Our View? “ไม่แย่ไปกว่าคาด”
คาดตลาดวันนี้ “Sideways” มองแนวรับที่บริเวณ 1,670 / 1,660 และแนวต้านที่บริเวณ 1,680 / 1,690 สัปดาห์ที่ผ่านมาตัวเลข CPI สหรัฐ เดือน มี.ค. ออกมาที่ระดับ 8.5% ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดที่ 8.4% สะท้อนตลาดรับรู้ความกังวลในประเด็นเงินเฟ้อไปในระดับหนึ่งแล้ว พร้อมทั้งนายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (FED) แสดงความคิดเห็นอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอาจจะมาถึงจุดพีคแล้ว แม้อาจจะทําให้ตลาดผ่อนคลายได้บ้างในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม เรายังมีมุมมองว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐยังมีแนวโน้มแกว่งตัวขึ้นต่อ เพียงแต่จะเริ่มชะลอกำลังลงบ้าง จากการที่คาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI. คาดทำจุดสูงสุดไปแล้วตั้งแต่ช่วงต้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ทำให้เราคาดว่าความกังวลด้านอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในอีกระยะเวลาหนึ่ง ขณะที่เราคาดว่าตลาดจะยังรอดูการประชุม FOMC ครั้งถัดไปในวันที่ 3-4 พ.ค. นี้ คาดมีโอกาสเห็น FED จะเร่งขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับครั้งละ 50 BPS ในการประชุม 1-2 ครั้งที่จะถึงนี้ รวมทั้งจะเริ่มการปรับลดขนาดของงบดุล (QT) เดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจบการประชุม สะท้อนกระแสเงินทุนส่วนเกินจะเริ่มลดลง เป็นปัจจัยกดดันจํากัด Upside ของตลาดได้อยู่
ผสานกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ (US-Bond Yield) ยังคงเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง ปรับตัวขึ้นสูงอยู่ที่บริเวณ 2.83 % สูงสุดในรอบ 3 ปี คาดจะเป็นปัจจัยเร่งให้ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์เสี่ยง สินทรัพย์ปลอดภัย (Earning Yield Gap) แคบลงเร็วต่อเนื่อง ลดความน่าสนใจของราคาสินทรัพย์เสี่ยง กดดันจำกัด Upside ของทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยงได้ แต่คาดเป็นจิตวิทยาเชิงบวกหนุนทิศทางหุ้นในกลุ่มประกันขึ้นได้ (BLA และ TIPH) ต่อ
ในส่วนราคาสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI. ส่งมอบเดือน พ.ค. เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับตัวขึ้น +2.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 106.95 ดอลลาร์/บาร์เรล (+2.59%) จากความกังวลสหภาพยุโรป (EU) กําลังร่างมาตรการเพื่อควา บาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียเพิ่มเติม เรามองเป็นเพียงจิตวิทยาเชิงบวกหนุนทิศทางราคาน้ำมันรีบาวด์ระยะสั้น เท่านั้น เรายังคงมีมุมมองว่า EU มีโอกาสออกมาตรการกีดกันดังกล่าวเพิ่มเติมได้ค่อนข้างยาก จากการที่เยอรมนีต้องนําเข้าก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนราว 55% จากรัสเซีย ขณะที่ปัจจุบันเยอรมนีเริ่มเผชิญวิกฤตพลังงานแล้ว อีกทั้งเรายังคงมีมุมมองเชิงลบต่อราคาน้ำมันจาก 1.) การระบายน้ำมันจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) ของกลุ่ม IEA กว่า 120 ล้านบาร์เรล 2.) อุปสงค์น้ำมันในจีนที่ยังมีความอ่อนไหวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 3. แนวโน้มการกลับมาส่งออกน้ำมันของเวเนซุเอลา และอิหร่าน ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันทิศทางราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลงได้ต่อ กดดันหุ้นในกลุ่มพลังงานถ่วงตลาดได้ในระยะกลาง
ในส่วนของปัจจัยในประเทศมองตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้าหนุนการฟื้นตัวขึ้นได้ดี เรายังคงมีมุมมองเชิงลบจากการที่เริ่มเห็นหน่วยงานเอกชนเริ่มปรับลดคาดการณ์ GDP ของไทยลดลง จากความกังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่อง คาดจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดได้บ้าง ขณะที่คาดว่าตลาดจะเริ่มให้ความสนใจกับการเปิดเผยผลประกอบการของหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดย Bloomberg Consensus คาดจะออกมาเติบโต 17.41% QoQ และ 7.94% YoY คาดจากสินเชื่อโดยรวมดูดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมทั้ง ECL ที่ปรับตัวลงต่อเนื่อง หลังเร่งบริเวณหนี้เสียในช่วง 4Q′64 ที่ผ่านมา โดยหากผลประกอบการออกมาตามคาด-ดีกว่าคาด คาดจะ หนุนหุ้นในกลุ่มธนาคารประคองตลาดได้บ้าง
อีกทั้งเรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม-สายการบิน จากการผ่อนคลายมาตรเดินทางเข้าประเทศในวันที่ 1 พ.ค. รวมทั้งยกเลิกระบบไทยแลนด์พาส (Thailand Pass) 1 มิ.ย. คาดจะหนุนหุ้นในกลุ่มดังกล่าวปรับตัวขึ้นได้ต่อ
ธีมการลงทุน “Selective Play”
หุ้นแนะนําวันนี้ “AAV”
กลยุทธ์ เก็งกำไร แนวรับ 2.66/2.60 Target 2.90 / 3.20 Stop <2.54