คาดการณ์ตลาดหุ้นไทยวันนี้

คาดดัชนีฯ Sideways Down ท่ามกลางวอลุ่มเบาบาง แนวต้าน 1,694 / 1,700 จุด แนวรับ 1,675 จุด (EMA 50 วัน) / 1,667 จุด (EMA 75 วัน) ทางเทคนิค ยังเลือกแกว่งตัวออกด้านข้าง โดยมีสัญญาณขายหากหลุดแนวรับสําคัญ 1,667 จุด แนะนำเก็งกำไร AU ERW BCH ส่วนความเสี่ยงเชิงลบจะมาจากนักลงทุนลดพอร์ต ก่อนหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ และการกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้นโลก เนื่องจากรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน มี.ค. ของสหรัฐฯ UK เยอรมนี (คาดทําสถิติสูงสุดใหม่) และรายงาน 1Q22E ผลกำไรบจ. สหรัฐฯ สัปดาห์นี้ (คาดกลุ่มการเงินรายงานกำไรลดลง) ส่วนกลุ่มอิงท่องเที่ยวและกลุ่มการแพทย์อาจเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากกระแสหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์และการปรับสูงขึ้นของจํานวนผู้ติดเชื้อ COVID-19

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

  • + KTZ Portfolio: พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ AH BAFS MC PM SABINA TACC TFG UTP XO SAT TMT PORT SMT ส่วนพอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC BEC JMART TCAP JMT CENTEL BH AOT DTAC COM7 KBANK MINT KTB PLANB BLA
  • + เทศกาลท่องเที่ยวสงกรานต์ และเงินบาทอ่อนค่า: +ส่งออก KCE HANA AH SAPPE TWPC EPG ท่องเที่ยว AOT AAV BA CENTEL ERW MINT BAFS SPA ASAP AU
  • + COVID-19 / หุ้นกลุ่มการแพทย์: BH BCH BDMS CHG คาดจํานวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ จะปรับสูงขึ้นเฉลี่ย 4-5 หมื่นราย และสูงสุดในช่วงปลายเดือน เม.ย. หลังเทศกาลสงกรานต์
  • + น้ำมันขาลง: GULF GPSC SCC SCGP

ปัจจัยบวก

  • + Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 11 +1,860 ล้านบาท (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +12,438 ล้านบาท) โดยชื้อสุทธิสะสม 11 สัปดาห์ อยู่ที่ +105,498 ล้านบาท
  • + USA: ตัวเลข Wholesale inventories เดือน ก.พ. เติบโต 2.5% MoM เป็น USD818.2bn หลังจากปรับเพิ่มตัวเลขเดือน ม.ค. สูงขึ้นเป็น +1.2% MoM (สูงกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 2.1% MoM)

ปัจจัยลบ

  • – COVID-19: สถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะเกิดการเดินทางข้ามจังหวัด และการรวมกลุ่มกัน ขณะที่ภาครัฐไม่ได้มีมาตรการที่เข้มงวดมากนัก โดยศบค. ประเมินจะเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงถึง 4-5 หมื่นราย/วัน ในช่วงกลางเดือน เม.ย.
  • – Russia: สถาบันจัดอันดับเครดิต S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศของรัสเซีย เป็นผิดนัดชำระหนี้บางส่วน (Selective Default) เมื่อวันที่ 9 เม.ย.

ประเด็นสําคัญ

  • China รายงานดัชนี CPI เดือน มี.ค. +1.2% YoY, -0.10% MoM (Vs เดือน ก.พ. +0.9% YoY, +0.6% MoM) PPI เดือน มี.ค. คาด +7.9% YoY (Vs เดือน ก.พ. +8.8% YoY)
  • UK รายงาน GDP เดือน ก.พ. เติบโต +9.8% YoY, 0.5% MoM (Vs เดือน ม.ค. +10% YoY, +0.8% MoM)
  • USA รายงาน Consumer Inflation Expectations เดือน มี.ค. คาด +6.2% YoY (Vs เดือน ก.พ. +6% YoY)

