Daily Focus Earnings and Value Play

2022 SET Target: 1770

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index แกว่งตัว Sideways และยังผันผวน โดยระหว่างวันมีจังหวะอ่อนตัวในแดนลบ ก่อนมีแรงซื้อช่วงบ่ายหนุนดัชนีพลิกมาปิดบวก 5.33 จุด ณ สิ้นวัน หลังรับรู้สถานการณ์ตึงเครียดในยูเครนไปพอสมควร สถาบันในประเทศซื้อสุทธิในตลาดหุ้นบางๆ 146 ลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 1.6 พันลบ. (และพลิกมา Long SET50 Index Futures 6.5 พันสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index อ่อนตัวลงในกรอบ 1,685-1,690 จุด จากบรรยากาศการลงทุนที่กลับมาเป็นลบอีกครั้ง แม้ฝั่งรัสเซียจะระบุพร้อมเจรจาทางการทูต แต่ฝั่งสหรัฐฯรัสเซียเพิ่มเติมต่อบริษัทสร้างท่อก๊าซ Nord Stream 2 ทำให้สถานการณ์ยังคงตึงเครียด นอกจากนี้เราคาดว่าตลาดจะเริ่มให้น้ำหนักต่อประเด็นเงินเฟ้อและการ ปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED ที่เร่งขึ้นจากราคา Commodity ทุกอย่างที่ปรับตัวขึ้นจากความเสี่ยงสงครามในยูเครน  โดยปัจจุบันเริ่มมีกระแสคาดการณ์ว่า FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยทุกครั้งในการประชุม 9 ครั้งข้างหน้า นอกจากนี้คืนวันศุกร์มีตัวเลขเงินเฟ้อ PCE เดือน ม.ค. 22 ที่ต้องติดตาม หากเร่งขึ้นจะยิ่งเป็นสัญญาณลบ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบในแง่เม็ดเงิน ของตลาดหุ้นอาเซียนมีค่อนข้างจำกัด ส่วนไทยแม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 จะเร่งตัวอีกครั้ง แต่คาดว่าภาครัฐจะไม่ Lockdown เข้มข้น ทำให้ผลกระทบทางเศรษฐกิจจำกัด และยังมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวได้ในปีนี้ หุ้น Domestic และ Value Play โดยเฉพาะกลุ่ม Commodity ต้นน้ำ และกลุ่ม Domestic Play อย่างธนาคาร ค้าปลีก อสังหาฯ คาดว่ายัง เคลื่อนไหวแข็งกว่าตลาด

กลยุทธ์ : เลือกลงทุนในหุ้น Value และมีแนวโน้มกำไร 4Q21 แข็งแกร่ง

หุ้นเด่นเดือน ก.พ. : GFPT, HMPRO, PJW, SC, TKS

หุ้นเด่นวันนี้ : TKS

  • แนะนํา “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 21 บาท
  • คาดกําไร 4Q21 +52% Q-Q, +51% Y-Y เติบโตโดดเด่นตาม SYNEX ที่เป็น High Season จากการเปิดตัว iPhone13 หนุนกำไรปี 2021 คาด +58 Y-Y
  • แนวโน้ม 1Q22 ยังดีต่อเนื่องจากแรงหนนุของมาตรการช้อปดีมีคืน เราคาดกำไรปี 2022 +25% Y-Y และยังเป็นหุ้น Tech ที่เทรด PER ต่ำเพียง 14.4 เท่า และมี Upside หากเกิดการเลือกตั้งทั่วไปในปีนี้
  • แนวรับ 15.50//15 บาท แนวต้าน 16//16.50-17 บาท

Fund Flow: วานนี้กระแสเงินทุนยังคงไหลออกจากภูมิภาคแต่บางลงเหลือ US$349ล้าน ยังคงนำโดยเกาหลีใต้และไต้หวันประเทศละ US$232-240 ล้าน อย่างไรก็ตาม ยังคงไหลเข้าฝั่งอาเซียนทุกประเทศ นำโดยอินโดนีเซียและไทย US$67 ล้าน และ US$49 ล้าน ตามลำดับ แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดยังอยู่ในทิศทางไหลออก โดยยัง จับตาสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน-ชาติตตะวันตก แต่คาดยังมีแนวโน้มไหลเข้าอาเซียน

