บล.หยวนต้า (ประเทศไทย):
Action TRADING
TP upside (downside) +6.0%
Close Mar 29, 2022 Price (THB) 3.14
12M Target (THB) 3.34
What’s new?
- IFS มีกําไรสุทธิใน 4Q64 จํานวน 44 ลบ. โต 27.3%YoY และ 15.7%QoQ ใกล้เคียงคาด หนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ขยายตัวทั้ง QoQ และ YoY แม้ Asset Yield จะปรับตัวลง แต่ถูกชดเชยด้วยการบริหารจัดการ ต้นทุนทางการเงินที่ดี และพอร์ตสินเชื่อที่ขยายตัวขนมาก
- สําหรับปี 2565 คาด IFS ยังมีพอร์ตสินเชื่อ ที่ขยายตัวได้ดี หลังธนาคารคงความระมัดระวังในการขยายพอร์ตลูกหนี้ SME ทำให้ลูกหนี้บางส่วนต้องหันมาขอสินเชื่อจาก Non Bank แทน หนุนให้คาด IFS จะมีกำไรสุทธิปี 2565 ที่ 164 ลบ. โต 7%YoY
Our view
- แม้เรามอง IFS ยังมีช่องว่างให้ขยายพอร์ตสินเชื่อได้ แต่ด้วยราคาหุ้นที่ปรับขึ้นจนมี Upside ค่อนข้างจํากัด จากมูลค่าพื้นฐานปี 2565 ที่ 3.34 บาท (อิงวิธี Gordon Growth Model โดย Ke=10.8%, Sustainable ROE=10.5%, LTG=2%) เราคงคำแนะนำ “Trading” โดยคาดให้ Div.Yield อีกราว 5% ต่อปี
IFS CAPITAL (IFS) ธุรกิจโตตามความต้องการสินเชื่อของ SME แต่ Upside จำกัด
กำไรสุทธิ 4Q64 โต 27.3%YoY และ 15.7%QoQ หนุนจากพอร์ตสินเชื่อที่โตเด่น
IFS รายงานกำไรสุทธิ 4Q64 จำนวน 44 ลบ. โต 27.3%YoY และ 15.7%QoQ โดยมีปัจจัยหนุนหลักจาก
1) รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิที่โต 4.8%QoQ โดยแม้ Asset Yield จะลดลงจาก 8.2% ใน 3Q64 เหลือ 8% หลังบริษัทเน้นขยายฐานลูกค้าสินเชื่อ Factoring ที่มีความเสี่ยงและผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และลดสัดส่วน สินเชื่อความเสี่ยงสูง แต่ปัจจัยลบดังกล่าวถูกหักล้างจากต้นทุนทางการเงินที่ปรับตัวลงจาก 1.9% ใน 3Q64 เหลือ 1.8% ช่วยให้ NIM ปรับลดเพียงเล็กน้อย ขณะที่สินเชื่อกลับมาขยายตัวสูงสุดในรอบปีถึง 15.7%QoQ
2) รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยปรับขึ้น 10.2%QoQ สอดรับกับสัดส่วนสินเชื่อ Factoring ที่มีรายได้ค่าธรรมเนียมสูงเพิ่มขึ้น และมีปริมาณธุรกรรมสินเชื่อเพิ่มขึ้นจาก 3Q64 และ
3) มีส่วนกลับเงินสำรองจำนวน 3 ลบ. จากที่บันทึกค่าใช้จ่ายตั้งสำรอง 2 ลบ. ใน 3Q64 หลังคุณภาพสินเชื่อในพอร์ตแข็งแรงขึ้น และมี NPL ต่ำลงจาก 3.3% ใน 3Q64 เหลือ 2.4% ใน 4Q64 เนื่องจากมีลูกหนี้บางส่วนกลับมาจ่ายชำระหนี้ในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้น ขณะที่ Coverage Ratio ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 118.8% จาก 109% ใน 3Q64 ทำให้ทั้งปี 2564 IFS มีกำไรสุทธิ 153 ลบ. โต 14.4%YoY ใกล้เคียงกับที่คาด โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากการขยายพอร์ตสินเชื่อในกลุ่ม Factoring ที่ทำได้ดี ช่วยให้รายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมปรับตัวขึ้น บวกกับการควบคุมคุณภาพลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีการตั้งสำรองลดลงเหลือเพียง 1 ลบ. จาก 23 ลบ. ในปี 2563 ที่เป็นปีแรกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19
ปี 65 แนวโน้มกำไรโตต่อ เน้นขยายสินเชื่อให้กับลูกหนี้กลุ่ม SME
สำหรับปี 2565 เราคาดู IFS จะมีผลดำเนินงานที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง หนุนจากความต้องการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องของลูกหนี้กลุ่ม SME ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว บวกกับภาวะปัจจุบัน ธนาคารยังคงความระมัดระวังในการขยายสินเชื่อในกลุ่ม SME ทำให้ลูกหนี้ในกลุ่ม SME ที่เดิมใช้บริการจากธนาคารหันมาขอสินเชื่อจากผู้ให้บริการประเภท Non Bank มากขึ้น ทั้งนี้ผู้บริหารตั้งเป้าจะขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง และร้านอาหาร (เน้นใช้บริการสินเชื่อ Factoring ทำให้เป็นกลุ่มลูกค้าที่ให้ผลตอบแทนต่ำแต่มีความเสี่ยงไม่สูง) ที่เริ่มกลับมาขยายธุรกิจ แต่ยังคงเน้นสินเชื่อกลุ่ม Factoring ที่มีระยะเวลาในการปล่อยสินเชื่อไม่เกิน 1 ปี เพื่อจำกัดความเสี่ยงของพอร์ตโดยรวม
ทั้งนี้การเติบโตบางส่วนอาจถูกหักล้างด้วยการตั้งสำรองที่คาดเร่งตัวขึ้นตามขนาดของสินเชื่อรวม ขณะที่ NPL คาดทรงตัว เนื่องจากบริษัทยังเน้นควบคุมคุณภาพหนี้ด้วยการติดตามและประเมินฐานะการเงินของลูกหนี้อย่างใกล้ชิด และมีการปรับสัญญาสินเชื่อให้ยืดหยุ่น สอดคล้องกับกระแสเงินสดของลูกค้า ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นที่ทำให้บริษัทสามารถขยายฐานลูกค้าในกลุ่ม SME ได้ดี โดยคาดจะเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นต่อใน 1Q65 จากการขยายสินเชื่อดีขึ้น ตามความต้องการใช้สินเชื่อของลูกหนี้ SME ทำให้รายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมปรับตัวขึ้นตาม และหนุนให้คาดปี 2565 IFS จะมีกำไรสุทธิ 164 ลบ. โต 7%YoY
มองเป็น Dividend Stock ที่น่าสนใจ แต่ราคาหุ้นมี Upside ค่อนข้างจำกัด
แม้เรามอง IFS ยังมีช่องว่างให้ขยายพอร์ตสินเชื่อได้ แต่ด้วยราคาหุ้นที่ปรับขึ้นจนมี Upside ค่อนข้างจำกัด จากมูลค่าพื้นฐานปี 2565 ที่ 3.34 บาท (ถึงวิธี Gordon Growth Model โดย Ke=10.8%, Sustainable ROE=10.5%, LTG=2%) เราจึงคงคำแนะนำเพียง “Trading” โดย IFS ยังมีความน่าสนใจจากการเป็น Dividend Stock ที่คาดให้ Div. Yield อีกราว 5% ต่อปี