คงมุมองอัพไซต์ไตรมาส 2/65 จํากัด ขณะเฟดเริ่มส่งสัญญาณลดขนาดงบดุล

  • รายงานการประชุมเฟดส่งสัญญาณเริ่มใช้มาตรการติวตัวมากขึ้น รายละเอียดของรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ที่เผยแพร่เมื่อคืนนี้ (ของราบการประชุม 13-14 มี.ค.ที่ผ่านมา) มีการหารือถึงการขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ที่อาจจะต้องเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้งในปีนี้ ซึ่งไม่ได้ผิดไปจากความคาดหมายของตลาด อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยรายละเอียดการหารือเกี่ยวกับขีดจำกัดการลดขนาดงบดุลลงในระดับ 9.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ/เดือน (เป็นพันธบัตร 6 หมื่นล้านเหรียญฯ/เดือน และตราสาร MBS จำนวน 3.5 หมื่นล้านเหรียญฯ/เดือน) เป็นระดับที่มากกว่าตลาดคาดที่ 7-9 หมื่นล้านเหรียญฯ กระบวนการลดขนาดงบดุลเป็นขั้นตอนของการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัว (Quantitative tightening QT) ที่ตรงข้ามกับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative easing: QE) ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ นำมาใช้ในช่วงเกิดภาวะวิกฤติซับไพรม์และโควิดที่ผ่านมา ซึ่งการดำเนินนโยบาย QT จะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบลดลง ซึ่งจะส่งผลเชิงลบต่อบรรยากาศลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง แม้นักลงทุนจะคาดการณ์ปัจจัยดังกล่าวไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่ในช่วง 1-2 เดือนแรก ตลาดอาจจะผันผวนเป็นพิเศษ
  • ยังคงมุมมองอัพไซต์ไตรมาส 2/65 จำกัด ภาพรวมกลยุทธ์ คือ การเก็งกำไรระหว่างรอจุดซื้อที่ดี เน้นหุ้นได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในและการเปิดประเทศ เราประเมินความผันผวนและกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index ในระดับ 2 เท่าของ PE multiple หรือคิดเป็นกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1,540-1,730 จุด อาทิ ธนาคาร ค้าปลีก สื่อสาร ขณะที่หุ้นโภคภัณฑ์ เก็งกำไรได้เฉพาะหุ้นที่ผลประกอบการยังไม่ผ่านจุดสูงสุด (เหลือเพียง IVL และ TOP) โดยหุ้นเด่นที่เรามอง ซื้อ/ทยอยสะสม ในช่วงไตรมาส 2/65 ได้แก่ BBL, TIDLOR, CPN, CENTEL, BJC, OSP, TRUE, ONEE, IVL, TOP / ขณะที่หุ้นที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของเรา แต่มองว่าน่าสนใจ ได้แก่ MAKRO MAJOR, TKN, SPA

ประเด็นเก็งกำไรอื่น

1) กลุ่มพลังงาน PTTEP, BANPU, TOP (เน้นโรงกลั่น)

2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW

3) ขณะที่หุ้นกลาง-เล็กที่สามารถเลือกเก็งกำไร (แบบกำหนดจุดตัดขาดทุน) ในช่วงนี้ ได้แก่ PJW, TTCL, THREL, BLA, IND, MAJOR, WORK, TH, ERW, MINT, CENTEL ,SHR, AAV, SCN, SCI เป็นต้น

ภาพรวมกลยุทธ์: ยังคงมุมมองระมัดระวังสำหรับไตรมาส 2/65 ที่อัพไซต์อาจจะจำกัด จากการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการปรับประมาณการเศรษฐกิจ รวมถึงกำไรบจ. ทำให้ภาพรวมจะเป็นการเลือกเก็งกำไรตามแนวรับ ระหว่างรอตลาดและหุ้นรายตัวปรับลงถึงจุดซื้อที่ดี

