บล.คันทรี่ กรุ๊ป:

BCPG: กําไรพิเศษจากการขายสินทรัพย์ในอินโดนีเซีย

กำไรสุทธิ 4Q21 ลดลงมาอยู่ที่ 238 ล้านบาท (-24% YoY, -65% QoQ) แตะจุดต่ำสุดรอบ 16 ไตรมาส ถูกฉุดจากขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน กำไรปกติอยู่ที่ 583 ล้านบาท (+9% YoY, -18% QoQ) สอดคล้องกับคาดการณ์

  • การเติบโต YoY ได้แรงหนุนจากการรับรู้รายได้จากโครงการใหม่ขนาด 20MW ในญี่ปุ่น (421) ส่วนที่ลดลง QoQ เป็นผลจากปัจจัยตามฤดูกาลของกิจการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ
  • ประกาศขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดในโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซีย (33%) โดยจะรับรู้กำไรพิเศษจากธุรกรรมนี้จำนวน 1.6 พันล้านบาท และจะนำเงินไปลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าในปี 2022
  • คาดกำไรสุทธิปี 2022 จะโต YoY จากกำไรการขายสินทรัพย์ ขณะที่กำไรปกติจะลดลงจากการขาดหายไปของส่วนแบ่งกำไรจากโครงการในอินโดนีเซีย ส่วนการเข้าลงทุนในโครงการใหม่จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของกำไรในอนาคตอันใกล้
  • ประกาศจ่ายเงินปันผล 2H21 ที่ 0.17 บาท/หุ้น คิดเป็นผลตอบแทน 1.3% ขึ้น XD 3 มี.ค.

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐานที่ 16.5 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC 5.1% และ TG 1%) อิง 20XPE’22E

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 4Q21 ลดลงมาอยู่ที่ 238 ล้านบาท (-24% YoY, -65% QoQ) แตะจุดต่ำสุดรอบ 16 ไตรมาส ถูกฉุดจากขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน
  • หากไม่รวมรายการพิเศษครั้งเดียว กำไรปกติจะอยู่ที่ 583 ล้านบาท (+9% YoY, -18% QoQ) สอดคล้องกับ คาดการณ์
  • การเติบโต YoY เป็นผลจากการรับรู้รายได้ที่สูงขึ้นจากโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ในไทย และการรับรู้รายได้ครั้งแรกจากโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ Chiba 1 ขนาด 20MW ในญี่ปุ่น (COD ใน 4Q21)
  • ส่วนกำไรที่ลดลง QoQ มีสาเหตุจากปัจจัยตามฤดูกาลของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Nam san 3A & 3B) และค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ที่สูงขึ้น
  • ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมอยู่ที่ 152 ล้านบาท (+4% YoY, +1% QoQ) เพิ่มเล็กน้อยจากค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นและปัจจัยตามฤดูกาลของโครงการในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ตามลำาดับ
  • กำไรสุทธิปี 2021 เพิ่มมาเป็น 2.0 พันล้านบาท (+5% YoY) กำไรปกติทั้งปีอยู่ที่ 2.3 พันล้านบาท (+17% YoY) หนุนจากการรับรู้รายได้เต็มปีของโรงไฟฟ้าใหม่ในไทย 4 แห่ง (20MW) ที่เข้าลงทุนไปใน 3Q20 และส่วนแบ่งจากโรงไฟฟ้า Chiba 1 ขนาด 20MW ที่เพิ่ง COD ไปในญี่ปุ่น

ขายสินทรัพย์ออกเพื่อก้าวที่ใหญ่กว่า

  • บริษัทประกาศขายหุ้นที่ถืออยู่ 33% ในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพอินโดนีเซีย (157.5MWe) โดยจะได้รับเงินเป็นมูลค่า 1.45 หมื่นล้านบาท หรือประเมินเป็นกำไรพิเศษ 1.6 พันล้านบาท ธุรกรรมนี้จะแล้วเสร็จใน 1Q22
  • ให้น้ำหนักเป็นกลางต่อดีลนี้ แม้ผู้บริหารจะให้แนวทางว่าจะใช้เงินที่ได้มาไปลงทุนในโครงการใหม่ แต่การขาดหายไปของโครงการในอินโดนีเซียจะทำให้กำลังการผลิตลดลง 31% (503MWe ณ 4Q21) และสร้างส่วนต่างด้านกำไรเกือบ 500 ล้านบาท หรือราว 25% ของกำไรสุทธิในปี 2021
  • การลงทุนครั้งใหม่ 2022 จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะต้องอุดช่องโหว่ทางกำไรที่เกิดจากดีลนี้

กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 2 เท่าภายในปี 2025 จากโครงการในไต้หวัน

  • บริษัทประกาศการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เพิ่มเติมในไต้หวัน ด้วยกำลังการผลิตที่ติดตั้งแล้ว 357MW ทำให้โครงการในแผนการทั้งหมดในไต้หวันมีขนาดเพิ่มเป็น 469MWe ซึ่งจะทำให้พอร์ตบริษัทเพิ่มขึ้น 74% เป็น 1,108MWe ภายในปี 2025
  • มีมุมมองเชิงบวกต่อโครงการไต้หวัน เพราะจะช่วยให้บริษัทมีการเติบโตที่มั่นคงในระยะยาว อีกทั้งยังจะสร้างอัตราผลตอบแทนโครงการ (IRR) ที่ 10% หากอิงงบลงทุนที่ US$2.0 ล้าน/MW และค่าไฟฟ้าที่ 5.2-5.6 บาท/kwh
  • ประเมินส่วนแบ่งกำไรที่ 4.0 บาท/หุ้น แต่ยังละไว้เป็น upside ที่อาจเกิดขึ้น เพราะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาโครงการ

ปรับประมาณการกําไรจากการขายสินทรัพย์

  • ปรับลดส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมทุนสำหรับปี 2022-23 ลง 75%-83% จากการขายหุ้นในโครงการอินโดนีเซีย
  • คาดกำไรพิเศษครั้งเดียว 1.6 พันล้านบาทในปี 2022 จากธุรกรรมดังกล่าว
  • โดยสรุปแล้วมีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2022 ขึ้น 52% แต่ลดกำไรปี 2023 ลง 8%

จับตาดูการลงทุนในโครงการใหม่ในปี 2022

  • คาดกำไร 1Q22 จะปรับดีขึ้น YoY และ QoQ จากการรับรู้รายได้เต็มไตรมาสจากโครงการ Chiba 1 ขนาด 20MW ที่เริ่ม COD ไปใน 4Q21
  • คาดกำไรปกติจะลดลงหลัง 1Q22 จากการขาดหายไปของส่วนแบ่งรายได้จากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ ในอินโดนีเซีย
  • คาดบริษัทจะลงทุนโครงการใหม่เพื่อชดเชยโครงการในอินโดนนีเซียที่ขาดหายไป
  • แต่กำไรสุทธิในปี 2022 จะปรับดีขึ้น YoY จากกำไรพิเศษ 1.6 พันล้านบาทที่ได้จากการขายสินทรัพย์

Revenue breakdown

ธุรกิจหลักของบริษัทคือการผลิตพลังงานจากพลังงานทดแทน รวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์ พลังลม พลังนํ้าและความร้อนใต้พิภพ บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 162.5MW ในประเทศไทย โดยจําหน่ายไฟฟ้าให้กับ กฟภ. และ กฟผ. ซึ่งรายได้ 72% ของบริษัทนั้นมาจากการขายไฟฟ้าในประเทศ

และบริษัทย่อยของบริษัทเป็นเจ้าของและดำเนินงานธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 5 แห่งในญี่ปุ่น มีกำลังการผลิตรวม 14.7MW ซึ่งคิดเป็น 4.5% ของรายได้รวม อีกทั้งบริษัทได้ขยายการดำเนินงานไปยังประเทศลาวในปี 2019 มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 114MW ซึ่งรายได้ส่วนนี้คิดเป็น 22% ของรายได้รวม

บริษัทยังได้ร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานลม 36MW ในฟิลิปปินส์ (สัดส่วนการถือหุ้น 40%) และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซียขนาด 955MW (สัดส่วนการถือหุ้น 17-20%) โดยในปี 2020 บริษัทรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม และกิจการร่วมค้าคิดเป็นสัดส่วนที่ 26% ของกำไรรวมของบริษัท

- Advertisement -