน้นเก็งกำไรสลับรายกลุ่ม โดยเลือกหุ้นที่ยังมีความน่าสนใจในเชิงของ valuation และมีทิศทางการเติบโตของกําไรเป็นบวก

หุ้นแนะนำ: TOP*, CPALL*, MAKRO*, ONEE*

แนวรับ: 1,685 / แนวต้าน : 1,708-1,720 จุด สัดส่วน : เงินสด 50%:พอร์ตหุ้น 50%

ประเด็นการลงทุน

  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ ต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี – ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 61.7 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2554 จากระดับ 67.2 ในเดือนม.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 67.5 รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น
  • KSL – คาดปริมาณอ้อยเข้าหีบปี 65 จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.14 ล้านตันอ้อย และผลผลิตน้ำตาลที่ 6-7 แสนตัน ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นราว 20-30% จากปี 64 ที่มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 4.77 ล้านตันอ้อย คิดเป็นผลผลิตน้ำตาลประมาณ 5.28 แสนตัน สำหรับราคาน้ำตาลในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่เฉลี่ย 19-20 เซนต์/ปอนด์ สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ในระดับ 17.28 เซนต์/ปอนด์
  • PIMO – หุ้นเพิ่มทุนเริ่มเข้าซื้อขาย 15 ก.พ.65
  • GLOBAL – จ่ายปันผลเป็นหุ้นและเงินสด หุ้นปันผลที่ 23:1 (0.434782607 บาท/หุ้น) และจ่ายเป็นเงินสด 0.2548309179 บาท/หุ้น)

ประเด็นติดตาม: 14 ก.พ. – ECB President Lagarde Speaks (15 ก.พ. – Thai GDP 4Q21, EU GDP 4Q21 / 16 ก.พ. – US Retail Sales เดือน ม.ค.

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

ประเด็นลงทุนสําหรับหุ้นแนะนำ

  • เก็งกำไร TOP* (65): ผลประกอบการฟื้นตัว ราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มแม้กดดันค่าการกลั่น แต่เป็นปัจจัยบวกกำไรจากสต็อค ตัดขาดทุน 51.75 บาท
  • เก็งกำไร CPALL* (68): แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 4 ฟื้นตัวหลังกลับมาเปิดเมือง ตัดขาดทุน 62 บาท
  • เก็งกำไร MAKRO (50): หุ้นขนาดใหญ่ที่ยัง taggard และได้อานิสงค์ทั้งจากเปิดเมือง และการท่องเที่ยวที่จะฟื้นในปี 2566 ตัดขาดทุน 39 บาท
  • เก็งกำไร ONEE* (12.60): ผลการดำเนินงานฟื้นตัวตามเม็ดเงินโฆษณา กำไรสูงที่สุดในกลุ่มบันเทิง แต่ซื้อขายด้วย valuation ถูกกว่า BEC 20% ตัดขาดทุน 9.60 บาท

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBIH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

Market News & Factors

ตลาดหุ้นสหรัฐ

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 500 จุดเป็นวันที่สองติดต่อกันในวันศุกร์ (11 ก.พ.) เนื่องจากนัก ลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างรัสเซียและยูเครน หลังจากที่มีความกังวลอยู่แล้วเกี่ยวกับเงิน เฟ้อและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐ (อินโฟเควสท์)

ตลาดหุ้นยุโรป

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันศุกร์ (11 ก.พ.) หลังการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อที่ร้อนแรงเกินคาดของสหรัฐ และความเห็นที่สนับสนุนการคุมเข้มนโยบายการเงินจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทำให้เกิดความวิตกว่าเฟดจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกมากขึ้น (อินโฟเควสท์)

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการวันนี้ (11 ก.พ.) เนื่องในวันสถาปนาประเทศ

ตลาดน้ำมัน

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WII) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ (11 ก.พ.) หลังจากเจ้าหน้าที่สหรัฐแสดง ความเห็นว่ารัสเซียใกล้ที่จะบุกโจมตียูเครน ซึ่งอาจนำไปสู่การคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันและก๊าซของรัสเซีย ซึ่งจะ ทําให้ปริมาณน้ำมันลดลง และราคาพุ่งขึ้น (อินโฟเควสท์)

สหรัฐเตือนรัสเซียอาจเริ่มบุกยูเครนก่อนจีนปิดฉากกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว

ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐเตือนเมื่อวันศุกร์ (11 ก.พ.) ว่ารัสเซียอาจจะเริ่มบุกยูเครนวันใดวันหนึ่งในช่วงนี้ แม้กระทั่งก่อนที่กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่จีนเป็นเจ้าภาพจะปิดฉากลงในวันที่ 20 ก.พ.นี้

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ ต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 61.7 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2554 จากระดับ 67.2 ในเดือนม.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 67.5 รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น

KSL

คาดปริมาณอ้อยเข้าหีบปี 65 จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.14 ล้านตันอ้อย และผลผลิตน้ำตาลที่ 6-7 แสนตัน ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นราว 20-30% จากปี 64 ที่มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 4.77 ล้านตันอ้อย คิดเป็นผลผลิตน้ำตาลประมาณ 5.28 แสนตัน สำหรับราคาน้ำตาลในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่เฉลี่ย 19-20 เซนต์/ปอนด์ สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ในระดับ 17.28 เซนต์/ปอนด์

Report & Corporate News

AMATA Maintained BUY TP : 26.00 บาท

เราคาดว่า AMATA จะรายงานกำไรสุทธิใน 4Q21 ที่ 528 ลบ. (+33% yoy, +131% gog) โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของกำไรที่สำคัญ คือ รายได้จากธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากยอดโอนที่ดินที่แข็งแกร่งใน 4Q21 เมื่อมองไปในปี 2022 เรามีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มของ AMATA จากความต้องการที่ดินฟื้นตัว และการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเดินทาง คงคำแนะนำ ซื้อ ด้วยราคาเป้าหมายสูงขึ้นที่ 26.00 บาท

RBF

ตั้งเป้าปี 65 รายได้โต 10-15% รับยอดคำสั่งซื้อและกำลังซื้อดีขึ้นหลังโควิด-19 คลี่คลาย ขณะที่ความร่วมมือกับ TU-SCPL บุกตลาดอินเดียคืบหน้าในช่วงครึ่งปีหลัง (ข่าวหุ้น)

BAM

จ่อปิดดีลแบงก์ 1 แห่ง ตั้ง JV AMC กลางปีนี้ สัดส่วนถือหุ้นนฝ่ายละ 50% เผยเป็นแบงก์ที่มีภาครัฐร่วมถือหุ้นอยู่ด้วย เผยมีอีก 6 สถาบันการเงินเข้าคิวร่วมจัดตั้ง ยืนยันไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน (ข่าวหุ้น)

PE

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ขึ้นเครื่องหมาย SP (Suspension) หลักทรัพย์ของบมจ.พรีเมียร์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ (PE) ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 เนื่องจากบริษัทไม่สามารถแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบให้ครบถ้วนภายในวลาที่กำหนดได้ และจนถึงปัจจุบัน PE ยังไม่สามารถดำเนินการแก้ไขเหตุแห่งการขึ้นเครื่องหมาย SP ด้วยการแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบให้ครบถ้วนได้ภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ส่งผลให้หลักทรัพย์ของ PE ถูกขึ้นเครื่องหมาย SP ต่อเนื่องเป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี เป็นเหตุให้หุ้นสามัญเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (อินโฟเควสท์)

- Advertisement -