กลับมาผันผวนหลังการเจรจายังไม่คืบหน้า
การเจรจาไม่ได้ข้อยุติ ขณะที่ ECB อาจยุติ QE เร็วกว่าคาด ตลาดหุ้นโลกกลับมาผันผวนในทางลดลงจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1) การเจรจารอบที่ 3 ระหว่างยูเครน-รัสเซีย ยังไม่ได้ข้อยุติ 2) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณยุติ QE ในช่วงไตรมาส 3/65 เร็วกว่าคาดการณ์ก่อนหน้า ซึ่งตลาดมองว่าเป็นการส่งสัญญาณสำหรับการขึ้นดอกเบี้ยที่จะตามมา 3) เงินเฟ้อสหรัฐฯ ก.พ.65 ออกมาที่ 7.9% ใกล้เคียงที่ตลาดคาด แต่ตลาดมองว่าเงินเฟ้อมี.ค.จะเร่งตัวขึ้นจากผลของสงครามยูเครน-รัสเซีย // ราคาน้ำมันปรับลดลงหลังรัสเซียยืนยันจะยังไม่มีการยุติการส่งออกน้ำมัน // สิ่งที่นักลงทุนจะให้ความสนใจในสัปดาห์หน้า จะกลับไปอยู่ที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ว่าจะส่งสัญญาณเส้นทางขึ้นดอกเบี้ยอย่างไร ในภาวะที่เศรษฐกิจโบกมีความไม่แน่นอน ด้านรมว.คลัง สหรัฐฯ เจเน็ตเยลเลน ยังแสดงความเชื่อมั่นเศรษบกิจจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย
กลุ่มโรงกลั่นยังเด่นในบรรดาหุ้นพลังงาน มีแนวโน้วที่ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นน้ำมัน (refinery product) จะเกิดการขาดแคลน เนื่องจาก 1) รัสเซียประสบปัญหาในการส่งออก 2) โรงกลั่นในยุโรปขาดแคลนน้ำมันดิบ ทำให้ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นลดลง 3) การเร่งสต็อคผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น 4) สื่อรายงานมีความเป็นไปได้ที่ทางการจีนจะสั่งให้โรงกลั่นระงับการส่งออกน้ำมันเบนซิน (Gasoline) และน้ำมันดีเซล ซึ่งสถานการณ์ข้างต้นจะเป็นปัจจัยบวกกับค่าการกลั่น (GRM) และด้วยค่าการกลั่นเฉลี่ยปีนี้ที่ระดับ 6-7 เหรียญ/บาร์เรล เทียบปีก่อนที่ 2 เหรียญ/บาร์เรล อีกทั้งกำไรจากสต็อคช่วงไตรมาส 1/65 ในระดับ 30 เหรียญฯ เราคาดกลุ่มโรงกลั่นอาจเคลื่อนไหวได้ เมื่อเทียบกับหุ้นพลังงานและปิโตรเคมีโดยรวม โดยมีหุ้นเด่นคือ TOP
หุ้นที่มีโอกาสถูก Window dressing ในช่วงปลายเดือน เรามองหุ้นที่ปรับลดลงเยอะนับจากต้นปี หลายกลุ่มมีโอกาสเกิดการฟื้นตัวในช่วงปิดไตรมาส อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะแรงกดดันด้านต้นทุน หรือแนวโน้มกำไรไตรมาสที่จะมาถึง ดังนั้นในเชิงกลยุทธ์อาจเก็งกำไรแบบกำหนดจุดตัดขาดทุนได้ถึงช่วงปลายเดือน และไม่ควรเก็งถึงประกาศผลประกอบการ ซึ่งในกลุ่มนี้ ได้แก่ 1) กำไรกลุ่มที่มีต้นทุนเป็นน้ำมันดิบหรือพลังงาน หุ้นกลุ่มนี้ได้แก่ SCC, PTTGC, BGRIM, GPSC, TASCO, AAV, EPG, SCGP, SFT เป็นต้น 2) กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ HANA, KCE 3) หุ้นอื่นๆที่ปรับลดงมาก อาทิ RBF, KEX, SYNEX, RS, VGI, EPG, MEGA, CBG
ประเด็นเก็งกําไรอื่น
1) กลุ่มพลังงาน PTTEP, BANPU, TOP (เน้นโรงกลั่น)
2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW
3) กลุ่มบันเทิง งบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO
4) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ WFX, CV, UBE, RAM, IND, MAKRO, CPALL, JAS, BCP, AJ, PTL, PJW, III, TNP
5) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, TU, GFPT, KSL
6) ค่าระวางเรือ PSL, TTA
7) น้ำมันลง SCC, PTTGC, BGRIM, GPSC, TASCO, AAV, EPG, SCGP, SFT
ภาพรวมกลยุทธ์: กลับมาผันผวน โดยโฟกัสจะเริ่มมาอยู่ที่การประชุมเฟดสัปดาห์หน้า ติดตามความเสี่ยงบาทอ่อนค่าหลังราคาน้ำมันยืนสูง อาจทําให้ไทยมีโอกาสขาดดุลการค้า ซึ่งอาจกระทบ Fund flow ระยะสั้น
