ยังมองผลกระทบต่อตลาดจำกัดถ้าไม่ยกระดับคู่ขัดแย้งเป็น NATO

ติดตามการเจรจาและพัฒนาการของความขัดแย้ง สงครามเริ่มง่ายแต่หยุดยาก แม้มีต้นทุนที่ต้องเสียต่อเนื่องจนอยากหยุด แต่การจะหยุดได้ต้องมีคำตอบให้กับประชาชนถึงความคุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องแลกเปลี่ยน ทำให้ความต้องการของยูเครนและรัสเซียยังอาจต้องใช้เวลาหาจุดบรรจบ ซึ่งจะยังทำให้สินทรัพย์เสี่ยงและโภคภัณฑ์เคลื่อนไหวผันผวนต่อไปอีกระยะ อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ความขัดแย้งไม่ยกระดับจากยูเครน-รัสเซียไปเป็น NATO-รัสเซีย (ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงของปัจจัยที่ไม่อาจคาดได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ) ผลกระทบทางลบที่มีต่อสินทรัพย์เสี่ยงและเศรษฐกิจโลกก็ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่จำกัด

ติดตามการส่งสัญญาณถึงมุมมองการเติบโตและการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด การขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 15-16 มี.ค. เป็นสิ่งที่อยู่ในความคาดหมายของนักลงทุนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่จะกำหนดมุมมองของนักลงทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง คือ มุมมองเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงปี 2565-66 และคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ที่น่าจะชะลอจากความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ยูเครน เรามองหากมีการส่งสัญญาณบางประการ อาจทำให้มุมมองของนักลงทุนปรับดีขึ้น ได้แก่ 1) มุมมองเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยระยะยาวชะลอลง 2) มีการส่งสัญญาณประคองเศรษฐกิจเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ 3) มีการส่ง สัญญาณชะลอการใช้นโยบายการเงินตึงตัว เป็นต้น

หุ้นที่มีโอกาสถูก Window dressing ในช่วงปลายเดือน เรามองหุ้นที่ปรับลดลงเยอะนับจากต้นปี หลายกลุ่มมีโอกาสเกิดการฟื้นตัวในช่วงปิดไตรมาส อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหลายประกาศไม่ว่าจะแรงกดดันด้านต้นทุน หรือแนวโน้มกำไรไตรมาสที่จะมาถึง ดังนั้น ในเชิงกลยุทธ์อาจเก็งกำไรแบบกำหนดจุดตัดขาดทุนได้ถึงช่วงปลายเดือน และไม่ควรเก็งถึงประกาศผลประกอบการ ซึ่งในกลุ่มนี้ ได้แก่ 1) กำไรกลุ่มที่มีต้นทุนเป็นน้ำมันดิบหรือพลังงาน หุ้นกลุ่มนี้ได้แก่ SCC, PTTGC, BGRIM, GPSC, TASCO, AAV, EPG, SCGP, SFT เป็นต้น 2) กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ HANA, KCE 3) หุ้นอื่นๆที่ปรับลดงมาก อาทิ RBF, KEX, SYNEX, RS, VGI, EPG, MEGA, CBG

ประเด็นเก็งกำไรอื่น

1) กลุ่มพลังงาน PTTEP, BANPU, TOP (เน้นโรงกลั่น)

2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPAIL, AP, SC, ASW

3) กลุ่มบันเทิง งบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO

4) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ WFX, CV, UBE, RAM, IND, MAKRO, CPALL, JAS, BCP, AJ, PTL, PJW, III, TNP

5) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, TU, GFPT, KSL

6) ค่าระวางเรือ PSL, TTA

7) น้ำมันลง SCC, PTTGC, BGRIM, GPSC, TASCO, AAV, EPG, SCGP, SFT

ภาพรวมกลยุทธ์: กลับมาผันผวน โดยโฟกัสจะเริ่มมาอยู่ที่การประชุมเฟดสัปดาห์หน้า ติดตามความเสี่ยงบาทอ่อนค่าหลังราคาน้ำมันขึ้นสูง อาจทําให้ไทยมีโอกาสขาดดุลการค้า ซึ่งอาจกระทบ Fund flow ระยะสั้น

