สรุปภาวะตลาด
วันศุกร์ท่ีผ่านมา ดัชนีปรับตัวลงในช่วงเช้า แต่มีแรงซื้อเข้ามาในช่วงบ่าย ทำให้ยืนในแดนบวกประมาณ +10 จุด หนุนโดยหุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวขึ้น เช่น PTT, PTTEP และหุ้นกลุ่มเดินเรือที่ปรับตัวข้ึนเด่น จากค่าระวางเรือที่มีแนวโน้มสูงข้ึนต่อ อาทิ หุ้น TTA, JUTHA, ASIMAR, AMA, VL โดยรวมตลาดหุ้นยังมีความไม่แน่นอนจากการเจรจาระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,658.01 จุด +10.93 จุด +0.66% มูลค่าการซื้อขาย 78,506 ลบ.ต่างชาติ +3,483.88 ลบ. TFEX +13,807 สัญญา ตราสารหนี้ -1,695.12 ลบ.
ปัจจัยบวก
+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI พุ่งขึ้น 3.31 ดอลลาร์ +3.1% ปิดท่ี 109.33 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่ลดลง 5.5% ในรอบ สัปดาห์นี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกเก่ียวกับภาวะชะงักงันด้านอุปทานน้ำมัน ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน
+ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานจากกลุ่มประเทศ G7 มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการด้านต่างๆ เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียลงในระยะยาว
+ รฟท.กางแผนปี 65 ลุยประมูลทางคู่เฟส 2 เส้นแรก ‘ขอนแก่น-หนองคาย’ วงเงิน 2.66 หมื่นล้าน รอสภาพัฒน์เคาะส่งเข้า ครม. ชี้เป็นเส้นสำคัญเชื่อมขนส่งสินค้าไทย-ลาว-จีน
+ สนค.เปิดเผยถึงกรณีที่มีความกังวลว่าไทยจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด เพราะผลกระทบจากราคาน้ำมันตลาดโลกท่ีสูงขึ้น อาจทำให้เศรษฐกิจไทยถดถอยเมื่อพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแล้ว พบว่าโอกาสท่ีจะเกิดในไทยน้อยมาก
+/- ศบค.รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่มอีก 22,130 ราย ATK 15,650 ราย เสียชีวิต 69 คน หาย ป่วยกลับบ้านเพิ่ม 23,508 ราย
ปัจจัยลบ
– ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 229.88 จุด -0.69% จากความวิตกเกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครน ขณะที่นักลงทุนมุ่งความสนใจไปท่ีการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า
– ผลสำวจดัชนีความเช่ือมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 59.7 ในเดือนมี.ค. จากระดับ 62.8 ในเดือนก.พ. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีความเช่ือมั่นอาจอยู่ท่ีระดับ 61.4 ในเดือนมี.ค.
– หนังสือพิมพ์เดลีเมล์ของอังกฤษรายงานว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนซึ่งมีการกลายพันธุ์ในฮ่องกง และกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อ BA.2.2 เป็นสาเหตุที่ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในฮ่องกงพุ่งข้ึนอย่างมาก
– IMF มีแนวโน้มปรับลดคาดการณ์ GDP เศรษฐกิจโลกปีน้ี หลังนานาประเทศได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสงครามระหว่าง รัสเซียและยูเครน
– WHO แนะนำให้กระทรวงสาธารณสุขและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในยูเครนเร่งทำลายเชื้อโรคหรือสารพิษอันตรายในห้องปฏิบัติการของยูเครน เพื่อป้องกัน “เชื้อโรคแพร่กระจาย” แต่ไม่ได้เปิดเผยเก่ียวกับชนิดของเชื้อโรคดังกล่าว
– รัฐบาลจีนประกาศล็อกดาวน์เมืองเซินเจิ้นเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยมีเป้าหมายท่ีจะสกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยยังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยยังคงถูกกดดันจากความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซีย ประกอบกับนักลงทุนยังจับตาการประชุมเฟดในสัปดาห์น้ี คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,650-1,665 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- หุ้น Value Play : KBANK BBL SCB EA GULF ADVANC TRUE DTAC
- มาตรการอุดหนุน EV : EA NEX BYD GPSC NDR
- กรณีสงครามยืดเยื้อ ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง บวกต่อ PTTEP PTTGC TOP , สินค้าเกษตร ข้าวสาลี และ กากถั่วเหลืองข้ึน เป็นบวกต่อ TMILL TVO และเป็นลบต่อธุรกิจอาหารสัตว์ทำให้ต้นทุนเพิ่มข้ึน CPF GFPT ASIAN
หุ้นรายงานพิเศษ
SA Business Plan 2022