หุ้นแนะนำ: TIDLOR*, TOP*, PJW*, TTA*
แนวรับ: 1,635 / แนวต้าน : 1,650-1,658 จุด สัดส่วน : เงินสด 60%:พอร์ตหุ้น 40%
ประเด็นการลงทุน
- ความเคลื่อนไหวสินค้าโภคภัณฑ์ – น้ำมันดิบเบรนท์ 109.33 (-1.63%), ก๊าซธรรมชาติ 296.89 (-20.53%), อลูมิเนียม 3,427.50 (+2.59%), ทองแดง 10,117 (+1.15%), สินแร่เหล็ก 827.50 (+4.48%), ข้าวโพด 755.75 (+3.10%), ฝ้าย 116.86 (-0.52%), ถั่วเหลือง 1,686.25 (+0.87%), ข้าวสาลี 1,087 (-9.53%)
- อีก 3 เดือนเล็งขึ้นราคาสินค้า – ผลกระทบทางอ้อมที่ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ค่าระวางเรือ และวัตถุดิบต่างๆ ที่สูงขึ้น เช่น นิกเกิล ข้าวสาลี ข้าวโพด ฯลฯ เป็นปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการผลิตภาพรวมเพิ่มสูง
- ดัชนีเชื่อมั่นอุต ก.พ. วูบ – ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนก.พ. 2565 อยู่ที่ระดับ 86.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 88.0 ในเดือนม.ค. ปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ โควิด-ค่าไฟ-น้ำมันแพง
- เพิ่มสํารองน้ำมันเป็น 70 วัน – “สุพัฒนพงษ์” ถก “คลัง-ธปท. ตลท. – บริษัทน้ำมัน สร้างความมั่นคงพลังงาน เร่งแผนลดผลกระทบผ่านบัตรสวัสดิการรัฐ อุดหนุนค่าเบนซินกลุ่มจักรยานยนต์ เพิ่มส่วนลดซื้อแอลพีจีเป็น 100 บาท เริ่ม เม.ย.นี้
- Opportunity day –11 มี.ค. IVL, HL, HANA, PTG, TQM, JP, JKN, SUPER, TVO, LALIN, PDJ, BCH, HMPRO
ประเด็นติดตาม: 15-16 มี.ค. – US FOMC Meeting
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)
ประเด็นลงทุนสําหรับหุ้นแนะนำ
- เก็งกำไร TIDLOR* (48): เก็งกำไรผลการดำเนินงานเติบโตเด่นที่สุดในกลุ่ม ตัดขาดทุน 37 บาท
- เก็งกำไร TOP* (65): ค่าการกลั่นมีแนวโน้มสูงขึ้น สูงขึ้นจากผลของการขาดแคลนผลิตภัณฑ์การกลั่น เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ตัดขาดทุน 48 บาท
- เก็งกำไร PJW *(4.60): เก็งกำไรแนวโน้มการเติบโตผลประกอบการปี 2565 ตัดขาดทุน 4.20 บาท
- เก็งกำไร TTA* (12): ผลประกอบการเข้าสู่ high season ตัดขาดทุน 9.35 บาท
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBIH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)
Market News & Factors
ตลาดหุ้นสหรัฐ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี (10 มี.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่ พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี รวมทั้งรายงานที่ว่าการเจรจาหยุดยิงระหว่างรัสเซียและยูเครนประสบความล้มเหลว (อินโฟเควสท์)
ตลาดหุ้นยุโรป
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันพฤหัสบดี (10 มี.ค.) แตะระดับต่ำสุดของวัน หลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) สร้าง ความประหลาดใจให้กับตลาด ด้วยการส่งสัญญาณเร่งยกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วกว่าคาด ขณะที่การเจรจา หยุดยิงระหว่างรัสเซียและยูเครนประสบความล้มเหลว (อินโฟเควสท์)
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 21 เดือน เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกเกี่ยวกับการชะลอ ตัวของเศรษฐกิจโลก หลังสัญญาน้ำมันดิบพลิกร่วงลงเมื่อคืนวานนี้หลังพุ่งขึ้นจากวิกฤตยูเครน (อินโฟเควสท์)
ตลาดน้ำมัน
