KS Daily View 15.03.2022 >>> สถานการณ์รัสเซีย- ยูเครนแม้จะยืดเยื้อแต่เริ่มเบาลง เชื่อว่าตลาดจะกลับมาให้น้ำหนักที่การประชุม Fed ประเมินตลาดหุ้นไทยมีโอกาสกลับมา Outperform/ SET คาด 1660 -1670 หุ้นแนะนำ EPG

ตลาดต่างประเทศ : การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นโลกรายวันยังผันผวน แต่เชื่อว่า Price In ปัจจัยลบไปแล้วระดับนึง เห็นได้จากตลาดหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากสงครามมาก อาทิ ยุโรป ปัจจุบันเริ่มทรงตัว และไม่อยู่ในภาวะตลาดหมี(Bear Market) เช่นเดียวกับสหรัฐยังแกว่งตัว Sideway

KS ประเมินว่าช่วงนี้ตลาดยังคง Monitor

1.) พัฒนาการสงครามรัสเซีย – ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ การเจรจารอบที่ 4 ยังไม่ได้ข้อสรุป ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังทรงตัวสูง หนุนเงินเฟ้อโลก ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น กดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจและการบริโภคทั่วโลก

2.) Covid ในประเทศหัวเรือใหญ่ฝั่งเอเซีย คือ จีน, ฮ่องกง ผู้ติดเชื้อรายใหม่กลับมาเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งสูง ราว 1-2พันราย ทำให้เห็นการประกาศ Lockdown ในบางพื้นที่ อาทิ เมืองเซินเจิ้น ของจีนเบื้องต้น 7 วัน ยังต้องติดตามต่อ แต่คาดว่าจะไม่ Lockdown เป็นวงกว้าง และ Lockdown ยาวนาน KS ประเมิน ช่วงสั้นจะบวกต่อหุ้นเรือ Container อาทิ RCL แต่จะกดดันหุ้นในกลุ่มท่องเที่ยวไทย เพราะนักท่องเที่ยวที่เข้าไทยในอดีต คือ จีน ทำให้เชื่อยังมีโอกาสที่จีนอาจจะยังชะลอการเปิดประเทศ

ทั้ง 2 ปัจจัย KS ประเมินจะมีผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของโลก โดยเฉพาะสหรัฐ Highlight ที่ตลาดให้น้ำหนักคือการประชุม Fed ในช่วงกลางสัปดาห์ โดยมุมมองตลาด อิง ผลสำรวจ CME Group ล่าสุด คาด Fed จะขึ้นดอกเบี้ยฯ 25 bps ในการประชุมวันที่ 16 มี.ค. ตามเดิม โดยโอกาส PROBABILITY(%) สูงถึง 98.3% แต่ PROBABILITY ในกาประชุมปลายปี ตลาดเริ่มคาด Fed อาจชะลอการปรับขึ้น หรือตลาดเริ่มมองครึ่งหลัง Recession เศรษฐกิจถดถอยหรือ ภาวะ Recession ล่าสุด (Bloomberg คาดโอกาส (Probability) ที่ฝั่งสหรัฐ อยู่ที่ 20% จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 15% ต้องติดตามต่อหากทิศทางยังเพิ่มขึ้นต่ออย่างมีนัยยะ KS แนะนำชะลอการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Global Play ทั้งกลุ่มพลังงาน และ กลุ่มปิโตรเคมี, กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์

ในส่วนสินทรัพย์อื่นๆ อาทิ ราคาน้ำมันดิบโลก เมื่อคืนอิง WTI หลุด 100 เหรียญ แต่มีแรงหนุนดึงกลับมายืนเหนือ 100 เหรียญได้ ช่วงสั้นประเมินราคาน้ำมันมีโอกาสผันผวนในทิศทางลง KS ประเมินเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่ม Anti-commodities (EPG, SCGP, BGRIM, GULF, AAV, BA) แนะนำสำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง ส่วน Bond Yields สหรัฐ อายุสั้น,กลาง,ยาว ทิศทางยังขยับขึ้น หลังจากขึ้นติดต่อกัน 7 วัน ประเมินเป็น Sentiement บวกต่อกลุ่มประกันชีวิต BLA, กลุ่มธนาคารพาณิชย์ หุ้น Top picks ของ KS แนะนำ SCB KKP แนะนำ Trading แต่Bond Yields ที่ขึ้นทำให้อีกฝั่งกดดัน ทองคำ ปรับลงในช่วงสั้นได้ต่อ

โดยรวมสรุป KS ประเมินว่าสถานการณ์รัสเซีย- ยูเครนแม้ยืดเยื้อ แต่เริ่มเบาบางลง เชื่อว่าตลาดจะกลับมาให้น้ำหนักที่การประชุม Fed ซึ่งโทนยังคง (Slightly Hawkish) ทำให้ประเมินตลาดหุ้นไทยมีโอกาสกลับมา Outperformได้ในช่วงสั้น โดยกลยุทธการลงทุนในช่วงนี้ แนะนำหุ้นลงทุนคือ BH, BCP, BANPU, TOP และเน้นกลุ่ม Domestic อาทิ กลุ่ม Finance (TIDLOR AEONTS BAM),กลุ่มค้าปลีก (HMPRO BJC)

มุมมองตลาดหุ้น SET คาด 1660 -1670 หุ้นแนะนำ EPG

Top pick :

EPG (ราคาพื้นฐาน 12.0 บาท) ประเมินราคาหุ้นปัจจุบันได้สะท้อนข่าวลบไประดับนึงแล้วราคาหุ้นปัจจุบันเปิด Upside จากราคาเป้าหมายทางพื้นฐานราว 27% โดยประเมินเป็นจังหวะสะสมเนื่องจากราคาน้ำมันดิบแม้ยังสูงแต่เริ่มทรงตัวไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ สะท้อนจุดเลวร้ายที่สุดของ EPG แล้ว

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันอังคาร ติดตาม ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนเดือน ม.ค.-ก.พ. คาด +3.9% YoY ตัวเลข FDI ของจีน เดือน ก.พ. (YTD) คาด +10% YoY ตัวเลข Retail sales ของจีนเดือน ม.ค.-ก.พ. คาด +3% YoY ตัวเลข Fixed asset investment ของจีน เดือน ก.พ. (YTD) คาด +5% YoY ตัวเลขอัตราการว่างงานของอังกฤษ เดือน ก.พ. คาด 4% ตัวเลขดัชนีราคผู้ผลิตของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.9% MoM และ +10% YoY และรายงานภาวะตลาดน้ำมันรายเดือนของ OPEC
  • วันพุธ ติดตาม ตัวเลขส่งออกของญี่ปุ่นเดือน ก.พ. คาด +21% YoY ตัวเลข Retail sales ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.7% MoM และ +15% YoY ปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) คาดขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bps. เป็น 0.25-0.50% ตัวเลข Dot plot ของ Fed และถ้อยแถลงของ Fed President Powell
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อของยูโรโซนเดือน ก.พ. คาด +0.9% MoM และ +5.8% YoY ตัวเลข Core inflation ของยูโรโซน เดือน ก.พ. คาด +2.7% YoY การประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ คาดขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bps. เป็น 0.75% ถ้อยแถลงของ ECB President Lagarde ตัวเลข Housing starts ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +2% MoM เป็น 1.683M ตัวเลข Building permits ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด -1.5% MoM เป็น 1.85M ตัวเลข Philadelphia Fed Manufacturing index เดือน มี.ค. คาด 15 จุด (-6.25%) ตัวเลข Initial Jobless Claim รายสัปดาห์คาด +2.2 แสนคน และตัวเลข Industrial production ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.6% MoM และ +4.3% YoY
  • วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลขยอดผลิตรถยนต์ของไทยในเดือน ก.พ. ตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่น เดือน ก.พ. คาด +0.2% MoM และ +0.7% YoY การประชุมธนาคารกลางของญี่ปุ่น (BoJ) คาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% การประชุมของธนาคารกลางรัสเซียคาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 20% และตัวเลข Oil rig counts รายสัปดาห์ของสหรัฐฯ (ล่าสุด +8 แท่นเป็น 527 แท่น
- Advertisement -