บล.หยวนต้า (ประเทศไทย):

Action BUY (maintain)

TP upside (downside) +24.6%

Close Apr 8, 2022 Price (THB) 26.25

12M Target (THB) 32.70

Previous Target (THB) 32.70

What’s new?

  • คาดกำไรปกติใน 1Q65 ที่ 198 ล้านบาท (-26.4% QoQ, +7.1% YoY) รายได้ลดลง QoQ ตาม Seasonal แต่ยังเติบโตได้ YoY จากความต้องการสินค้าที่ยังแข็งแกร่ง
  • SYNEX มีการสต็อกสินค้าไว้สูงกว่าปกติ ประกอบกับการจำหน่ายสินค้าที่หลากหลาย อิงสถานการณ์ปัจจุบัน เราคาด SYNEX ยังสามารถรับมือกับภาวะสินค้าขาดตลาดได้ ผลกระทบต่อการเติบโตจำกัด

Our view

  • ระยะสั้นคาดผลประกอบการ 1Q65 เติบโต YoY ขณะที่ภาพทั้งปี 2565 แม้ยังไม่เห็นพัฒนาการจากสินค้า House brand และแพลตฟอร์มสินค้า IT มือสองอย่างมีนัยสำคัญ แต่ธุรกิจหลักยังอยู่ในรอบการเติบโตที่ดีทำให้เราคงประมาณการ 2565 เติบโต 7.6% YoY
  • เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” อิงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 ที่ 32.70 บาทต่อหุ้น (อิง PER 30x)

SYNNEX THAILAND Upside กลับมาเปิดกว้าง เป็นโอกาสกลับเข้าสะสม

คาดผลประกอบการ 1Q65 ลดลง QoQ ตาม Seasonal แต่ยังเติบโต YoY ได้

คาดผลประกอบการ 1Q65 ที่ 198 ล้านบาท (-26.4% QoQ, +7.1% YoY) จาก 1) คาดรายได้ที่ 9.1 พันล้าน บาท (-18.5% QoQ, +5.4% YoY) รายได้ลดลง QoQ ตาม Seasonal ของธุรกิจ IT Distributor และใน 4Q64 มีฐานสูงจากการขาย iPhone13 ที่เปิดตัวเร็วกว่าปกติ แต่คาดยังเติบโต YoY แม้สัดส่วนการขายสินค้ากลุ่ม Apple โดยเฉพาะ IPhone จะน้อยลงเมื่อเทียบกับ 1Q64 แต่ความต้องการสินค้า IT กลุ่มอื่นๆ ยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะจาก Commercial Segment 2) คาดอัตรากำไรขั้นต้นที่ 4.8% (+11bps QoQ, +25bps YoY) อัตรากำไรขั้นต้นทรงตัว QoQ เนื่องจากบริษัทฯ ยังคงเน้นทำกำไรในระดับที่สูงในช่วงที่ภาวะตลาดสินค้า IT ยังเป็นตลาดของผู้ขายบนสถานการณ์สินค้าขาดตลาด และ 3) คาด SG&A ที่ 244 ล้านบาท (-20.5% QoQ, +9.3% YoY) คาด SG&A to sale ที่ 2.7% ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในอดีต

หากกำไรออกมาตามคาด กำไร 1Q65 จะคิดเป็น 21% ของประมาณการทั้งปี 2565 ของเรา ทำให้ยังคงประมาณการปี 2565 ที่กำไรปกติ 926 ล้านบาท (+7.6% YoY)

