สรุปภาวะตลาด
วันพฤหัสบดีท่ีผ่านมา ดัชนีฟื้นตัวในภาคเช้าประมาณ +10 จุด แต่อ่อนแรงลงในภาคบ่าย ปิดตลาดเหลือเพียง +3 จุด มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบท่ีลดลง เช่น หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า มีแรงขายในหุ้นกลุ่มธนาคาร โดยภาพรวมตลาดยังกังวลสถานการณ์ในยูเครน เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปท่ีชัดเจนในการเจรจา ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดท่ี 1,647.08 จุด +3.44 จุด +0.21% มูลค่าการซื้อขาย 100,157 ลบ. ต่างชาติ +624.53 ลบ. TFEX +30,861 สัญญา ตราสารหนี้ -3,940.30 ลบ.
ปัจจัยบวก
+ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม และส่งสัญญาณยุติการซื้อพันธบัตรใน 3Q65 ซึ่งเร็วกว่าคาดปูทางขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้เพื่อสกัดเงินเฟ้อท่ีพุ่งข้ึน 5.8% ในเดือน ก.พ. สูงกว่าเป้าหมายของ ECB ที่ระดับ 2%
+ รมว.คมนาคมเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2565 ให้ได้ตามเป้าหมายของรัฐบาลเพื่อช่วยกระตุ้นระบบ เศรษฐกิจของประเทศ
+/- ศบค.รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันน้ีป่วยใหม่ 24,792 ราย ATK 49,494 ราย เสียชีวิต 63 คน
ปัจจัยลบ
– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 112.18 จุด -0.34% กังวลเงินเฟ้อในเดือนก.พ. พุ่งสูงสุดในรอบ 40 ปี และสูงกว่าท่ีนักวิเคราะห์คาดการณ์ และการเจรจารัสเซีย-ยูเครนล้มเหลว ท้ังสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงหยุดยิ
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 2.68 ดอลลาร์ -2.5% ปิดที่ 106.02 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่สอง หลังจากรัสเซียให้คำมั่นว่าจะยังคงจัดส่งน้ำมันตามท่ีตกลงไว้ และการส่งสัญญาณที่สับสนของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ยังส่งผลให้ภาวะการซื้อขายผันผวน
– รัฐบาลยูเครนจะจัดตั้งคลังสำรองอาหาร เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนและกองทัพในช่วงท่ีต้องเผชิญกับการรุกรานของรัสเซีย
– สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) มาตรวัดเงินเฟ้อพุ่งขึ้น 7.9%YoY ในเดือนก.พ. สูงสุดในรอบ 40 ปีและสูงกว่าท่ีนักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 7.8% ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.8%MoM สูงกว่าท่ีนักวิเคราะห์คาดที่ระดับ 0.7%MoM
– สหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานคร้ังแรกเพิ่มข้ึน 11,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 227,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ท่ีระดับ 217,000 ราย ยังคงสูงกว่า 215,000 ราย ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19
– ส.อ.ท. รายงานผลสำรวจความเห็นจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรมต่อปัญหาความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซียพบว่า ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบทางอ้อมท่ีราคาน้ำมัน ค่าระวางเรือ และวัตถุดิบต่างๆ ท่ีสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตรวมเพิ่มขึ้น
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันนี้อ่อนตัวจากความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่ปรับตัวข้ึนสูงสุดในรอบ 40 ปี และตลาดกลับมา กังวลสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน หลังการเจรจาไม่มีความคืบหน้า อีกท้ังในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมเฟด ซึ่งคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็นปัจจัยกดดันเพิ่มเติม มองกรอบดัชนีในวันน้ีท่ี 1,630-1,655 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- หุ้น Value Play : KBANK BBL SCB EA GULF ADVANC TRUE DTAC
- มาตรการอุดหนุน EV : EA NEX BYD GPSC NDR
- กรณีสงครามยืดเยื้อ ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง บวกต่อ PTTEP PTTGC TOP , สินค้าเกษตร ข้าวสาลี และ กากถั่วเหลืองขึ้น เป็นบวกต่อ TMILL TVO และเป็นลบต่อธุรกิจอาหารสัตว์ ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น CPF GFPT ASIAN
หุ้นรายงานพิเศษ
BIZ ถือ ราคาเหมาะสม 9.47 บาท
- ปรับเพิ่มประมาณการปี 65 จาก Backlog ที่ทรงตัวในระดับสูง และอยู่ระหว่างประมูลงานใหม่อีก 1.5 พันลบ. เราปรับประมาณการรายได้และกำไรปี 65 เพิ่มข้ึนจาก 1.13 พันลบ. และ 117 ลบ. สู่ 1.88 พันลบ. และ 212 ลบ. เพิ่มขึ้น 66% และ 81% จากประมาณการเดิม เนื่องจากมี Backlog ณ 1 มีนาคม 65 อยู่ที่ 1.16 พันลบ. และอยู่ระหว่างประมูลงานใหม่อีกราว 1.5 พันลบ. นอกจากนี้ คาดธุรกิจโรงพยาบาลเร่ิมสร้างกำไรในปี 65 หลังรายได้ปรับตัวขึ้นและขาดทุนลดลง โดยรายได้ปี 64 อยู่ที่ 75 ลบ. เติบโต 142%YoY โดยปี 64 มีผลขาดทุนลดลงเหลือ 5.2 ลบ.ลดลงจากปี 63 ท่ีมีผลขาดทุน 42 ลบ. นอกจากน้ีมีการออกใบสำคัญแสดงสิทธิ ซึ่งคาดว่าจะได้รับเงินราว 280 ลบ. ภายในต้น 4Q65 ซึ่งบริษัทจะนำเงินดังกล่าวไปชำระคืนเงินกู้ของโรงพยาบาล CAH ซึ่งมีอยู่ราว 240 ลบ. และเงินทุนท่ีเหลือจะใช้ในการขยายธุรกิจเก่ียวเนื่องกับการแพทย์ ส่งผลให้ผลประกอบการ โรงพยาบาล CAH จะเริ่มกลับมาเป็นบวกในปี 65