Global Market Summary: วันท่าการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทยกลับมาปิดบวก: ดัชนีฯ เคลื่อนไหว Sideways Up กรอบแคบ 1,678.07-1,690.58 จุด ก่อนปิดตลาดที่ 1,686 จุด +3.59 จุด วอลุ่มชื้อขายเบาบาง 7.08 หมื่นล้าน บาท นําขึ้นโดยกลุ่มการแพทย์ +2.4% พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ +1.72% พาณิชย์ +1.66% บริการรับเหมาก่อสร้าง +1.16% หุ้นบวก >4% A5 ZIGA CPN THG PTC RAM AS MVP ACAP CPW BGT CPT หุ้นลบ >4% OSP JDF CBG MSC SEAOIL KUMWEL TNPC YGG NETBAY

+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดคละ แต่ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก: DJIA +0.4% แต่ S&P500 -0.27% Nasdaq -1.34% นำขึ้นโดยกลุ่มพลังงาน ตามการฟื้นตัวของราคาน้ำมันโลก และกลุ่มธนาคาร +1.18% จากแรงซื้อเก็งกำไร หลังร่วงต่ำสุดรอบ 13 เดือน และยิลด์พันธบัตร 10 ปี แตะระดับสูงสุดรอบสามปี ที่ 2.73% แต่นำลงโดย กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่ม FAANG และ Tesla จากยิลด์พันธบัตรที่ปรับสูงขึ้น ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก DAX +1.46% CAC40 +1.34% FTSE +1.56% นำขึ้นโดยกลุ่ม Oil & Gas +3.2% (ชื้อเพราะเป็น Inflation Hedging กังวลต่อเงินเฟ้อพุ่ง) และกลุ่มการเงิน หลังยึดลำพันธบัตรฯ สหรัฐฯ พุ่งแรง รับมาตรการคุมเข้มของเฟด

+ นํ้ามันดิบและทองคําปิดบวก: WTI +USD2.23 ปิดที่ USD98.26/บาร์เรล Brent +USD2.20 ปิดที่ USD102.78/บาร์เรล จากแรงซื้อสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อป้องกันเงินเฟ้อ หลังสหรัฐฯ ประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่มเติม ส่วนทองคําปิดบวก USD7.80 ปิดที่ USD1,945.60/ออนซ์ จากแรงซื้อทองคําในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และการกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ประเด็นสําคัญ

– COVID-19: สถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะเกิดการเดินทางข้ามจังหวัด และการรวมกลุ่มกัน ขณะที่ภาครัฐฯ ไม่ได้มีมาตรการที่เข้มงวดมากนัก โดยศบค. ประเมินจะเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงถึง 4-5 หมื่นราย/วัน ในช่วงกลางเดือน เม.ย. ซึ่งมองจะเป็นจุดพีค แต่อย่างไรก็ดี หากควบคุมสถานการณ์ได้ไม่ดีอาจจะเห็นตัวเลขที่พุ่งสูงกว่าคาดได้

– Russia: สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศของรัสเซียลงสู่ “ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน” (selective default) เมื่อวันที่ 9 เม.ย. เนื่องจากมีความเสี่ยงมากขึ้นที่รัสเซียจะไม่สามารถชำระหนี้ และไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาที่ให้ไว้กับลูกหนี้ต่างชาติที่ถือครองตราสารหนี้ของรัสเซีย (รัสเซียได้จ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นสำหรับพันธบัตรยูโรบอนด์ด้วยสกุลเงินรูเบิลเมื่อวันจันทร์ 4 เม.ย. ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ดอกเบี้ยและมีเวลา Grace Period 30 วัน ในการชำระ)