หุ้นแนะนำ: TOP*, RAM*, PJW*, WORK*

แนวรับ: 1,640 / แนวต้าน : 1,666-1,680 จุด สัดส่วน : เงินสด 60%:พอร์ตหุ้น 40%

ประเด็นการลงทุน

  • สถานการณ์โควิดในจีนแย่ลง – การระบาดกลับมาเร่งขึ้น และจีนเริ่มกลับมาสั่งล็อคดาวน์หลายเมือง ไม่ว่าจะเป็น ซีอาน, หยูโจว, อันหยาง, ฉางชุน และเสิ่นเจิ้น ทำให้ความหวังเปิดประเทศและการผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวจีนเดินทางออกมาได้ถูกเลื่อนไป เป็นปัจจัยลบต่อหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว และทำให้เช้านี้ ดัชนีฮั่งเส็ง และดัชนีหุ้นเซี่ยงไฮ้ ปรับลดลงแรงกว่าภูมิภาค
  • SUPER – มองเป้ารายได้ปี 65 โต 10,000-11,000 ล้านบาท คาดสิ้นปี COD โรงไฟฟ้าเพิ่มเป็น 1,718 เมกะวัตต์ พร้อมวางเป้าเพิ่ม Private PPA อีก 80 เมกะวัตต์ เดินหน้าขยายโครงการในไทยและเวียดนาม
  • KTC – เผยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตช่วง 2 เดือนแรกของปี 65 โต 10% รับอานิสงส์เศรษฐกิจฟื้น โควิดคลี่คลาย เป้ายอดบัตรในปี 65 อยู่ที่ราว 2.5 แสนใบ
  • HANA – ความต้องการสินค้าไอทีขยายตัวแข็งแกร่ง เทคโนโลยี 5G ผลักดัน ขณะที่กลุ่ม consumer ฟื้นตัวหลังโควิด – 19 เดินหน้าเพิ่มกำลังการผลิตทั้งในไทยและจีน
  • กรมพลังงาน เตรียมสั่งผู้ค้าเพิ่มสำรองน้ำมันดิบ – กรมธุรกิจพลังงานประสานผู้ค้าเตรียมพร้อมที่จะประกาศเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายน้ำมันดิบเป็น 5% จากเดิม 4% และน้ำมันสำเร็จรูปเป็น 2% จากเดิม 1% เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถรักษาเสถียรภาพพลังงานได้ โดยไม่กระทบการดำรงชีพของประชาชน

ประเด็นติดตาม: 15-16 มี.ค. – US FOMC Meeting, 15 มี.ค. – US PPI เดือน ก.พ. / IEA Monthly – – Report, 16 มี.ค. – US Retail Sales เดือน ก.พ., 17 มี.ค. – EU CPI เดือน ก.พ.

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ  UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

ประเด็นลงทุนสําหรับหุ้นแนะนำ

  • เก็งกำไร TOP* (65) : ค่าการกลั่นมีแนวโน้มสูงขึ้น จากผลของการขาดแคลนผลิตภัณฑ์การกลั่น เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ตัดขาดทุน 48 บาท
  • เก็งกำไร RAM* (45) : กลุ่มการแพทย์ที่ซื้อขายด้วย Valuation ที่ถูกกว่ากลุ่ม และ market cap เป็นอันดับ 5 ของกลุ่ม ขณะที่ซื้อมีสินทรัพย์รวมเป็นอันดับ 2 และรายได้, EBITDA และกำไรอยู่ในลำดับที่ 3 ตัดขาดทุน 35.50 บาท
  • เก็งกำไร PJW* (4.60) : เก็งกำไรแนวโน้มการเติบโตผลประกอบการปี 2565 ตัดขาดทุน 4.20 บาท
  • เก็งกำไร WORK* (30) : ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวตามงบโฆษณา ขณะที่การขาดทุนในไตรมาส 4 เกิดจากการจ่ายโบนัส ทำให้การปรับลงเป็นโอกาสซื้อที่ดี ตัดขาดทุน 29.35 บาท

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

Market News & Factors

ตลาดหุ้นสหรัฐ

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันศุกร์ (11 มี.ค.) โดยยังคงถูกกดดันจากความวิตกเกี่ยวกับความขัดแย้ง ในยูเครน ขณะที่นักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์ หน้า (อินโฟเควสท์)