- คาดย้ายเข้า SET ภายในปี 65 บริษัทประกาศจ่ายปันผลเป็นหุ้น (2 หุ้นเดิมได้ 1 หุ้นใหม่) เพื่อให้ทุนจดทะเบียนและจำนวนหุ้นเพิ่มข้ึนจาก 200 ลบ. และ 400 ล้านหุ้นสู่ 300 ลบ. และ 600 ล้านหุ้น ตามลำดับ (XD ในวันท่ี 21 เม.ย. 65) ส่งผลให้บริษัทผ่านเกณฑ์เข้าจดทะเบียนใน SET ทั้ง 4 ข้อ 1) ทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 300 ลบ. 2) พาร์มากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 บาทต่อหุ้น 3) กำไรรวม 4 ไตรมาส ล่าสุดมากกว่า 50 ลบ. และ 4) จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อยมากกว่า 1,000 ราย ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะยื่นคุณสมบัติเพื่อให้ SET พิจารณาภายใน 2Q65 และคาดว่าจะย้ายจากตลาด MAI สู่ SET ภายในปี 3Q65
- ความเห็น แม้ว่าจะปรับเพิ่มประมาณการแต่คาดกำไรปี 65 จะปรับตัวลงจากปี 64 ราว 50% เนื่องจากไม่มีการส่งมอบเครื่องฉายรังสีขนาดใหญ่เหมือนปี 64 อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอราว 3.5-4.0% ทำให้เราแนะนำ “ถือ”
หุ้นมีข่าว
(+) กลุ่มรับเหมาฯ CK-STEC-ITD-NWR-UNIQ รฟม.เซ็นสัญญาสายสีม่วงใต้ วงเงินรวมประมาณ 8.2 หมื่นล้านบาท วันนี้ (11 มี.ค.65) โบรกมองบวกต่อกลุ่มผู้ชนะประมูล CK, STEC, ITD, NWR, UNIQ ส่วนกลุ่มเสาเข็มเตรียมรับทรัพย์ต่อ คาดชัดเจนปลายปีนี้-ต้นปี 2566 ขณะที่ประเมินผลงานปี 2565 ของกลุ่มรับเหมารายใหญ่จะฟื้นตัวสูงตาม Backlog ท่ีกลับสู่ขาขึ้น (ท่ีมา ทันหุ้น)
(+) MAJOR (Bloomberg Consensus 25.50 บาท) ส่องเกม MAJOR ทุ่ม 500 กว่าล้านบาท เข้าซื้อหุ้น TKN กว่า 5% ราคาเฉลี่ย 7.80 บาท วางแผนใช้ช่องทางจำหน่ายที่แข็งแกร่งของ TKN ดันป็อบคอร์นเติบโตสยายปีกต่างประเทศ ส่วนผลงานปีนี้เติบโตต่อเนื่อง หนังใน-นอก ต่อคิวเข้าฉายเพียบ ด้าน “บิ๊ก TKN” ยิ้ม ประกาศพร้อมร่วมต่อยอด (ที่มา ทันหุ้น)
(+) ICHI (Bloomberg Consensus 14.40 บาท) ตั้งเป้ายอดขายรวมปี 2565 ที่ 6.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% เน้นเติบโตจากในประเทศเป็นหลัก ควบคู่กลับเข้าไปทำตลาดในประเทศลาวและกัมพูชา เล็งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 3-4 รายการ ช่วงครึ่งปีหลัง ด้านเครื่องดื่มผสม CBD รอ อย. สรุปส่วนผสมที่ชัดเจน ส่วนธุรกิจในอินโดนีเซียตั้งเป้ายอดขาย 6.6 ล้านลัง หลังได้พันธมิตรรายใหม่ เล็งเป็นฐานส่งออกไปสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเกาหลี (ที่มา ทันหุ้น)
(+) PROEN (Bloomberg Consensus – บาท) แย้มแผนศึกษาขุดบิทคอยน์พร้อมปล่อยเช่าเครื่อง คาดชัดเจนไตรมาส 3/2565 ด้านบอสใหญ่ “กิตติพันธ์ ศรีบัวเอี่ยม” ใส่เกียร์เทกโอเวอร์ศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ รองรับการขยายตัว ต้ังเป้ารายได้ปี 2565 ไม่น้อยกว่า 20% กอดแบ็กล็อกเต็มมือ 805 ล้านบาท จ่อบุ๊กปีนี้ท้ังหมด (ท่ีมา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 16-17 มี.ค. ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับปลัดกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการ ธนาคารกลางเอเปค
- 18 มี.ค. ประชุมศบค.ชุดใหญ่พิจารณามาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
- 30 มี.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 2/2565
- 31 มี.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 18 พ.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3/2565
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 11 มี.ค. สหรัฐเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนมี.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
- 15 มี.ค. อียูรายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือน มี.ค. จากสถาบัน ZEW
สหรัฐรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ. ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนมี.ค.จากเฟด นิวยอร์ก
- 15-16 มี.ค. กำหนดประชุม FED
- 16 มี.ค. สหรัฐรายงานยอดค้าปลีกเดือนก.พ. ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมี.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้าน แห่งชาติ (NAHB) สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนม.ค. สต็อกนํามันรายสัปดาห์จากสํานักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย