บล.คันทรี่ กรุ๊ป:
AWC: ภาพการเติบโตของกำไรระยะยาวยังคงเดิม
คาด EBITDA กลุ่มโรงแรมจะแตะจุดคุ้มทุนภายใน 2H22 ช่วงที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาในระดับอย่างน้อย 4 แสนคนต่อเดือน ขณะที่คาดว่าอัตราการเข้าพักเฉลี่ยที่โรงแรมของบริษัทจะเพิ่มเป็นประมาณ 40% ด้วยแรงหนุนจากกลุ่มโรงแรมในต่างจังหวัด (30% ของรายได้โรงแรมทั้งหมดในปี 2021) จากอุปสงค์ที่อั้นมาจากช่วงก่อนของนักท่องเที่ยวในประเทศ
- ภาพการเติบโตระยะยาวยังคงเดิม หนุนจากการเพิ่มห้องพักในโรงแรมด้วยการเติบโตเฉลี่ยปีละ (CAGR) 15% ในช่วง U 2023-26
- ราคาหุ้นที่ทยานขึ้นล่าสุดสะท้อนบรรยากาศเชิงบวกต่อกลุ่มท่องเที่ยวไทย โดยรวมหลังจากมีการผ่อนคลาย มาตรการต่างๆ แต่ upside risk หลักสำหรับการปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2022-23 ยังเป็นประเด็นจำนวน นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฟื้นตัวเร็วกว่าคาด
- ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2022 และ 2023 เป็น 69 ล้านบาท และ 1.7 พันล้านบาท ตามลำดับ คงคำแนะนํา “ถือ” มูลค่าพื้นฐาน 4.50 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) อิง 60xPE’24E พรีเมี่ยมดังกล่าวสะท้อนภาพการเติบโตของกำไรที่โดดเด่นกว่าคู่แข่งด้วย CAGR 24% ในช่วงปี 2022-26
คาดธุรกิจโรงแรมจะแสดงถึงศักยภาพในการทำกำไรได้ในช่วง 2H22
คาด EBITDA กลุ่มโรงแรมจะแตะจุดคุ้มทุนภายใน 2H22 ช่วงที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาในระดับอย่างน้อย 4-5 แสนคนต่อเดือน ขณะที่คาดว่าอัตราการเข้าพักเฉลี่ยที่โรงแรมของบริษัทจะเพิ่มเป็นประมาณ 40% ด้วยแรงหนุนจากกลุ่มโรงแรมในต่างจังหวัด (31% ของรายได้โรงแรมทั้งหมดในปี 2021) จากอุปสงค์ที่อั้นมาจากช่วงก่อนของนักท่องเที่ยวในประเทศ (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานจำนวนนักท่องเที่ยวไทย 15.5 ล้านคนในเดือน ธ.ค. คิดเป็น 80% จากช่วงก่อนเกิดโควิด-19) เมื่อมองภาพหลังเฟสการฟื้นตัวก็เชื่อว่าบริษัทจะกลับสู่เส้นทางการเติบโต เพราะยังคงมีแผนการขยายกิจการตามเดิมผ่านการเพิ่มจำนวนห้องพักในระดับ CAGR 15% ในช่วงปี 2023-26 ซึ่งสูงสุดในกลุ่มโรงแรมไทย นอกจากนี้ยังมี upside risk ต่อโอกาสในการปรับเพิ่มประมาณการกำไรอีกจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงการฟื้นตัวที่เร็วกว่าคาดของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขาเข้า บวกกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศที่น่าดึงดูดจากภาครัฐ
ปรับลดประมาณการกำไรปี 2022-23 ลง 74% และ 7% ตามลำดับ
ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2022 และ 2023 เป็น 69 ล้านบาท และ 1.7 พันล้านบาท ตามลำดับ หลังจากปรับลดรายได้ลง 22% และ 12% เป็น 7.3 พันล้านบาท และ 1.32 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ เพื่อสะท้อนถึงการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ของกลุ่มท่องเที่ยวที่ช้ากว่าคาด ส่งผลให้อัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพักต่อคืน (RevPar) ยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ปรับเพิ่มอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายเป็น 27.0% และ 23.4% ในกรอบเวลาเดียวกัน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงกว่าคาดหลังกลับมาเปิดให้บริการโรงแรมทั้งหมด
สรุปผลประกอบการ
- กำไรสุทธิ 4Q21 อยู่ที่ 967 ล้านบาท ถ้าไม่รวมรายการพิเศษจากการประเมินมูลค่าสินทรัพย์จะมีผลขาดทุนสุทธิที่ 304 ล้านบาท ฟื้นตัวแข็งแกร่งจาก 3Q21 ที่ขาดทุนราว 780 ล้านบาท หนุนจากรายได้ธุรกิจโรงแรม (+192%QoQ) ที่โตเป็น 865 ล้านบาท เพราะได้แรงกระตุ้นมาจากอัตราการเข้าพักเฉลี่ยที่เพิ่มเป็น ราว 30% จาก 10% ใน 3Q21 ขณะที่รายได้ค่าเช่าจากธุรกิจสำนักงานก็โตขึ้น 26%QoQ เป็น 715 ล้านบาท
- อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ใน 4Q21 ฟื้นตัวแข็งแกร่ง QoQ เป็น 31.4% จาก 7.2% ใน 3Q21 แต่ยังต่ำกว่า ระดับใน 4Q19 ที่ 60.3% อยู่ค่อนข้างมาก
- กำไรสุทธิทั้งปี 2021 อยู่ที่ 861 ล้านบาท หากไม่รวมรายการพิเศษจากการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ จะมีผล ขาดทุนสุทธิราว 2.2 พันล้านบาทเทียบกับขาดทุน 1.3 พันล้านบาทในปี 2020 แรงกดดันนี้ถูกตอกย้ำลงไปอีก จากสถานการณ์โควิด-19 ทําให้อัตราการเข้าพักในโรงแรมลดลงเป็น 20% จาก 23%
- GPM ทั้งปี 2021 ลดลงอีกเป็น 15.5% จาก 31.4% ในปี 2020 สืบเนื่องจากอัตราการเข้าพักในธุรกิจ โรงแรมที่ลดลงและการมอบส่วนลดในธุรกิจให้เช่าพื้นที่ค้าปลีก
Revenue Breakdown
กลุ่มธุรกิจโรงแรมมีสัดส่วน 42% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเภทหลักคือ: MICE (การประชุม การท่องเที่ยว การสัมมนา การจัดนิทรรศการ) โรงแรมในเมืองในกรุงเทพ, โรงแรมที่อยู่นอก กรุงเทพและรีสอร์ทระดับหรู
บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารสำนักงานให้เช่าแก่ผู้เช่ารายย่อย โดยบริษัทเปิดให้บริการอาคารพาณิชย์จำนวน 4 แห่งในกรุงเทพมหานครประกอบด้วย Empire Tower, Athenee Tower, 208 Wireless Road Building และ Interlink Tower ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 39% ของรายได้ทั้งหมด
พื้นที่ให้เช่าเพื่อค้าปลีกคิดเป็นสัดส่วน 19% ของรายได้ทั้งหมด บริษัทพัฒนาและดำเนินงานห้างสรรพสินค้าชุมชน แหล่งท่องเที่ยวเชิงไลฟ์สไตล์ และตลาดชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