บล.กรุงศรีฯ:

INVESTMENT STRATEGY – ราคาน้ำมันสูงขึ้นทำให้การฟื้นตัวสะดุดหรือไม่?

ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากเฉลี่ย US$71.5bbl ใน 2021 สู่ระดับสูงกว่า US$90bbl ในปัจจุบัน อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นและความไม่แน่นอนทั่วโลกยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก แม้จะเป็นปัจจัยกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่การฟื้นตัวของไทยจะไม่สะดุดจากราคาน้ำมันในระดับนี้จากเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและพื้นฐานที่แข็งแกร่ง สะท้อนว่ามีอัพไซด์สำหรับหุ้นไทยจากระดับปัจจุบันจาก valuation ปัจจุบันที่ยังสมเหตุสมผลและเป็นตลาดที่แลคการ์ดตั้งแต่ 2021 คงเป้าหมาย SET 1,800 จุด

อีกหนึ่งปัจจัยที่น่ากังวล

ขณะที่นักลงทุนจับตามองอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากความติดขัดด้านซัพพลาย แต่ราคาน้ำมันเป็นอีกปัจจัยที่อาจส่งผลเสียมากกว่าดี โดยเฉพาะเมื่อ US Fed กำลังจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ธ.ค. 2018 ซึ่งหลังจากพิจารณาปัจจัยรอบด้านแล้ว ตลาดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 7 ครั้งใน 12 เดือนข้างหน้า แต่เรามองว่ามากเกินไปเนื่องจากการปรับขึ้นในระดับนี้จะสร้างความตึงในภาคการเงิน (ภาวะการเงิน) และกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยบันทึกการประชุมของ FOMC ล่าสุดที่เปิดเผยในสัปดาห์ที่ผ่านมามีมุมมอง hawkish น้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้

…ตลาดอาจมองความเสี่ยงสูงเกินไปในบางส่วน

ราคาน้ำมันจะยังอยู่ในระดับสูงในปีนี้ เนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น แต่บางปัจจัยหนุนราคาน้ำมันบางส่วนอาจเป็นปัจจัยชั่วคราว ปัจจัยแรก มีโอกาสสูงขึ้นที่รัสเซียจะไม่เพิ่มความตึงเครียดขึ้นต่อเนื่องรวมถึงการบุกรุกยูเครนแบบวงกว้างจากเป็นความเสี่ยงต่อการส่งออกก๊าซและน้ำมันไปยังประเทศตะวันตก จึงทำให้การบุกรุกยูเครนเป็นไปอย่างช้าและจำกัด ขณะที่การเจรจาด้านนิวเคลียร์ของไบเดนกับอิหร่านหมายถึงมีซัพพลายมากขึ้นเข้าสู่ตลาด นอกจากนี้ยังมีสัญญาณบ่งชี้มากขึ้นว่า ความติดขัดด้านซัพพลายจะผ่อนลงในกลางปีนี้ โดยสรุปเรามองว่าตลาดอาจมองความเสี่ยงมากเกินไปของส่วนการใช้มาตรการเงินรัดกุมขึ้น การลดมุมมองนี้จะทำให้สินทรัพย์เสี่ยงมีโมเมนตัมเชิงบวกมากขึ้น

แม้จะมีผลกระทบต่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ผลกระทบอยู่ในระดับที่บริหารได้

เนื่องจากไทยเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันสุทธิ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจึงเป็นปัจจัยกดดันไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยผลกระทบเชิงลบจะส่งผ่านบัญชีดุลต่างประเทศ (external account) และอัตราเงินเฟ้อ เราประเมินว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทุก 1% จาก US$70bbl จะทำให้ GDP เติบโตลดลง 0.28% และเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ 0.3% รวมถึงทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง US$60bn แม้เศรษฐกิจไทยจะยังมีความเปราะบางต่อต้นทุนพลังงาน แต่เศรษฐกิจไทยก็มีความทนทานมากขึ้น เห็นได้จากสัดส่วนการใช้พลังงานต่อ GDP ที่ลดลงจากระดับสูงสุดที่ 17.3 ใน 2008 และสะท้อนว่าผลกระทบภาพรวมต่อการเติบโต, เงินเฟ้อและนโยบายทางการเงินจะยังอยู่ในระดับที่บริหารได้หากราคาน้ำมันอยู่ต่ำกว่าระดับ US$110bbl (ในระยะเวลามากกว่า 6 เดือน)

- Advertisement -