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WII) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่สองในวันพฤหัสบดี (10 มี.ค.) หลังจากรัสเซียให้คำมั่นว่าจะยังคงจัดส่งน้ำมันตามที่ตกลงไว้กับบรรดาผู้ซื้อ นอกจากนี้ การส่งสัญญาณที่สับสนของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ยังส่งผลให้ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันเป็นไปอย่างผันผวน (อินโฟเควสท์)
ECB ส่งสัญญาณยุติ QE เร็วกว่าคาด
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ในยูเครน พร้อมส่งสัญญาณยุติการซื้อพันธบัตรในไตรมาส 3 ซึ่งเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ก่อนหน้านี้ โดยจะปูทางสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้เพื่อสกัดเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อสหรัฐทําจุดสูงสุดในรอบ 40 ปี
สหรัฐรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคพุ่งขึ้น 7.9% ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2525 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 7.8%
ICHI
วางเป้าปี 65 ยอดขายพุ่งแตะ 6,500 ลบ. ชูกลุ่มชาเขียวโตเด่น ลุยเตรียมเปิดตัวเครื่องดื่มกลุ่ม CBD และ CSD เสริมทัพ แย้ม OEM มีลูกค้าใหม่ 2 ราย ส่วนอิชิตันอินโดฯ ทำนิวไฮต่อ
Report & Corporate News
TIDLOR Maintained BUY TP : 48.00 บาท
เราประมาณการกำไรปี 2022 ของ TIDLOR จะเติบโต 24% yoy โดยได้แรงหนุนจากการเติบโตของสินเชื่อที่ แข็งแกร่ง และแนวโน้มยอดขายประกันภัยที่โดดเด่น แม้ว่าเราคาดว่า credit cost ในปี 2022 ของ TIDLOR จะเพิ่มขึ้น 35pp yoy เป็น 109bp จากการขยายตัวของสินเชื่อที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดของบริษัท แต่การเติบโตของกำไรสุทธิจะถูกชดเชยด้วย credit cost ที่สูงขึ้น ในขณะที่ TIDLOR จะได้รับประโยชน์จากการประหยัดจากขนาด ซึ่งน่าจะลดอัตราส่วน cost to income ลงจาก 60% ในปี 2021 เป็น 58% ในปี 2022 คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 48.00 บาท
BANPU
วางงบลงทุนในปี 65 จำนวน 1,300 ล้านเหรียญ ใช้ลงทุนธุรกิจก๊าซ 500 ล้านเหรียญ ธุรกิจพลังงานไฟฟ้า 700 ล้านเหรียญ โดยเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 400 ล้านเหรียญ และโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซ 300 ล้านเหรียญ และอีก 100 ล้านเหรียญ ลงทุนเทคโนโลยีพลังงาน (อินโฟเควสท์)
GGC
บริษัทคาดรายได้รวมปี 65 เติบโตกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ 20,995.23 ล้านบาท เนื่องจากได้มีการปรับปรุงโรงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อช่วยลดต้นทุนลง และประสบความสำเร็จในการจัดหา Feed Stock ทางเลือกมากขึ้น จากเดิมที่ใช้ของ CPO A ก็มองหา CPO B ที่มีราคาที่ถูกลง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านราคา ให้มีการแข่งขันได้ดีขึ้น (อินโฟเควสท์)
TKN
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับแบบรายงานการได้มาหุ้นของ บมจ.เถ้าแก่น้อย ฟู้ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง (TKN) โดย บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (MAJOR) ซึ่งเป็นการได้มา เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มาคิดเป็น 5% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มาคิดเป็น 5% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ (อินโฟ เควสท์)