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) BDMS กำไร 4Q21 +14% Q-Q, +116% Y-Y แข็งแกร่งกว่าตลาดคาด 15% โดยรายได้เติบโตได้ Q-Q แม้ COVID-19 ชะลอสะท้อนความแข็งแกร่งของ Demand รักษาของผู้ป่วย Non-COVID-19 ขณะที่ Margin ดีกว่าที่คาด หนุนทั้งปี 2021 +28% Y-Y โมเมนกำไรปี 2022 คาดยังเร่งตัวขึ้นตามการ Reopen และต่างชาติที่ทยอยฟื้น คงราคาเป้าหมาย 29 บาท แนะนำ “ซื้อ” (Source: FSSIA)

(+) TU กำไรปกติ 4Q21 +21% Q-Q, +18% Y-Y แข็งแกร่งใกล้เคียงคาดโดยรายได้ทําจุดสูงสุดใหม่ จบปี 2021 กำไรปกติ +13% Y-Y แนวโน้มปี 2022 คาดยังแกร่ง +3% Y-Y หนุนจากการปรับเพิ่มราคาขายสะท้อน Demand ที่ยังแข็งแรง นอกจากนี้จะมีการปลดล็อคมูลค่าอย่างต่อเนื่องโดยเตรียม IPO ธุรกิจ Pet Care ใน 3Q22 เรายังคงราคาเป้าหมาย 30 บาท แนะนำ “ซื้อ”

(+) MEGA กำไรปกติ 4Q21 -12% Q-Q, +4% Y-Y ใกล้เคียงคาด และยังเป็นระดับที่แข็งแรง จบปี 2021 +33% Y-Y ทำ New high ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แนวโน้มยังสดใส ตามเทรนด์ใส่ใจสุขภาพ แม้การแข่งขันจะสูงแต่ MEGA มี Brand ที่แข็งแกร่ง เราคาดกำไรปี 2022-2023 โตเฉลี่ย +12% CAGR คงราคาเป้าหมาย 63 บาท แนะนำ “ซื้อ”

(+) OSP กำไร 4Q21 +47% Q-Q, Flat Y-Y ตามตลาดคาดและฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี จากตลาดในประเทศ จบปี 2021 กำไร –7% Y-Y แนวโน้มปี 2022 คาดทยอยฟื้นตัวตามภาพกำลังซื้อในประเทศ และด้านต้นทุนไม่ถูกกดดันหนักเท่าคู่แข่งอย่าง CBG คงราคาเป้าหมาย 42 บาท แนะนำ “ซื้อ” (Source: FSSIA)

(0) IIG กำไร 4Q21 -6% QQ, -14% Y-Y ใกล้เคียงคาด โดยสะดุดชั่วคราวจาก Margin หดตัวจากต้นทุนบุคลากร จบปี 2021 กำไร +26% Y-Y อย่างไรก็ตาม แนวโน้ม ปี 2022 คาดยังเร่งตัวขึ้นโดยประมาณการของเราค่อนข้าง Aggressive ที่ +50% Y-Y โดยคาดเริ่มเห็นผลจากการลงทุนใหม่ๆ ยังคงราคาเป้าหมาย 41 บาท แนะนำ “ซื้อ”

(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 464.85 จุด หรือ 1.38% ปิดที่ 33,131.76 จุด จากสถานการณ์ตึงเครียดเพิ่มขึ้นของรัสเซียและยูเครน โดยยูเครนประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา 30 วัน และประกาศเกณฑ์ทหารกองหนุนเพื่อรับมือกับ การโจมตีจากรัสเซีย ส่วนสหภาพยุโรป (EU) ประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย

(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ กดดันจากความตึงเครียดเพิ่มขึ้นระหว่างรัสเซียและยูเครน

(-) ตลาดหุ้นเอเชีย ปรับลง ตามทิศทางตลาดดาวโจนส์ และความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตยูเครน-รัสเซีย

(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่าลง ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 32.34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้น 19 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 92.10ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากคาดว่าวิกฤตการณ์ในยูเครนจะกระทบปริมาณน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่ติดตาม EIA รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐ ในวันพฤหัสบดีนี้ โดยนักวิเคราะห์คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐอาจลดลง 300,000 บาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา

(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 3 ดอลลาร์ หรือ 0.16% ปิดที่ 1,910.4 ดอลลาร์/ออนซ์ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1,029.31 / +5.22

- Advertisement -