– USA / Russia: ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ลงนามบังคับใช้กฎหมายเมื่อวันศุกร์ (8 เม.ย.) เพื่อยุติความสัมพันธ์ทางการค้าที่ปกติกับรัสเซีย และยกเลิกสถานะชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (most-favored nation – MFN) การเพิกถอนสถานะ MFN ทำให้รัสเซียอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเกาหลีเหนือและคิวบา ในแง่ของความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐฯ โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า สหรัฐฯ อาจปรับขึ้นภาษีนําเข้าสินค้าของรัสเซียจาก 3% เป็น 30% รวมถึงเบลารุส ซึ่งสนับสนุนการทําสงครามของรัสเซียในยูเครน จะสูญเสียสถานะ MFN ด้วยภายใต้กฎหมายใหม่ที่สหรัฐบังคับใช้ ทั้งนี้ สำนักงานผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ (USTR) เปิดเผยว่า รัสเซียเป็นคู่ค้ารายใหญ่สุดอันดับที่ 26 ของสหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการค้า 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2019 นอกจากนี้ ประธานาธิบดี ไบเดนยังได้ลงนามในกฎหมายเมื่อวันศุกร์ เพื่อห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลังงานจากรัสเซีย โดยก่อนหน้านี้ เขาได้ลงนามในคำสั่งผู้บริหารเพื่อห้ามการนําเข้า นํ้ามัน, ก๊าซธรรมชาติเหลว, ถ่านหิน และผลิตภัณฑ์พลังงานอื่นๆ ของรัสเซีย

– USA: ตัวเลข Wholesale inventories เดือน ก.พ. เติบโต 2.5% MoM เป็น USD818.2bn หลังจากปรับเพิ่มตัวเลขเดือน ม.ค. สูงขึ้นเป็น +1.2% MoM (สูงกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 2.1% MoM) โดยเป็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 19 นําโดย nondurable goods (3.3% MoM Vs เดือน ม.ค. +1.3% MoM) สินค้าคงทน (1.9% MoM Vs 1.1% MoM) หากเทียบรายปี ปรับสูงขึ้น +19.9% YoY สูงกว่าประมาณการครั้งแรกที่ +19.4% YoY

– Japan: IMF ปรับลดประมาณการเติบโตเศรษฐกิจญี่ปุ่นลงเป็น 2.4% ในปี 2022 จากเดิม 3.3% YoY โดยคาดว่าจะหดตัวใน 1Q22 และความเสี่ยงเชิงลบจากผลกระทบสงครามยูเครน

+/- France / การเลือกตั้งประธานาธิบดี: ผลการเลือกตั้งรอบแรกวันที่ 12 เม.ย. โดยอ้างอิงจาก Poll ของ Politico คาดว่าจะไม่มีผู้ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ทําให้คาดว่าผู้ที่ได้คะแนนนิยมสูงสุด 2 ราย คือ ประธานาธิบดี Macron อยู่ที่ 28% และนาง Le Pin ที่ 19% จะต้องเลือกตั้งใหม่อีกครั้งในการเลือกตั้งรอบ 2 วันที่ 19 เม.ย. ทั้งนี้ ความห่างของ Macron เริ่มแคบลง หลังกระแสขวาจัดที่หันมาสนับสนุนรัสเซีย หรือการแยกตัวออกจากยูโร เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น

+/- Russia: วันศุกร์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางมีมติเหนือคาดหมาย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 300 bps เป็น 17% เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ขณะที่เงินเฟ้อเดือน มี.ค. พุ่งแรงสูงสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 2015 +16.7% YoY (Vs เดือน ก.พ. +9.15% YoY) แต่ตลาดหุ้นรัสเซีย MOEX Russia วันศุกร์ร่วง -1.6% เป็น 2,593 จุด

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนํารายสัปดาห์: AU ERW BAFS

หุ้นแนะนำเก็งกําไร: AU ERW BCH

 

หมายเหตุ:

KrungthaiZmico

มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) และบมจ.เอ็กซ์สปริงแคปปิตอล (XPG) ลูกค้าโปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจก่อนการลงทุนในหลักทรัพย์ KTB และ XPG

มีกรรมการของบริษัทเป็นกรรมการใน VNG, SVH, PACE, MAJOR, KBS, XPG, NVD, KTC, IVL, SAWAD, CI

มีผู้บริหารของบริษัทเป็นกรรมการใน NFC

เป็นที่ปรึกษาทางการเงินใน XPG, TSE, STOWER, NVD, THCOM, BTS, AGE

- Advertisement -