ตลาดหุ้นยุโรป

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันศุกร์ (11 มี.ค.) และปรับตัวขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดในปีนี้ โดยได้แรงหนุนหลังจาก ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินแห่งรัสเซีย ส่งสัญญาณเกี่ยวกับความคืบหน้าในเชิงบวกในการเจรจากับยูเครน (อิน โฟเควสท์)

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดร่วง เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น และอัตราผลตอบแทนพันธบัตร สหรัฐเพิ่มขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา ประกอบกับมีความกังวลว่าวิกฤตยูเครนอาจจะยืดเยื้อออกไป หลังจากการเจรจาหยุด ยิงระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซียและยูเครนสิ้นสุดลงเมื่อวานนี้โดยไม่มีความคืบหน้าใดๆ (อินโฟเควสท์)

ตลาดน้ามัน

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันศุกร์ (11 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับ ภาวะชะงักงันด้านอุปทานน้ำมัน ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน (อินโฟเควสท์)

SUPER

มองเป้ารายได้ปี 65 โต 10,000-11,000 ล้านบาท คาดสิ้นปี COD โรงไฟฟ้าเพิ่มเป็น 1,718 เมกะวัตต์ พร้อมวางเป้าเพิ่ม Private PPA อีก 80 เมกะวัตต์ เดินหน้าขยายโครงการในไทยและเวียดนาม

KTC

เผยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตช่วง 2 เดือนแรกของปี 65 โต 10% รับอานิสงส์เศรษฐกิจฟื้น โควิดคลี่คลาย เป้ายอดบัตรในปี 65 อยู่ที่ราว 2.5 แสนใบ

HANA

ความต้องการสินค้าไอทีขยายตัวแข็งแกร่ง เทคโนโลยี 5G ผลักดัน ขณะที่กลุ่ม consumer ฟื้นตัวหลังโควิด-19 เดินหน้าเพิ่มกำลังการผลิตทั้งในไทยและจีน

กรมพลังงาน เตรียมสั่งผู้ค้าเพิ่มสำรองน้ำมันดิบ

กรมธุรกิจพลังงานประสานผู้ค้าเตรียมพร้อมที่จะประกาศเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมาย น้ำมันดิบเป็น 5% จากเดิม 4% และน้ำมันสำเร็จรูปเป็น 2% จากเดิม 1% เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถรักษาเสถียรภาพพลังงานได้ โดยไม่กระทบการดำรงชีพของประชาชน

Report & Corporate News

BCH Downgraded SELL TP : 18.00 บาท

BCH มีแนวโน้มที่จะรายงานกำไรหลักใน 1Q22 ที่น่าประทับใจ จากจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เราคาดการณ์ว่ากำไรจะลดลงในภายหลัง เนื่องจากแผนงานใหม่ของรัฐบาลจะลดอัตราการเข้าพักของเตียงในโรงพยาบาลและรายได้ต่อผู้ป่วย นอกจากนี้ แผนงานสำหรับระยะการระบาดของไวรัส COVID-19 ยังส่งสัญญาณการสิ้นสุดของสัดส่วนรายได้จากรายการที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ปรับลดคำแนะนำเป็น ขาย ราคาเป้าหมาย: 18.00 บาท

ONEE Maintained BUY TP : 13.40 บาท

เราคาดว่ากำไรของ ONEE จะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2022 และรายได้โครงการจะเติบโต 33% yoy โดยได้รับแรงหนุนหลักจากรายได้ที่แข็งแกร่งจากยอดขายออนไลน์และต่างประเทศ, รายได้จากการโฆษณาและการออกอากาศทางโทรทัศน์ จากการฟื้นตัวของ adex ในปี 2022 คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 13.40 บาท

รับเหมาก่อสร้าง

CK, STEC, ITD, NWR, UNIQ เซ็น 6 สัญญา รับงานโยธารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (อินโฟเควสท์)

SA

บริษัทตั้งเป้ารายได้ในปี 65 ที่ 4.5-4.9 พันล้านบาท เติบโตเกือบ 100% จากปีก่อน โดยมีปัจจัยหนุนมาจากการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ หลังจากภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวขึ้น ทำให้การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในตลาดกลับมาคึกคัก โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้บริษัทมียอดขายที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นมาที่ 200-300 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ราว 100-200 ล้านบาท เป็นสัญญาณที่ดี (อินโฟเควสท์)

- Advertisement -