ปี 2565 Guidance การเติบโตของรายได้ 15% YoY เทียบเท่าการเติบโตในปี 2564

ปี 2565 เรามองว่าเป็นปีของการเข้าสู่ยุค 5G อย่างเต็มตัว ซึ่ง Wholesale Distributors จะเป็นหนึ่งกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากสินค้า IoTs ที่มีจำนวนมากและหลากหลาย รวมถึงความต้องการสินค้าที่ยังมีสูงเพราะอยู่ในรอบของการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อให้รองรับการใช้งาน สอดคล้องกับมุมมองของบริษัทฯ ที่คาดกลุ่มสินค้าด้าน IT ยังมีความต้องการสินค้าที่แข็งแกร่ง และสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง แต่คาดเติบโตได้ช้าลงกว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่กำไรปกติมี CAGR +28%

บริษัทฯ ให้ Guidance การเติบโตของรายได้ในปี 2565 ที่ระดับ +15% YoY (สูงกว่าประมาณการของเราที่ คาดไว้ +10% YoY) และรักษา GPM ในระดับสูงราว 4.8% เหมือนที่ทำได้ในปี 2564 แม้สินค้า House Brand ที่เปิดตัวเมื่อมี.ค. 65 และแพลตฟอร์มสินค้า IT มือสอง “SWOPMART” ยังไม่เห็นพัฒนาการที่จะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อรายได้รวมในช่วง 1-2 ปีนี้ แต่สำหรับธุรกิจหลักของ SYNEX ยังอยู่ในรอบการเติบโตที่ดี ส่วนการเพิ่มทุนบริษัทย่อย (Synnex Incubation เพิ่มทุน 155 ล้านบาท และ Service Point เพิ่มทุน 100 ล้านบาท) เป็นไปเพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคตของ SYNEX ซึ่งหากมีศีลใหม่ๆ เกิดขึ้น จะเป็น Upside ที่ยังไม่ถูกรวมไว้บนประมาณการของเรา

ปัญหาสินค้าขาดแคลนเป็นหนึ่งปัจจัยที่ต้องจับตา…แต่คาด SYNEX ยังรับมือได้

ปัญหาเรื่อง Chip Shortage ที่ลากยาว ทำให้แม้ความต้องการสินค้าด้าน IT จะแข็งแกร่ง แต่รายได้อาจไม่ เติบโตอย่างที่ควร อิงบทความของ Gartner มีการประเมินว่าปัญหาเรื่อง Chip Shortage คาดจะคลี่คลายลงได้ใน 3Q65 หรืออย่างช้าใน 4Q65 นอกจากนี้ ตามงบการเงิน ณ สิ้นปี 2564 SYNEX มีการสต๊อกสินค้าไว้สูงกว่าปกติ ประกอบกับการขายสินค้าหลายแบรนด์และกระจายตัวในหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วง และกลุ่มโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ทำให้ผลกระทบจำกัดหากเกิดปัญหาขาดแคลนสินค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อิงสถานการณ์ปัจจุบัน เราคาด SYNEX ยังสามารถรับมือกับภาวะสินค้าขาดตลาดได้ และปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบต่อการเติบโตของบริษัทฯ อย่างจำกัด

คงคำแนะนำ “ซื้อ” อิงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 ที่ 32.70 บาทต่อหุ้น

เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” อิงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2565 ที่ 32.70 บาทต่อหุ้น อิง PER เดิมที่ 30x ราคาหุ้นปรับตัวลง -24% YTD จากการปรับฐานลงมาตามกลุ่ม Small Cap ICT และถูกกดดันจากความกังวลเรื่องสินค้าขาดแคลน แต่จาก Guidance ของบริษัทฯ คาดผลกระทบจากสินค้าขาดแคลนยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ ดังนั้นราคาหุ้นปัจจุบันกลับมาอยู่ใน Zone ที่น่าสนใจ และมี Upside เปิดกว้างราว 25% เรามองเป็นโอกาสในการกลับเข้าสะสม

ความเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ 1) ปรับตัวพัฒนาสินค้าไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 2) Synergy ระหว่างกลุ่มไม่ได้เกิดขึ้นอย่างที่หวัง และ 3) เกิดภาวะสินค้าขาดตลาดอีกครั้ง

- Advertisement -