หุ้นแนะนำ: KCE*, SVI*, OR*

แนวรับ: 1,685–1,692 / แนวต้าน : 1,705–1,720 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

ประเด็นการลงทุน

  • ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) นั่นคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชียปีนี้ เหลือ 5.2% – จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 5.3% และลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับการขยายตัวในปี 64 ซึ่งอยู่ที่ 6.9% โดย ADB ระบุว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครนมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชีย
  • กกร.ปรับกรอบคาดการณ์ GDP ปี 65 – การปรับกรอบประมาณการ GDP ไทยปี 65 เป็นขยายตัว 2.5-4% จากเดิม 2.5-4.5% พร้อมกับปรับเพิ่มอัตราเงินเฟ้อเป็น 3.5-5.5% จากเดิม 2-3% ส่วนการส่งออกยังคงเป้าเดิมที่ 3-5%
  • พาณิชย์ เผย CPI เดือนมี.ค. ขยายตัว 5.73% – พร้อมปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของปี 65 ใหม่เป็นอยู่ที่ 4-5% จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 0.7-2.4%
  • AOT เผยผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิเพิ่ม 66% – เผยว่าภายหลัง ศบค.ยกเลิกการตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 65 เป็นต้นมา ส่งผลให้มีจํานวนผู้โดยสารระหว่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยเฉลี่ยวันละ 11,623 คน เพิ่มขึ้น 65.97%
  • SCB – สิ้นสุดระยะเวลาตอบรับคำเสนอซื้อเพื่อแลกเป็น SCBX วันที่ 18 เม.ย. สําหรับผู้ที่ประสงค์จะซื้อหุ้น SCB เพื่อแลกหุ้น สามารถซื้อได้วันสุดท้ายถึง 11 เม.ย. เท่านัน
  • Opportunity day – 7 เม.ย. MVP, ECF, BRR, UBE, SALEE, OISHI, FN / 8 เม.ย. AHC, FVC, MST, NOK

ประเด็นติดตาม: 12 เม.ย. – OPEC Monthly Report, US CPI index เดือน มี.ค. / 14 เม.ย. – US – Retail Sales เดือน มี.ค.

ประเด็นลงทุนสําหรับหุ้นแนะนํา

  • เก็งกำไร KCE* (69) : ได้อานิสงค์จากค่าเงินบาทและแผนการเติบโตจากการขยายกำลังการผลิต ตัดขาดทุน 65 บาท
  • เก็งกำไร SVI* (10) : ได้อานิสงค์จากค่าเงินบาท และธุรกิจที่ฟื้นตัวในปีนี้ ตัดขาดทุน 8.30 บาท
  • เก็งกำไร OR* (31) : เก็งกำไรผลประกอบการปี 2565 ฟื้นตัว ขณะที่ราคาน้ำมันที่ลดลงจะส่งผลบวกต่อผลประกอบการ ตัดขาดทุน 24.50 บาท

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

Market News & Factors

ตลาดหุ้นสหรัฐ

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (6 เม.ย.) หลังรายงานการประชุมเดือนมี.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า กรรมการเฟดเห็นพ้องที่จะปรับลดขนาดของงบดุลและเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ (อิน โฟเควสท์)

ตลาดหุ้นยุโรป

ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงเกือบ 2% ในวันพุธ (6 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกของสหรัฐจะกระทบการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการที่ชาติตะวันตกเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจะยิ่งกระตุ้นให้เกิด เงินเฟ้อ (อินโฟเควสท์)

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดร่วงลงอย่างหนัก เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเร่ง ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง (อินโฟเควสท์)

ตลาดน้ำมัน

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงหลุดจากระดับ 100 ดอลลาร์ในวันพุธ (6 เม.ย.) หลังจากประเทศสมาชิกสํานักงานพลังงานสากล (IEA) ได้ตกลงว่าจะระบายน้ำมันจากคลังสำรองเพื่อรับมือกับภาวะอุปทานตึงตัว นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่พุ่งขึ้นสวนทางกับการคาดการณ์ (อินโฟเควสท์)