- ปี 64 กำไรสุทธิ 147 ล้านบาท ลดลง 73%YoY เนื่องจากรายได้ 2,435 ล้านบาท ลดลง 35%YoY หลักๆ มาจากการรับรู้รายได้จากการขายอสังหาฯ ใน 4 โครงการหลักลดลง อัตรากำไรขั้นต้นจากธุรกิจอสังหาฯ ลดเหลือ 38.7% จาก 42.9% ในปี 63 ปลายปี 64 มีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) อยู่ท่ี 2.24 เท่าลดลงจาก 2.28 ณ ปลายปี 63
- กลยุทธ์ 3 แนวทางหลัก ได้แก่ เปิดเพิ่มจำนวนโครงการ เพิ่มการพัฒนาโครงการแนวราบ และแนวทางลดต้นทุนการเงินปี 65 มีแผนเปิดโครงการใหม่ 6 โครงการมูลค่ารวม 11,621.9 ล้านบาท คอนโดฯ 2 โครงการ และแนวราบ 4 โครงการ โดยปรับสัดส่วนการพัฒนาโครงการแนวราบ 50% และแนวสูง 50% ผู้บริหารต้ังเป้ารายได้ราว 4,500-4,900 ล้านบาท ต้นปีมี backlog 4,324 ล้านบาท สินค้าพร้อมขายมูลค่ารวม 5,059 ล้านบาท อนาคตมีแผนระดมทุนในลักษณะ green financing เพื่อลดต้นทุนการเงินให้ต่ำลงจากเดิม
- แผนพัฒนาธุรกิจของกลุ่มมีความหลากหลาย ท้ังในด้านเทคโนโลยี เช่น EV charger, Solar Power ด้านการเงินมีแผนขอใบอนุญาตจัดต้ัง AMC ธุรกิจเพื่อสุขภาพเจาะกลุ่มลูกค้าสูงวัย ธุรกิจร้านอาหาร และ Cloud Kitchen (เปิดแล้ว 3 แห่ง และกำลังพัฒนาเพิ่มอีก 4 แห่ง) ธุรกิจโรงแรมซึ่งช่วยเพิ่มสัดส่วนของรายได้ประจำ
- ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อการพัฒนาธุรกิจท่ีมีความหลากหลายมากขึ้น และโอกาสที่ผลการดำเนินงานในปี 65 จะพลิกเติบโตจากฐานต่ำในปี 64 แนะนำ ซื้อเก็งกำไร
หุ้นมีข่าว
(+) BCH (Bloomberg Consensus 25.13 บาท) ปีนี้บุ๊กรายได้จากวัคซีนโมเดอร์นา 3 พันล้านบาท รายได้จากบริการโควิดหนุนคงเป้ารายได้โต 104% มีอัพไซด์จากโควตาประกันสังคม เพิ่มเป็น 1.5 ล้านราย พร้อมเดินแผนลงทุนปีนี้ 920 ล้านบาท ปรับปรุงโรงพยาบาลในเครือ ขยายห้องปฏิบัติการ แย้มเจรจาลงทุนโรงพยาบาลเพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)
(+) KTC (Bloomberg Consensus 56.50 บาท) เผยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตช่วง 2 เดือนแรกปีนี้โตราว 10% รับอานิสงส์เศรษฐกิจฟื้น โควิดคลี่คลาย ย้ำเป้ายอดบัตรใหม่ปี 2565 อยู่ที่ราว 2.5 แสนใบ หลังลุยอัพฐานต่อเนื่อง แถมล่าสุดเปิดตัว “เคทีซี เจซีบี อัลติเมท” เจาะตลาดลูกค้าระดับบนเพิ่ม (ท่ีมา ทันหุ้น)
(+) IVL (Bloomberg Consensus 60.00 บาท) วางเป้ารายได้ปี 2565 เติบโต 25% คาดปริมาณการขายในปีนี้ไม่น้อยกว่า 16 ล้านตัน รับดีมานด์ทั่วโลกเพิ่มสูงข้ึน ด้านการลงทุนโปรเจ็กต์ Oxiteno คาดรับรู้รายได้ไตรมาส 2/2565 เป็นต้นไป ยันไม่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน เหตุยอดขายในรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.5% ของยอดขายทั้งหมด (ที่มา ทันหุ้น)
(+) UPA (Bloomberg Consensus – บาท) ประกาศลุย 6 พันเครื่อง ติดตั้งเสร็จ 4 พันเครื่อง ไตรมาส 2 ชี้ได้ต้นทุนต่ำเครื่องละ 1.6-2.7 แสนบาท ต้นทุนพลังงานที่ลาวต่ำ จุดคุ้มทุน 1 ปี 7 เดือน บนราคา 4.2 หมื่นดอลลาร์ต่อ BTC เริ่มมีกำไรไตรมาส 2 (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 16-17 มี.ค. ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับปลัดกระทรวงการคลัง และรองผู้ว่าการธนาคารกลางเอเปค
- 18 มี.ค. ประชุมศบค.ชุดใหญ่พิจารณามาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
- 30 มี.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 2/2565
- 31 มี.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 18 พ.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3/2555
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 15 มี.ค. อียูรายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนม.ค. ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนมี.ค. สหรัฐรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ. ดัชนีภาคการผลิตเดือนมี.ค.
- 15-16 มี.ค. กำหนดประชุม FED
- 16 มี.ค. สหรัฐรายงานยอดค้าปลีกเดือน ก.พ. ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน มี.ค. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือน ม.ค. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย
- 17 มี.ค. อียูเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย
สหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ การเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือน ก.พ. ดัชนีการผลิตเดือน มี.ค. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ.