สรุปภาวะตลาด
วันอังคารท่ีผ่านมา ดัชนีปรับตัวลงถึง -15 จุด แรงขายมีมากในช่วงบ่าย หุ้นกลุ่มท่ีปรับตัวลงนำโดยกลุ่มพลังงาน ธนาคารและขนส่ง ปัจจัยกดดันมาจากราคาน้ำมันดิบท่ีปรับตัวลงแรง ถูกกดดันจากการที่จีนประกาศล็อกดาวน์เมืองเซินเจิ้น และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่อง อาจส่งผลให้เงินของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้น นักลงทุนติดตามการประชุมเฟดในวันท่ี 15-16 นี้ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,644.36 จุด -15.79 จุด -0.95% มูลค่าการซื้อขาย 82,507 ลบ. ต่างชาติ -954.98 ลบ. TFEX -4,281 สัญญา ตราสารหนี้ -8,460.87 ลบ.
ปัจจัยบวก
+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มข้ึน 599.10 จุด +1.82% เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ หลังราคาน้ำมันร่วงลงสู่ระดับต่ำกว่า 100 ดอลลาร์/บาร์เรล และดัชนี PPI ของสหรัฐขยายตัวต่ำกว่าคาด ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาผลการประชุมเฟด ซึ่งจะมีการแถลงในวันน้ีตามเวลาสหรัฐ
+ จีนรายงานยอดค้าปลีกในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ.ปรับตัวข้ึน 6.7%YoY แข็งแกร่งกว่าท่ีนักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่าจะเพิ่มข้ึนเพียง 3%
+ ผู้นำนาโตจะประชุมกันท่ีกรุงบรัสเซลส์ในวันที่ 24 มี.ค.เพื่อหารือกันเก่ียวกับการที่รัสเซียส่งกำลังทหารบุกโจมตียูเครน
+ รัฐบาลสหราชอาณาจักร (UK) เตรียมยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เหลือทั้งหมดสำหรับผู้เดินทางในวันศุกร์นี้ (18 มี.ค.)
+ “ตลาดไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์” พร้อมเปิดให้บริการ 31 มี.ค. หนุน SME-Startup มีแหล่งระดมทุน 3 บริษัท ธุรกิจ “เฮลธ์แคร์เทคฯ-อาหาร-ไอที” เตรียมเข้าเทรด 3Q65
+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศพบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 23,945 ราย ATK 24,059 ราย มีผู้เสียชีวิต 70 ราย รักษาหาย 23,339ราย
ปัจจัยลบ
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 6.57 ดอลลาร์ -6.4% ปิด ท่ี 96.44 ดอลลาร์/บาร์เรล ตลาดถูกกดดันจากการที่จีนประกาศล็อกดาวน์เมืองเซินเจิ้น เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อความ ต้องการใช้น้ำมัน และนักลงทุนคาดหวังความคืบหน้าในการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนยังเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงด้วย
– IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยูเครนจะหดตัว 10% ในปี 2565 จากการท่ีรัสเซียบุกยูเครน แต่อาจจะย่ำแย่กว่าท่ี คาด ถ้าหากความขัดแย้งดังกล่าวยืดเยื้อออกไปอีก
– นักวิเคราะห์ของมอร์แกน สแตนลีย์ปรับลดคาดการณ์ GDP จีนในไตรมาสแรกปีนี้ลงเหลือ 0% จากเดิมท่ี 0.6% และคาดว่าจีนจะพลาดเป้าหมายการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีน้ี เป็นผลกระทบอย่างหนักจากการใช้มาตรการที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
– ศูนย์วิจัยกรุงศรีคาดเศรษฐกิจไทยช้ำหนัก รับศึกรัสเซีย-ยูเครน วางสมมติฐาน 3 ด้าน ร้ายแรงสุดกรณียืดเยื้อถึงกลางปี GDP ไทยวูบหนัก 2.4% ด้านเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดรอบ 5 เดือน
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวขึ้นตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยนักลงทุนเร่ิมคลายความกังวลเกี่ยวกับ ภาวะเงินเฟ้อ หลังราคาน้ำมันร่วงลงสู่ระดับต่ำกว่า 100 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่ยังจับตาผลการประชุมเฟดวันนี้ อย่างใกล้ชิด คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,640-1,660 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- หุ้น Value Play : KBANK BBL SCB EA GULF ADVANC TRUE DTAC
- กรณีสงครามยืดเยื้อ ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง บวกต่อ PTTEP PTTGC TOP , สินค้าเกษตร ข้าวสาลี และ กากถั่วเหลืองขึ้น เป็นบวกต่อ TMILL TVO และเป็นลบต่อธุรกิจอาหารสัตว์ ทำให้ต้นทุนเพิ่มข้ึน CPF GFPT ASIAN
- FTSE Global Equity Index Series (ใช้ราคาปิด 18 มี.ค.65) :
- Large Cap : – , Mid Cap : – ,
- Small Cap หุ้นเข้า : TIPH JTS SINGER หุ้นออก: UV WHART ,
- Micro Cap หุ้นเข้า : 2S, ACC, AQ, APCO, B, BIG, CEN, CTW, CMR, CV, CGH, ECL, EE, FORTH, GJS, IT, MILL, MTI, METCO, NTV, PAP, PTL, SUC, CFRESH, SF, SKY, BFIT, SCM, TOG, TVI, TRC, UBE, UVAN, UV, VNG, WICE หุ้นออก : BYD, TIPH, MK, NEX, OISHI, QHHR, SABUY, SINGER, SYNEX, XPG
หุ้นรายงานพิเศษ
PT แนะนำ “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 6.10 บาท
- คาดแนวโน้มผลประกอบการปี 22 กลับมาสู่ระดับปกติอีกครั้ง หลังผลประกอบการได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และมี สัญญาณฟื้นตัวข้ึนต้ังแต่ 4Q21 โดยมีแรงหนุนจากความต้องการทำ Digital Transformation และ Cyber Security โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มธนาคาร ประกอบกับคาดว่าลูกค้ากลุ่มธุรกิจโรงแรม และสถานศึกษาจะฟื้นตัวดีข้ึน หลังจากได้รับผลกระทบจากการ Lockdown ในปีที่ผ่านมา เราประมาณการรายได้และกำไรสุทธิปี 22 ที่ระดับ 2,351.0 ล้านบาท และ 133.6 ล้านบาท เติบโต +11.7%YoY และ +46.5%YoY ตามลำดับ
- เราประเมินมูลค่าอิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 3 ปี ที่ 13.0 เท่า ได้ราคาเหมาะสมปี 22 เท่ากับ 6.10 บาท ยังมี Upside จากราคาปัจจุบันราว 6.1% และคาดหวังอัตราผลตอบแทนเงินปันผลราว 7-8% ต่อปี
หุ้นมีข่าว
(+) BGRIM (Bloomberg Consensus 45.00 บาท) เซ็น ปตท.เตรียมพร้อมเป็นเอกชนรายแรกเริ่มนำเข้าก๊าซ LNG ม.ค. 2566 คาดลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้า 5-10% เล็งขาย LNG ให้โรงไฟฟ้าอื่น คาดชัดเจนภายใน 2-3 ปีนี้ ตั้งเป้ารายได้ปีนี้โต 15-20% เตรียมจ่ายไฟ SPP Replacement 5 แห่ง ครึ่งปีหลัง พร้อมปิดดีลซื้อกิจการโรงไฟฟ้าตปท. 2-3 โครงการ งบรวม 7 หมื่นล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
(+) BYD (Bloomberg Consensus – บาท) ตั้งเป้าปี 2565 รายได้ทะลุ 200 ล้านบาท หลังรุกขยายงาน-ฐานลูกค้าเต็มพิกัด แย้มปัจจุบันมีงานในมือ (Backlog) อยู่ประมาณ 10 ดีล แบ่งเป็น M&A ประมาณ 6 ดีล ส่วนที่เหลืออีก 4 ดีลเป็น IPO แถมจ่อบุ๊กส่วนแบ่งกำไร “สมายล์บัส” ในไตรมาส 1/2565 พร้อมเดินหน้าเพิ่มรถบัสไฟฟ้าใหม่ปีนี้อีก 200 คัน เสริมศักยภาพบริการให้ดีย่ิงขึ้น (ท่ีมา ทันหุ้น)
(+) ILM (Bloomberg Consensus 21.50 บาท) รับทรัพย์อสังหาฟื้นตัว หนุนดีมานด์เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ ของตกแต่งบ้านเพิ่มสูงขึ้น ต้ังเป้ารายได้ปี 2565 เติบโต 10% แตะ 8,200 ล้านบาท เดินหน้าขยายสาขาทั้งในประเทศ 1 สาขา และต่างประเทศในรูปแบบแฟรนไชส์อีก 5 สาขา ล่าสุด ปั้นแบรนด์ “DREAMIA” หมอนไฮบริด 7 นวัตกรรมจากอเมริกา รองรับความต้องการตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพ คาดช่วยดันยอดขายกลุ่มสินค้าเครื่องนอนเติบโต 20% (ที่มา ทันหุ้น)
(+) CHG (Bloomberg Consensus 4.15 บาท) ส่งซิกผลงานเด่นปีนี้ โตเลขสองหลัก ประเมินผู้ป่วยปกติฟื้น รับอานิสงส์ต่างชาติไหลกลับเข้าท่องเท่ียวไทย ส่วนผลงานไตรมาส 1/2565 พุ่ง มีรายได้วัคซีน-ตรวจหาไวรัสโควิด บุ๊กรายได้บริหารศูนย์หัวใจ 3 โรงพยาบาล พร้อมขยายเพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 16-17 มี.ค. ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับปลัดกระทรวงการคลัง และรองผู้ว่าการธนาคารกลางเอเปค
- 18 มี.ค. ประชุมศบค.ชุดใหญ่พิจารณามาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
- สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
- 30 มี.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 2/2565
- 31 มี.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 18 พ.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3/2565
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 15-16 มี.ค. กำหนดประชุม FED
- 16 มี.ค. สหรัฐรายงานยอดค้าปลีกเดือน ก.พ. ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน มี.ค. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือน ม.ค. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย
- 17 มี.ค. อียูเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ.
ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย
สหรัฐเปิดเผยจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ การเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.พ. ดัชนีการผลิตเดือน มี.ค. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ.
- 24 มี.ค. ผู้นำนาโตจัดประชุมที่กรุงบรัสเซลส์ เพื่อหารือกันเกี่ยวกับการที่รัสเซียส่งกำลังทหารบุกโจมตียูเครน