ADB หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชียปีนี้เหลือ 5.2%

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย รวมถึงจีนและอินเดีย ลงสู่ระดับ 5.2% ใน 65 จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 5.3% และลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับการขยายตัวในปี 64 ซึ่งอยู่ที่ 6.9% โดย ADB ระบุว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครนมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชีย

กกร.ปรับกรอบคาดการณ์ GDP ปี 65

กกร.ปรับกรอบประมาณการ GDP ไทยปี 65 เป็นขยายตัว 2.5-4% จากเดิม 2.5-4.5% พร้อมกับปรับเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ เป็น 3.5-5.5% จากเดิม 2-3% ส่วนการส่งออกยังคงเป้าเดิมที่ 3-5%

FOMC Minutes

รายงานการประชุมเดือนมี.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่ากรรมการเฟดเห็นพ้องที่จะปรับลดขนาดของงบดุลและเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

พาณิชย์ เผย CPI เดือน มี.ค. ขยายตัว 5.73%

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของไทย (CPI) เดือน มี.ค.65 อยู่ที่ระดับ 104.79 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.73% จากตลาดคาด 5.7-6.3% และเพิ่มขึ้น 0.66% จากเดือน ก.พ.65 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค. 65) เฉลี่ยอยู่ที่ 4.75% พร้อมปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของปี 65 ใหม่เป็นอยู่ที่ 4-5% จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 0.7-2.4%

Report & Corporate News

ADVANC Maintained BUY TP : 244.00 บาท

เราคาดว่ากำไรสุทธิใน 1Q22 ของ ADVANC จะลดลงเล็กน้อย qoq โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้จากการให้บริการที่ลดลงจ ากผลกระทบของการระบาดของโอมิครอน ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และ SG&A คาดว่าจะทรงตัว qoq เราคาดกำไรมี upside เป็นบวกจากโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งประกอบด้วย AISCB (ธุรกิจสินเชื่อดิจิทัล), การผนึกกำลังจาก GULF ในด้านโซลูชั่นพลังงานอัจฉริยะ (Smart grid, Smart city) และธุรกิจศูนย์ข้อมูลระดับภูมิภาค (Data Centre) คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย: 244.00 บาท

TU Maintained HOLD TP : 18.00 บาท

เราคาดว่ากำไรสุทธิและกำไรหลักของ TU จะอยู่ที่ 1,566 ลบ. ใน 1Q22 ซึ่งลดลง 13.1% yoy และ 12.3% yoy ตามลำดับ โดยแรงกดดันหลักจะมาจาก: 1) SG&A/ยอดขายที่สูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูงขึ้น และ 2) ส่วนแบ่งกำไรที่ลดลงเนื่องจากผลการดำเนินงานที่อ่อนแอจากธุรกิจ Red Lobster เรายังคงคาดว่าประมาณการกำไรสุทธิของตลาดจะปรับลดลงตามโมเมนตัมของกำไรที่อ่อนแอใน 1H22 คงคำแนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย: 18.00 บาท

RATCH

บริษัทเผยไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน เนื่องจากกลุ่มโรงไฟฟ้ามีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ส่วนใหญ่ที่สามารถส่งผ่านค่าเชื้อเพลิงรวมอยู่ในค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment) ไปยังผู้รับซื้อไฟฟ้าได้ ขณะที่สัดส่วนลูกค้าอุตสาหกรรม (IU) ที่ไม่สามารถส่งผ่านค่าเชื้อเพลิงฯได้มีเพียง 1.6% หรือคิดเป็นราว 430 เมกะวัตต์เท่านั้น (อินโฟเควสท์)

SPRC

บริษัทคาดจะสามารถสรุปความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเล หรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SPM) ต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยจะเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้กับนักลงทุนได้ทราบภายในเดือนเม.ย.นี้ (อินโฟเควสท์)

- Advertisement -